สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดตรัง จัดกิจกรรมปลูกและฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลเพื่อเป็นอาหารของพะยูน และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2565
12 ส.ค.2565 - ที่หาดคลองสน ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานเปิดกิจกรรมปลูกและฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลเพื่อเป็นอาหารของพะยูน
นายวรรณ ชาตรี ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า สืบเนื่องจากจำนวนพะยูนในประเทศไทยมีประมาณ 250 ตัว ซึ่งร้อยละ 70 หรือประมาณ 180 ตัว พบในทะเลของจังหวัดตรัง โดยที่ถิ่นที่อยู่อาศัยของพะยูนอยู่บริเวณใกล้ฝั่งที่มีแหล่งหญ้าทะเล และในจังหวัดตรังมีหญ้าทะเลอยู่ประมาณ 33,000 ไร่ ซึ่งหญ้าทะเลมีความสำคัญโดยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ บริเวณแหล่งหญ้าทะเลจึงต้องได้รับการดูแล อนุรักษ์ และฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของพะยูน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดตรัง
ที่ผ่านมาจังหวัดตรังได้มีการขับเคลื่อนการอนุรักษ์พะยูน โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดแผนการอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเลของจังหวัดตรัง และเนื่องในโอกาสวันที่ 12 สิงหาคม 2565 เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 จึงได้จัดโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดตรัง กิจกรรมปลูกและฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลเพื่อเป็นอาหารของพะยูน จำนวน 5,000 ต้นขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล พื้นที่หาดคลองสน ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และให้ความรู้สร้างจิตสำนึกให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา องค์กร หน่วยงาน และประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลของจังหวัดตรัง ตลอดจนเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันที่ 12 สิงหาคม 2565 เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ในขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมมือกันในการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล รวมถึงพะยูน อีกทั้งยังจะมีการจัดงานเก็บขยะทะเลตามแนวชายหาดของจังหวัดตรัง เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และความสะอาด รองรับการท่องเที่ยวอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ ติดตามศูนย์เฝ้าระวังพะยูน ตรวจอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ ผลงานยุคทักษิณ
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แวะจังหวัดพังงา ติดตามศูนย์เฝ้าระวังพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก ที่หาดบางขวัญ ตำบลโคกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ซึ่งในพื้นที่นี้ยังมีพะยูนอยู่โดยมีชื่อว่า
ต่อชีวิต'พะยูนฝูงสุดท้าย' กอบกู้หญ้าทะเล
การเสียชีวิตของพะยูนไทยที่ปรากฎอย่างต่อเนื่องตามสื่อต่างๆ ในรอบปี 2567 มีตัวเลขการตายพุ่งสูงกว่าทุกปี หากนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ พะยูนตายไปแล้วเกือบ 40 ตัว รวมปี 2566 ไทยสูญเสียพะยูนรวมกันเกือบ 80 ตัว ถือเป็นสัญญาณอันตรายของพะยูน
ฝนถล่มตรัง แค่ชั่วโมงเดียว น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัด ทะลักท่วมถนน-บ้านเรือน สูงครึ่งเมตร
ตรัง ฝนตกหนักชั่วโมงเดียว เกิดน้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัด ทะลักท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ท่วมถนนตรัง-พัทลุง สูง 50 ซม. รถยนต์วิ่งได้เลนเดียวทั้งขาเข้า-ออก เมืองตรัง และจากฝนตกหนักต้นไม้ใหญ่ 4 คนโอบ ล้มขวามทางขึ้นน้ำตกกะช่อง เร่งนำออกจากถนน
'หลุยส์' ดำเนินรายการเต็มตัว 'Kids พิทักษ์โลก' หนุนเด็กรักษ์สิ่งแวดล้อม
ช่อง 7HD รุกเปิดพื้นที่เพื่อเด็กและเยาวชน ส่งช่วงใหม่ "Kids พิทักษ์โลก" ดึง "หลุยส์ เฮส" ที่เพิ่งขึ้นแท่น Brand Ambassador ของมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม พลิกบทบาทมาเป็นผู้ดำเนินรายการเต็มตัวครั้งแรก ลงจอทุกวันจันทร์ ทางรายการ สนามข่าว 7 สี ตั้งแต่เวลา 07.30 น.
ดร.ธรณ์ ชี้โลกร้อนฆ่าพะยูน ตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว แนะไทยควรพูดใน COP29
ในอดีตพะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 1 ตัว ปัจจุบัน (2566-67) พะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว
พบพะยูนตายกลางทะเล มีร่องรอยโดนทำร้าย ถอดเขี้ยวออก
เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ตรัง) และชาวบ้านช่วยกันนำซากพะยูนขึ้นฝั่ง ที่บริเวณ