น้ำเหนือ-น้ำเขื่อนเจ้าพระยา ลดลงต่อเนื่อง แต่ชาวบ้านริมน้ำแม่น้ำยังต้องเฝ้าระวังฝนสัปดาห์นี้ เสี่ยงเจ้าพระยากลับมาสูงขึ้นอีก
5 ก.ย.2565 – สถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2 จ.นครสวรรค์ ลดลงต่อเนื่องมาเป็นวันที่ 4 แล้ว โดยวันนี้มีน้ำไหลผ่าน 1,531 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวาน 84 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ลดการระบายน้ำลงด้วยเช่นกัน โดยวันนี้ระบายน้ำในอัตรา 1,537 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวาน 87 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำท้ายเขื่อนที่ อ.สรรพยา ลดลง 31 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 12.96 เมตร(รทก) ส่วนระดับน้ำเหนือเขื่อน ที่ อ.เมืองชัยนาท ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 15.00 เมตร(รทก)
โดยเขื่อนเจ้าพระยา จะรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนให้อยู่ที่ระดับ 15.00 เมตร(รทก) และระบายน้ำท้ายเขื่อน ให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกในพื้นที่ตอนบนและตอนล่างให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อลดผลกระทบกับพื้นที่ท้ายเขื่อนทั้งสองฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย อย่างไรก็ตาม ยังต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในช่วงสัปดาห์นี้จะมีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ซึ่งอาจส่งผลให้แม่น้ำเจ้าพระยากลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีก
ด้านชาวบ้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ยังไม่วางใจในสถานการณ์ แม้เขื่อนเจ้าพระยาจะลดการระบายน้ำลงบ้างแล้ว ต่างยังทยอยเก็บข้าวของขึ้นที่สูง และคอยดูระดับน้ำและการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา กลัวว่าหากฝนตกลงมามาก เขื่อนเจ้าพระยาจะกลับมาระบายน้ำเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งอาจจะทำให้น้ำท่วมบ้านได้
นายมงคลชัย พึ่งมาก ชาวบ้าน ม.3 ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ซึ่งมีอาชีพรับจ้างทำเครื่องไฟเครื่องเสียง และมีบ้านอยู่ที่ลุ่มต่ำริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา ระบุว่า ตอนนี้เก็บข้าวของไว้ที่สูงแล้ว เหลือแต่พวกเครื่องเสียง ลำโพง เครื่องสูบน้ำ และสิ่งของชิ้นใหญ่ๆ ที่กำลังรอดูว่าน้ำจะท่วมหรือไม่ และถ้าท่วม จะท่วมสูงแค่ไหน หากท่วมไม่มากก็ขนของเก็บไว้บนชั้นสองของบ้านได้ แต่ถ้าท่วมมากก็ต้องย้ายของไปฝากไว้ที่ศาลาวัดสวนลำไย ซึ่งมีพื้นที่สูงกว่า แต่ตอนนี้น้ำขึ้นๆลงๆ ยังไม่น่าเป็นห่วง แต่ก็ไม่วางใจ ต้องรอดูสถานการณ์ต่อไปจนกว่าจะหมดฤดูฝน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
อากาศเปลี่ยนแปลง ‘กทม.’ อุณหภูมิลดลง ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวเย็น ‘ภาคใต้’ ฝนตก
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว
ศปช. ส่งสัญญาณพื้นที่แล้ง 7 จังหวัด รีบกักเก็บน้ำในช่วง 16-18 พ.ย.นี้
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายภููมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย
ไทยฝนฟ้ายังคะนอง กรุงเทพฯร้อยละ 30 ของพื้นที่
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย