28 ก.ค.2565 - กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา โดยน้ำได้ไหลเข้าท่วมใต้ถุนบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 2 อำเภอ ดังนี้
อำเภอเสนา มีระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 50 - 70 เซนติเมตร ประชาชนได้รับผลกระทบ 5 ตำบล 15 หมู่บ้าน 265 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร (นาข้าว) ได้รับความเสียหายประมาณ 165 ไร่
อำเภอผักไห่ มีระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 30 - 40 เซนติเมตร ประชาชนได้รับผลกระทบ 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน 15 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร (นาข้าว) ได้รับความเสียหายประมาณ 20 ไร่
สำหรับการให้ความช่วยเหลือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หน่วยทหาร อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง สำรวจความเสียหาย และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในเบื้องต้นแล้ว
ด้านนายศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร โพสต์เฟซบุ๊กอยู่ที่ดอกกุ่ม สตูดิโอ ริมแม่น้ำลพบุรี อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยเปิดเผยว่า น้ำมาแล้ว วันสุดท้ายของเดือนแปด (แรมสิบห้าค่ำ) ดูจากคืนวาน น้ำขึ้นสูงสุดน้อยกว่าเมื่อคืน 11 ซม.
พรุ่งนี้ขึ้นเดือนเก้า ตลิ่งบางปะหัน 4.69 เมตรเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.)
เมื่อคืนขึ้นสุดตอนตีหนึ่งยี่สิบนาที 3.42 ม.รทก. เหลืออีกเมตรยี่สิบเจ็ดเซนต์ ถึงขอบตลิ่งบางปะหัน ซึ่งคือใต้ถุนบ้านผม
ถ้าขึ้นอัตรานี้ วันละประมาณสิบเซนต์ แสดงว่า อีกสิบสองวันจะถึงขอบตลิ่งบางปะหัน หรือใต้ถุนบ้านผม ในราวๆ วันที่เสาร์ที่ 6 สิงหาคม ขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 ซึ่งไม่น่าจะถึงเพราะตามธรรมชาติ น้ำจะมาราวๆเดือน 11 โน่นแหล่ะ ปีนี้เดือน 11 ขึ้นหนึ่งค่ำวันที่ 26 กันยายนโน่น
ถ้ามาตั้งแต่เดือน 9 ก็แสดงว่ามีการปล่อยน้ำเตรียมรับมือพายุกันกระมังนี่
ภาพล่างจากเฟซบุ๊ก ศศิน เฉลิมลาภ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67