1,500 วันถูกพรากที่ดินทำกิน! ชาวบ้านมุกดาหาร ตีแสกหน้ารัฐ ยึดผืนป่าประเคนนายทุนเหมืองแร่

กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย มุกดาหาร ตีแสกหน้ารัฐหยุดพฤติกรรมทวงคืนผืนป่าประเคนนายทุนเหมืองแร่ เขย่าเจ้าหน้าที่ตื่นแก้ปัญหาให้จบ

28 ส.ค.2565 – มีความคืบหน้าล่าสุดในการต่อสู้ของกลุ่มประชาชนในนาม กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร  หลังจากที่ประชุมของคณะอนุกรรมการประสานงานเร่งรัดติดตามกรณีการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) และขับเคลื่อนนโนบาย 9 ด้าน ได้จัดประชุมเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐทุกประเภทโดยมี นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

ทั้งนี้จากเอกสารประเด็นปัญหาที่ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ขอให้ที่ประชุมพิจารณาเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมี 30 เรื่อง หนึ่งในนั้นคือความเดือดร้อนคือ  ปัญหาป่าสงวนแห่งชาติป่าดงหมู แปลง 2 ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร ขอให้ชะลอการดำเนินคดีและตรวจสอบการถือครองทำประโยชน์ในที่ดิน รวมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่ด้วย

นางสมัย พันธะโคตร  กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย กล่าวว่า อยากให้ปัญหาของพวกตนได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมโดยไว เพราะระยะเวลาของการต่อสู้ของพวกตนเองนั้นหากนับเป็นวันก็ 1,500 วันแล้วที่เราถูกพรากถูกยึดที่ทำกิน ถูกทำลายผลผลิตที่เราปลูกไว้เลี้ยงชีวิตเลี้ยงครอบครัว เพราะนโยบายทวงคืนผืนป่า ซ้ำร้ายพวกเรายังถูกแจ้งความดำเนินคดีทั้งที่อาศัยและทำกินอยู่ในพื้นที่ของตนเองด้วย

นางสมัย กล่าวด้วยว่า กล่าวว่า พวกเรากว่า 61 ครัวเรือน เกิดและเติบโตในพื้นที่บริเวณนี้ อยู่มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาย อยู่มาตั้งแต่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประประกาศให้พื้นที่บ้านเกิดที่ทำกินของเราตรงนี้เป็นป่าสงวนเสียอีก ครอบครัวของตนเองใช้ผืนดินปลูกพืช ปลูกมันสำปะหลังเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ซึ่งรายได้จากการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ที่ถูกขับไล่เป็นรายได้หลักที่ใช้เลี้ยงครอบครัว เมื่อไม่มีรายได้จากผืนดินตรงบริเวณนั้นตนและครอบครัวก็ต้องเปลี่ยนไปทำงานรับจ้างรายวันเมื่อเงินไม่พอในการใช้จ่ายก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพิ่ม

“ปัญหาของพวกเราคือเราไม่ได้รับความเป็นธรรม ที่ดินตรงนั้นมันคือชีวิตจิตใจของพวกเราของครอบครัวเรา พอพวกเราทำกินปลูกมันกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษก็หาว่าพวกเราเป็นผู้บุกรุก แต่ในทางกลับกันพอยึดที่พวกเราไปแล้วกลับกลายเป็นว่าบริษัทเหมืองจะเข้ามาในพื้นที่ที่ไล่ยึดของพวกเราไป แบบนี้มันคือการยึดที่ดินของคนจนไปให้เหมืองแร่ มันคือการทวงคืนผืนป่าเพื่อเอาไปให้เหมืองแร่หรือไม่อย่างไร ถ้าไม่ใช่ก็อยากให้รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาให้พวกเราโดยเร็วด้วย ให้พวกเราได้กลับเข้าไปทำกินในผืนดินเดิม และให้ถอนฟ้องคดีความกับพวกเราทุกคนด้วย” นางสมัย กล่าว

ขณะที่นายใส ไชยบัน  กล่าวว่า พวกเราอยากเข้าไปทำกินในพื้นที่เดิมของพวกเรา ตอนนี้ทุกคนที่โดนยึดที่ดินทำกิน ตอนแรกที่มีที่ดินทำกินเราไม่ได้มีหนี้สินมากมายเลย แต่พอไม่มีที่ดินแล้วก็มีหนี้สินล้นพ้นตัวกันแทบทุกคน  ภาพวันที่เจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาไถผลผลิตของเราทิ้งแม้จะผ่านมาหลายปีแล้วแต่ภาพก็ยังติดตาอยู่ มีพี่น้องเราบางครอบครัวปลูกยางจนกรีดยางไป 2 ปีแล้วเขาก็ตัดต้นยางของพี่น้องเราทิ้งหมด เจ้าของสวนเข้าไปคุยเข้าไปเจรจาเขาก็ไม่ให้เขาบอกเขาทำตามหน้าที่ทำตามนโยบายทวงคืนผืนป่า มันจะทวงคืนผืนป่าไปได้อย่างไรในเมื่อที่แห่งนี้มันคือที่ทำกิน ที่เกิด ที่นอน และที่ตายของพวกเรา ผ่านมา 5 ปีแล้วที่พวกเราต่อสู้ เราอยากให้ปีนี้เป็นปีที่พวกเราได้รับความเป็นธรรมจริงๆสักที

