วิจารณ์แซดกรมชลทำพิลึก-ผุดโครงการใหม่แก้ปัญหาชาวบ้านร้องเรียนอีไอเอโครงการผันยวมขาดการมีส่วนร่วม “หาญณรงค์จี้ตอบให้ชัด-แนะ สตง.ตรวจความโปร่งใส
11 สิงหาคม 2565 - ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอสมเมย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน มีการจัดประชุมปัจฉิม นิเทศ โครงการศึกษาสร้างการรับรู้ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดตาก โดยกรมชลประทาน และมหาวิทยาลัยนเรศวร (หน่วยวิจัยและพัฒนาบูรณาการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม) โดยมีผู้นำชุมชนในพื้นที่เข้าร่วมจำนวนหนึ่ง จาก อ.สบเมย อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน และ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
ในช่วงท้ายของการประชุมมีการลงนามบันทึกการร้องขอการพัฒนาแหล่งน้ำภายใต้การสร้างความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของภาคีขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนในพื้นที่จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก และลำพูน โดยระบุถึงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำผากาน อ่างเก็บน้ำแม่คะตวน และอ่างเก็บน้ำแม่ปาน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน และในเอกสารระบุชื่อผู้ลงนาม ได้แก่นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรรัตน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและกำนัน ต.แม่สวด ต.สบเมย และ ต.แม่คะตวน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน และ ดร.ไพฑูรย์ ตรงเที่ยง มหาวิทยาลัยนเรศวร อย่างไรก็ตามระหว่างการลงนามมีผู้ที่ปฏิเสธไม่ลงชื่อ เช่น นายยอดชาย พรพงไพร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สวด อ.สบเมย เนื่องจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเอกสารอาจถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นหรือไม่
นายยอดชายกล่าวว่า ไปเข้าร่วมแต่เหมือนเป็นเรื่องโครงการผันน้ำยวมที่เปลี่ยนชื่อ ตนได้ถามในเวทีว่าใช่หรือไม่ หากใช่เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ตนได้บอกว่าโครงการย่อยต่างๆ ที่ระบุนี้จะมีงบประมาณให้จริงหรือไม่ หากเป็นโครงการผันน้ำยวมผลกระทบจะเกิดกับชุมชนแน่นอน ประชุมแล้วอยู่ๆ เอาเอกสารมาให้เซ็นตนเห็นแล้วไม่เซ็นเพราะไม่เหมาะสม
นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ กล่าวว่าหัวเรื่องโครงการระบุว่ามีการมีส่วนร่วมของประชาชนและเรื่องการจัดการน้ำในหลายจังหวัดภาคเหนือ แต่เป็นโครงการที่แปลกรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม (โครงการผันน้ำยวม) ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ได้ระบุคำถามเรื่องการมีส่วนร่วม ต่อมากรมชลประทานก็มีโครงการนี้ขึ้นมา จึงสงสัยว่าเป็นการจ้างที่ปรึกษา คือมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ทำโครงการเพื่อตอบโจทย์คำถามของ คชก. หรือไม่ ขณะนี้เกิดข้อสงสัยกันอย่างกว้างขวางว่าคืออะไร
นายหาญณรงค์กล่าวว่า ประชาชนมีข้อสงสัยว่าโครงการนี้ เกี่ยวข้องกับโครงการผันน้ำยวมหรือไม่ แต่ก็ไม่มีคำตอบจากกรมชลประทาน น่าสงสัยที่ไม่ได้ไปที่อื่นๆ ใน 4 จังหวัด นอกพื้นที่ในแนวโครงการผันน้ำยวม ทั้ง 3 เวทีที่ไปจัดล้วนเกี่ยวกับโครงการผันน้ำยวม ทั้ง อ.ฮอด อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และที่สบเมยในวันนี้ ทำไมชลประทานไม่พูดคว่ามจริงว่านี่คืออะไร เป็นการสร้างความสับสน และเป็นการทำให้โครงการถูกต้องตามข้อสงสัยของคชก.ให้เร็วที่สุด แต่เกิดความระแวงที่เพิ่มทวีคูณ
“ไม่เคยเห็นที่ไหนประชุมแล้วมาลงนาม MOU แบบนี้มาก่อน เป็นเรื่องไม่ปกติอย่างยิ่ง ที่ผานมาการขุดลอกตะกอนต่างๆ ก็ไม่เคยเห็นต้องลงนาม MOU แบบนี้ ชลประทานที่จ้างที่ปรึกษามาทำแบบนี้โปร่งใสหรือไม่ สตง.(สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน)ควรเข้ามาตรวจสอบในทันที คณะกรรมาธิการสภาฯควรตรวจสอบบทบาทของกรมชลประทาน”นายหาญณรงค์ กล่าว
นายหาญณรงค์กล่าวว่า อยากได้รับคำตอบชัดๆ ว่าเกี่ยวข้องกับโครงการผันน้ำยวมใช่หรือไม่ จริงๆ แล้วเรื่องน้ำเป็นบทบาทของ สทนช. แต่กรมชลประทานกลับพยายามหาโครงการมาในพื้นที่ การจ้างที่ปรึกษาย่อมไม่ใช่บทบาทของกรมชลประทาน ควรบอกให้ตรงประเด็นเลยว่าเป้าหมายคือจะนำไปใช้อย่างไรกันแน่
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ชาวบ้านหลายหมู่บ้านโดยเฉพาะหมู่บ้านแม่งูด อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นปากอุโมงค์ผันน้ำจากโครงการผันน้ำยวม ได้ทำประชาคมหมู่บ้านและมีมติไม่เห็นด้วยกับโครงการเพราะส่งผลกระทบกับชาวบ้านจำนวนมาก และชาวบ้านได้ประกาศห้ามกรมชลประทานเข้าพื้นที่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย
ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน
เอาแล้ว! เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มการระบายน้ำอีกระลอก
เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มระบายน้ำขึ้นอีกรอบ หลังฝนตกทำให้แม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำสะแกกรัง เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด
เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา
น้ำทะเลหนุน! กรมชลฯ เฝ้าระวังระดับน้ำ 7 พื้นที่เสี่ยงลุ่มเจ้าพระยา
กรมชลประทาน คาดการณ์ระดับน้ำลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง 3 วันล่วงหน้า (13-15 ต.ค. 67)
'เขื่อนเจ้าพระยา' ลดระบายน้ำต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มต่ำ 4 จ. ท่วมน้อยลง
แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ และแม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี มีปริมาณลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท
สั่งปรับลดการระบายน้ำเขื่อนป่าสักฯ ลดผลกระทบลุ่มเจ้าพระยา
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ ปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์น้ำท่าที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักฯ