นาบัวฟื้น! เกษตรกรยิ้มรับวันพระใหญ่ ยอดขายพุ่ง หลังเจอพิษโควิดจนต้องลดพื้นที่ปลูก

นาบัวเริ่มฟื้นหลังโควิดผ่อนคลาย เกษตรกรผู้ทำนาบัว บ้านคลองยาง อ.เมือง จ.พิษณุโลก เร่งเก็บดอกบัวส่งขายให้กับลูกค้าขาประจำ ที่สั่งจองเข้ามาในช่วงใกล้วันพระใหญ่ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา ขายดีมาก

12 กรกฎาคม 2565 - เกษตรกรผู้ทำนาบัว บ้านคลองยาง ม.6 ต.บ้านป่า อ.เมือง จ.พิษณุโลก กำลังเร่งเก็บดอกบัวฉัตรขาว ส่งขายให้กับลูกค้าขาประจำในพื้นที่ อ.นครไทย อ.ชาติตระการ และ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ในช่วงใกล้วันพระใหญ่ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา หลังเจอพิษโควิด-19 ต้องยุบนาบัวจาก 6 ไร่ เหลือเพียง 2 ไร่ คาดหลังจากนี้นาบัวคงฟื้นตัวอาจจะทบทวนเรื่องการขยายนาบัวเพิ่ม เพราะสามารถสร้างรายได้ดีกว่าการทำนาหลายเท่า โดยวันนี้นายก้อม ฤทธิ์น่วม อายุ 65 ปี และนางแดง ฤทธิ์น่วม อายุ 59 ปี สองสามีภรรยา กำลังง่วนอยู่กับการเก็บดอกบัวฉัตร และมัดเป็นกำ กำละ 10 ดอก ส่งขายตามออเดอร์ให้กับลูกค้าขาประจำในพื้นที่ อ.นครไทย-อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก

นายก้อม ฤทธิ์น่วม เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมก็ยึดอาชีพทำนา ทำไร่สวนผสม บนพื้นที่รอบบ้านของตนเอง ปลูกทุกอย่างที่กินได้ โดยเฉพาะพืชผักสวนครัว ทั้งพริก พริกไทย มะนาว ส้มโอ ชะพลู ไว้เก็บขายเล็กๆน้อยๆควบคู่ไปกับการทำนา จนเมื่อปี 2559 ลูกชายได้นำไหลบัวฉัตรขาวมาปลูกในนาข้าว เพราะลูกชายมีอาชีพเสริมเกี่ยวกับการทำบายศรี จนบัวฉัตรขายก็เริ่มขยายไปจนเต็มพื้นที่กว่า 6 ไร่ สามารถเก็บดอกบัวขายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ถึงหลักแสนต่อปี มีลูกค้าประจำหลายอำเภอ .

จนกระทั่งเมื่อปี 2563 เกิดการระบาดของโควิด-19 มีการปิดวัด ปิดตลาด คนอยู่บ้านกันมากขึ้นไม่ค่อยออกไปไหว้พระทำบุญ ทำให้การค้าขายดอกบัวเริ่มกระทบ ลูกค้าหดหาย ดอกบัวที่ปลูกไว้ก็ขายได้ยากขึ้น รายได้จากเดิมที่เคยขายดอกบัวได้หลักแสนต่อปี เหลือเพียงปีละ 1-2 หมื่นบาท ทำให้ตนต้องยุบนาบัวจากเดิมกว่า 6 ไร่ เหลือเพียง 2 ไร่ แล้วพื้นที่ ที่เหลือก็กลับไปทำนาตามเดิม