ด้าน นายอดิศักดิ์ ตุ้มอ่อน เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ ระบุว่า ประเด็นของพี่น้องคำป่าหลายถึงแม้จะถูกยกไปไว้ในการประชุมครั้งต่อไป แต่พวกเราจะช่วยกันติดตามอย่างใกล้ชิด  เพราะที่ผ่านมาพี่น้องต้องเผชิญกับความเดือดร้อน ทุกข์ยากจากการที่ถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ทำกินของตนเอง พืชผลในพื้นที่ก็ถูกทำลายตามไปด้วย และมีหลายครอบครัวที่ต้องเสียโอกาสจากการเข้าไปทำกินในพื้นที่ของตนเอง เพราะการถูกขับไล่และถูกแจ้งความดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ. ป่าสงวนฯ   

“นอกจากนี้หลังขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ทำกินของตนเองเสร็จพื้นที่ของชาวบ้านก็ถูกนำไปประกาศเป็นพื้นที่ที่เปิดให้เหมืองยื่นคำขอประทานบัตร และเจ้าหน้าที่ยังได้ปลูกป่าทับพื้นที่ทำกินของชาวบ้านที่ถูกขับไล่ด้วย  ที่ผ่านมาชาวบ้านเองได้ต่อสู้ในหลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นการยื่นหนังสือให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด จนนำหน่วยงานป่าไม้มาตรวจสอบในพื้นที่” นายอดิศักดิ์ ระบุ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า   ชาวบ้านกำลังรอความคืบหน้าแนวทางการแก้ไขปัญหามากว่า 1 ปีแต่สถานการณ์ไม่มีความคืบหน้า  ภายหลัง คณะทำงานตรวจสอบการครอบครองเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู แปลงที่ 2 ท้องที่ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ที่มีนายเอกราช มณีกรรณ์ ปลัดจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบ แนวทางการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือความเดือดร้อนด้านที่ดินทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ของราษฎร ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร  คือ 1.ให้ยุติการดำเนินคดี 2.ให้พี่น้องเข้าทำประโยชน์ 3.ยกเลิกการปลูกป่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกรัฐบาล เผยไทยประกาศความพร้อมทำสวนยางแบบไม่ทำลายป่า

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้เข้าร่วมการประชุมโครงการห่วงโซ่คุณค่าที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforest-free Value Chains Roundtable

เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส จับมือ กรมป่าไม้ จัดโครงการรักษาผืนป่า “J&T Forest” สร้างการตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อม

เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระดับโลก ร่วมกับ กรมป่าไม้ จัดกิจกรรมฟื้นฟูธรรมชาติปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและแนวป้องกันการลุกลามของไฟป่า

นายกฯ มอบหมาย 3 กระทรวง ร่วมมือจัดกิจกรรม 'ร่วมใจภักดิ์ รักษ์สิ่งแวดล้อม'

น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยกรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ

'พัชรวาท' สั่งกรมป่าไม้เยียวยาครอบครัวเจ้าหน้าที่ไฟป่าเสียชีวิต

'พัชรวาท' แสดงความเสียใจ จนท.ไฟป่าเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ มอบ 'กรมป่าไม้' ให้ความช่วยเหลือครอบครัว กำชับติดตามอาการผู้บาดเจ็บที่เหลืออย่างใกล้ชิดและดูแลทุกคนที่ปฏิบัติงาน

ชาวบ้านเฮ!! 'พัชรวาท' มอบ 'กรมป่าไม้' เร่งพัฒนาสร้างสาธารณูปโภคในพื้นที่ป่า เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้กรมป่าไม้ไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้น 1 และ ชั้น 2 ซึ่งมีปัญหาในเรื่องการพัฒนาสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่ป่าไม้

ทส. ส่งมอบความสุขวันสงกรานต์ 13-15 เม.ย. ยกเว้นค่าบริการท่องเที่ยวป่านันทนาการ 3 แห่ง

พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายขับเคลื่อนด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในรูปแบบป่านันทนาการ