บุฟเฟ่ต์ทุเรียน 'หมอนพระร่วง' สุดยอดทุเรียนสุโขทัย มีอัตลักษณ์เฉพาะ โกยรายได้ปีละ 500 ล้านบาท

รองผู้ว่าฯสุโขทัย เปิดงานฟเฟ่ต์ทุเรียน 14-17 ก.ค. ประกวดตั้งชื่อทุเรียน 'หมอนพระร่วง' มีอัตลักษณ์เฉพาะ เนื้อแห้ง กรอบ ไม่แฉะ รสชาติเข้มข้น พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้ปีละกว่า 500 ล้านบาท

15 ก.ค 2565 - นางสาวพัชรอร วงศ์กำแหง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานเปิดกิจกรรมบุฟเฟ่ต์ทุเรียน โดยมีนายเนตร สมบัติ เกษตรจังหวัดสุโขทัย เป็นผู้กล่าวรายงาน เพื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้อัตลักษณ์สุโขทัยให้เป็นที่รู้จัก พร้อมมอบโล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล 10,000 บาท แก่ผู้ชนะเลิศในกิจกรรมประกวดตั้งชื่อทุเรียนสุโขทัย งานบุฟเฟ่ต์ทุเรียนมีกำหนดจัดกิจกรรม ระหว่างวันที่ 14-17 กรกฎาคม ณ ไร่สานฝัน หมู่ 12 ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

ทั้งนี้ สุโขทัยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 20,000 ไร่ มีปลูกกันมากที่ศรีสัชนาลัย เป็นพืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้จังหวัดสุโขทัย ปีละไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท และมีประวัติการปลูกมานานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2340 มีอัตลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากปลูกในพื้นที่เขาสภาพดินผุ มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ ปริมาณน้ำฝนไม่มาก จึงทำให้ทุเรียนมีเนื้อแห้ง กรอบ ไม่แฉะ รสชาติเข้มข้น เนื้อทุเรียนมีสีเหลืองนวล เนื้อหนา ละเอียด เมล็ดลีบ ไม่หวานจัด เกษตรกรปลูกแบบธรรมชาติ ใช้สารเคมีค่อนข้างน้อย ทำให้มีความปลอดภัย

ในปัจจุบันหน่วยงานราชการได้เข้ามาส่งเสริมการผลิต ให้ได้คุณภาพมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด แต่ทุเรียนสุโขทัยยังไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ จึงไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เพื่อเป็นการพัฒนาสินค้าทุเรียนให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีชื่อที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีเรื่องราวแหล่งกำเนิดสินค้า (story) มีความแตกต่างจากสินค้าแหล่งอื่นๆ และเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนทุเรียน

จึงได้จัดกิจกรรมประกวดตั้งชื่อ “ทุเรียนสุโขทัย” ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา เพื่อคัดเลือกชื่อทุเรียนที่เป็นอัตลักษณ์ของสุโขทัย เป็นการประชาสัมพันธ์ทุเรียนสุโขทัยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยคณะกรรมการฯได้คัดเลือกชื่อทุเรียน จากผู้ส่งชื่อเข้าร่วมแข่งขันกว่า 500 ชื่อ เหลือ 5 ชื่อสุดท้าย เพื่อเปิดโหวตผ่านสื่อออนไลน์ เป็นคะแนน popular vote และใช้การตัดสินตามหลักเกณฑ์จากคะแนนคณะกรรมการร้อยละ 70 และคะแนนโหวตร้อยละ 30

ผลปรากฏว่าชื่อทุเรียน “หมอนพระร่วง” โดยนางสาวขนิษฐา บัวป้อม ชนะเลิศการประกวดได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัล เกียรติบัตร ที่พักโฮมสเตย์ไร่สานฝัน จำนวน 2 วัน 1 คืน สำหรับ 2 ท่าน และที่พัก รดา ออร์แกนิกส์ ฟาร์ม จำนวน 2 วัน 1 คืน สำหรับ 2 ท่าน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจ 'บอนสี' พืชเศรษฐกิจน่าสนใจเงินสะพัดกว่าพันล้าน/ปี

ธุรกิจ “บอนสี” พัทลุง ทอปเท็นระดับประเทศเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท / เดือน ภาพรวมทั้งประเทศสะพัดพันล้าน ตลาดภายใน 90 ส่งออก 10 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีหน่วยงานรัฐหลักดูแล ถ้าดูแลตลาดต่างประเทศจะไปไกล เพราะบอนสีไทยโดดเด่นที่สุดในโลก

“ดวงฤทธิ์” เลขานุการ รมว.อว.ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ “เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช” อ.บรบือ จ.มหาสารคาม พัฒนา “แอปเปิล สายพันธุ์ฟูจิ” หนุนต่อเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคตและแหล่งท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 19 พ.ค.รศ.(พิเศษ)ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ศูนย์เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืช

"อนุทิน" เปิดงานกัญชา "จันทบุรี" มั่นใจฝีมือเกษตรกรไทย ปั้นกัญชา เป็นพืชเศรษฐกิจ ป้อนตลาดโลก

6 พฤษภาคม 2565 ที่ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ (อาคาร 36) ม.ราชภัฏ รำไพพรรณี อ.เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล

'อนุทิน' เปิดมหกรรมกัญชา-กัญชง ยันต้องทำตามกม.อย่างเข้มงวด ให้รอห้วงเวลา 120 วัน เตรียมเยียวยาผู้ถูกจับ

'อนุทิน'เปิดมหกรรมกัญชา-กัญชง หวังยกระดับสู่เกษตรแปลงใหญ่ที่สร้างรายได้ให้กับคนไทยทั้งประเทศ ยัน ทุกอย่างต้องทำตามกฎหมายอย่างเข็มงวด ขอให้รอห้วงเวลา 120 วัน ทุกอย่างจะถูกต้อง เตรียมแผนเยียวยาผู้ถูกจับ