นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง ระบุพบนักธุรกิจชายไทยอายุ 53 ปี ติดเชื้อโควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 รายแรก ไม่มีอาการรุนแรง ให้กลับรักษาที่บ้านแล้ว หลังกลับจากประชุมโรตารี่ที่ จ.ภูเก็ต เบื้องต้นผู้สัมผัสเสี่ยงมีแค่ 4 รายขณะนี้ทั้งหมดยังเป็นผลลบ ยันไม่ต้องกังวล
20 ก.ค.2565 - นพ.ชัยรัตน์ ลำโป นายแพทย์สาธารณะสุข จังหวัดตรัง ถึงกรณีที่ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “ Center for Medical Genomics” เรื่อง พบโอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 แล้วในไทยที่จังหวัดตรัง
นพ.ชัยรัตน์ เปิดเผยว่า สสจ.ตรัง ได้รับแจ้งจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่า พบผู้ป่วยของ จ.ตรัง 1 คน ที่เป็นสายพันธ์ BA.2.75 เพียงรายเดียว เป็นชาว จ.ตรัง อายุ 53 ปี อาชีพนักธุรกิจ เท่าที่ดูจากรายงานการสอบสวนเบื้องต้น ทราบว่าไปรับเชื้อมาจาก จ.ภูเก็ต ในงานประชุมกิจกรรมของโรตารี่ ซึ่งมีชาวต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาประชุมร่วมด้วย เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 65 ก่อนที่จะพบว่าติดเชื้อโควิด 19 วันที่ 27 มิ.ย. 65 ช่วงเวลาประมาณ 04.00 น.
โดยรู้สึกว่ามีอาการเจ็บคอ และมีอาการไอนิดหน่อย ก็เลยสงสัยว่าติดเชื้อโควิด 19 ก็เลยตรวจเอทีเค (ATK) ผลเป็นบวก และเข้าทำการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.ตรัง ทางโรงพยาบาลเอกชนก็เลยได้ตรวจ RT-PCR เพื่อเป็นการยืนยันก็พบว่ามีการติดเชื้อจริง
นพ.ชัยรัตน์ เผยต่อไปว่า เท่าที่สอบสวนมีผู้สัมผัสใกล้ชิดเพียงแค่ 4 คน เป็นลักษณะการนั่งดื่มด้วยกันเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 65 ช่วงกลางคืน ก็ได้เฝ้าระวังติดตามอาการของผู้สัมผัสทั้ง 4 คนอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้คำแนะนำให้แยกตัวออกจากคนอื่น จนถึงขณะนี้ทั้ง 4 รายผลตรวจก็ยังคงเป็นลบ ส่วนอาการผู้ป่วยตั้งแต่ต้นก็ไม่ได้มีอะไรมาก ไม่มีไข้ มีเพียงอาการเจ็บคอ และไอเล็กน้อย นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลประมาณ 2-3 วัน อาการก็ดีขึ้น
ทางโรงพยาบาลก็ได้ให้กลับมารักษาตัวที่บ้าน โดยให้ยาหรือรักษาตามปกติของผู้ป่วยโควิด 19 ในส่วนของผู้ป่วยรายนี้ไม่มีอะไรที่ต้องน่ากังวล เพราะว่าสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 เป็นแค่สายพันธ์ย่อยของโอไมครอน ซึ่งไม่มีอะไรที่รุนแรง ถ้าหากมีวัคซีนเข้มกระตุ้น ภูมิต้านทานแข็งแรงก็สามารถลดอาการรุนแรงของโรคได้
นพ.ชัยรัตน์ เปิดอีกว่า ในส่วนของ จ.ตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียว จะเน้นการเฝ้าระวัง อย่างน้อย 3 กรณี เช่น 1.กรณีที่ระบาดเป็นกลุ่มก้อน 2.คนไข้นอนโรงพยาบาลแล้วอาการรุนแรง 3.เดินทางจากต่างประเทศ ซึ่งเคสนี้ก็พบจากการเฝ้าระวังเช่นเดียวกันเนื่องจากนอนโรงพยาบาลก็เลยสุ่มตรวจหาสายพันธ์ก่อนที่ผลจะทราบเมื่อวานนี้ว่าเป็น สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ซึ่งเป็นการไปสุ่มตรวจพบเอาพอดี
“ดีที่สุดเลยตอนนี้จากข้อมูลทางวิชาการ หากไม่อยากให้อาการของโควิด 19 หรือโอไมครอน มีความรุนแรง เวลาติดเชื้อต้องฉีดวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนเข็มกระตุ้น เพราะว่าตัววัคซีนที่มีอยู่ในระบบตอนนี้ที่ฉีดให้กับประชาชนส่วนใหญ่ภูมิต้านทานจะอยู่ได้ไม่นาน จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องฉีดเข็มกระตุ้น เพื่อสร้างภูมิต้านทาน เพราะโควิด 19 กลายพันธ์ง่ายดายมาก แต่สายพันธ์หลักในตอนนี้ก็ยังคงมี 5 สายพันธ์ ซึ่งจะต้องติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจังหวัดตรังขณะนี้มีความพร้อมในระบบของการแพทย์ที่จะดูแลทุกอย่าง”นพ.ชัยรัตน์ เผ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พบพะยูนตายกลางทะเล มีร่องรอยโดนทำร้าย ถอดเขี้ยวออก
เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ตรัง) และชาวบ้านช่วยกันนำซากพะยูนขึ้นฝั่ง ที่บริเวณ
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป
สายการบิน 'ลุฟท์ฮันซา' ต้องจ่ายค่าปรับกรณีเลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารชาวยิว
สายการบินลุฟท์ฮันซาต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา เหตุเพราะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดขอ
ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่