นายก้อม ฤทธิ์น่วม บอกต่ออีกว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ หลายมาตรการของโควิด-19 ปลดล็อคมากขึ้น คนเริ่มออกจากบ้าน วัดเปิดให้เข้าไปกราบไหว้ คนก็เริ่มออกมาไหว้พระทำบุญ ส่งผลให้ตลาดดอกไม้ไหว้พระ หรือตลาดดอกบัว เริ่มดีขึ้น ตั้งแต่ต้นปีก็มีลูกค้าขาประจำเดิม กลับมาสั่งออเดอร์อีกครั้ง ทำให้ช่วงนี้ตนสามารถเก็บดอกบัวส่งขายเกือบทุกวัน วันละเฉลี่ย 200-500 ดอก แต่ตนก็ยังไม่กล้ารับออเดอร์มาก เพราะดอกบัวเราเหลือเพียงแค่ 2 ไร่ ดอกบัวยังไม่เพียงพอที่จะส่งลูกค้า ตอนนี้ก็จะมีขาประจำอยู่ อ.นครไทย อ.ชาติตระการ ตลาดไทยเจริญ อ.วัดโบสถ์ และก็ลูกค้าตามบ้านทั่วไป ส่วนราคาขายดอกบัวยังคงเดิม คือขายราคาดอกละ 1 บ้าน เด็ดให้พร้อมมัดกำ กำละ 10 ดอกให้ 10 กำแถม 1 กำ ช่วงนี้ ก็คงต้องรอดูสักระยะหากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ตลาดดอกบัวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง ตนก็อาจจะขยายพื้นที่ปลูกดอกบัวฉัตรขาวเพิ่มขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

CP LAND รุกโครงการบ้านเดี่ยว ส่ง SŌLVANI ปูพรมภาคกลาง พิษณุโลก – นครสวรรค์ จับตลาดบน

CP LAND บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย เดินหน้าสานต่อบุกตลาดบ้านเดี่ยวระดับพรีเมียมโซนภาคกลาง พิษณุโลก-นครสวรรค์

ทุ่งบางระกำ รับน้ำเหนือจากสุโขทัย เข้าทุ่งกักเก็บแล้ว 143% แม่น้ำยมเพิ่มอีก 30 ซม.

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย.ถึง 8 ต.ค. 2567 มีพื้นที่ได้รับกระทบ จำนวน 304 หมู่บ้านจาก 50 ตำบล ในพื้นที่ 9 อำเภอของจ.พิษณุโลก ซึ่งส่วนใหญ่จะรับน้ำเหนือผ่านจังหวัดสุโขทัย

ทุ่งบางระกำโมเดล เก็บน้ำแล้ว 112% ชาวพรหมพิราม เดือดร้อนขาดฟางข้าว-ต้นหญ้าเลี้ยงสัตว์

สถานการณ์น้ำที่ จ.พิษณุโลก วันนี้เริ่มดีขึ้น แม่น้ำลำคลองทุกสายเริ่มลดระดับลงอีกครั้ง แม้มีฝนตกในพื้นที่อยู่บ้างก็ตาม ขณะทุ่งบางระกำโมเดล เก็บน้ำเข้าทุ่ง 449 ล้าน ลบ.ม คิดเป็น 112%

น้ำเต็ม 100% ทุ่งบางระกำโมเดล ระดับน้ำเพิ่มสูง เริ่มกระทบชาวบ้าน-เส้นทางสัญจร

ทุ่งบางระกำโมเดล ในจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย  รับน้ำเต็มๆมีน้ำอยู่ในทุ่งแล้ว 440 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของความจุเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน

ระดมกำลังช่วย 'วัดตายม' จ.พิษณุโลก น้ำท่วมหนักเซาะกำแพง เร่งกั้นกระสอบทราย

ระดมกำลังทหาร ชาวบ้าน และวัด เร่งซ่อมพนังกั้นน้ำคลองวัดตายมแตก น้ำไหลแรงดันกำแพงเป็นเป็นโพรงน้ำทะลักเข้าท่วมภายในบริเวณวัดตายม

โค่นสวนยางพาราทิ้ง 407 ไร่ ในเขตป่าสงวนฯ ตรวจพบตั้งแต่ปี 58 แต่ไม่มีผู้ต้องหา

นายวิทยา ณวิพันธ์ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก สั่งการให้ นายธวัชชัย ปุริเกษม ผอ.ส่วนป้องรักษาป่าและควบคุมไฟป่าและนายธีรพล กาญจนโกมล เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ทำหน้าที่หัวหน้าชุดปฏิบัติการร่วมกับหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่า