ชาวนาจำใจขายข้าวเปลือกเกี่ยวหนีน้ำ แม้ได้ราคาต่ำ โรงสียันรับซื้อตามสภาพไม่ได้กดราคา

ชาวนาทยอยนำข้าวเปลือกสดที่เกี่ยวหนีน้ำไปขายตามโรงสีอย่างต่อเนื่อง แม้จะได้ราคาต่ำเพียงกิโลกรัมละ 8-9 บาท วอนรัฐบาลพยุงราคาไม่ให้ต่ำกว่า 15 บาท ด้านผู้ประกอบการโรงสีแนะชาวนารอให้ข้าวแก่เต็มที่และตากให้แห้งก่อนนำมาขาย หากซื้อข้าวคุณภาพต่ำโรงสีก็เสี่ยงขาดทุนเพราะส่งออกไม่ได้

3 พ.ย.2564 - ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่โรงสีสหพัฒนาค้าข้าว ต.สตึก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ได้มีชาวนาจากหลายอำเภอ เช่น อ.สตึก อ.แคนดง และเขตรอยต่อจาก จ.สุรินทร์ บางส่วน ได้ทยอยนำข้าวเปลือกที่เกี่ยวสด และเกี่ยวหนีน้ำท่วมมาขายอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ช่วงนี้จะได้ราคาต่ำ เพียงกิโลกรัมละ 8-9 บาทก็ตาม แต่ชาวนาก็จำเป็นต้องนำมาขาย เพราะต้องนำเงินไปเป็นค่าเก็บเกี่ยวและใช้จ่ายในครอบครัว โดยชาวนา บอกว่า หากเป็นไปได้ก็อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือพยุงราคาข้าวไม่ให้ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 15 บาท หรือตันละ 15,000 บาท เพราะปีนี้ประสบปัญหาหลายอย่าง ทั้งช่วงต้นฤดูที่ประสบปัญหาภัยแล้งต้นข้าวแห้งตาย ต้องลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูกทดแทนข้าวที่ตาย รวมถึงค่าปุ๋ยก็ราคาแพงขึ้น แต่พอถึงช่วงที่จะเก็บเกี่ยวกลับมาเจอปัญหาน้ำท่วม ทำให้ไม่ได้ผลผลิตเต็มที่เท่าที่ควร

นางวิริยาภรณ์ สุดคนึง อายุ 38 ปี ชาวนาบ้านซาด ต.สระบัว อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ บอกว่า ที่ต้องนำข้าวเปลือกมาขายช่วงนี้ เพราะจำเป็นต้องนำเงินไปจ่ายค่าเก็บเกี่ยวและใช้จ่ายในครอบครัว ก็ยอมรับว่าราคาข้าวที่ได้ค่อนข้าวต่ำไม่คุ้มกับต้นทุน เพราะช่วงต้นฤดูประสบปัญหาภัยแล้งข้าวแห้งตาย ต้องลงทุนซื้อพันธุ์ข้าวใหม่มาปลูกทดแทนข้าวที่ตาย อีกทั้งค่าไถ ค่าปุ๋ยก็แพงขึ้น พอมาถึงตอนเก็บเกี่ยวก็มาเจอปัญหาน้ำท่วมอีก ทำให้ข้าวบางส่วนแช่น้ำเสียหายได้ผลผลิตไม่เต็มที่ จึงอยากฝากให้รัฐบาลช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นการชดเชยเยียวยาหรือพยุงราคาข้าวให้สูงกว่านี้ เพื่อเป็นการแบ่งภาระและช่วยเหลือชาวนาด้วย

ด้านนายศุภสิทธิ์ อึ้งพัฒนากิจ เจ้าของโรงสีสหพัฒนาค้าข้าว อ.สตึก กล่าวว่า ช่วงนี้ซึ่งยังเป็นช่วงต้นฤดู ก็มีชาวนานำข้าวเปลือกมาขายไม่คึกคักเท่าที่ควรเฉลี่ยวันละประมาณ 100 รายเท่านั้น ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นข้าวที่ชาวนาเกี่ยวหนีน้ำท่วมแล้วนำมาขายสด โดยไม่ได้ตากลดความชื้นเลย อาจเพราะมีความจำเป็นที่ต้องนำเงินไปใช้จ่าย ซึ่งทางโรงสีก็ยืนยันว่ารับซื้อตามสภาพข้าวและกลไกตลาด ไม่ได้มีการกดราคาแต่อย่างใด แต่หากเป็นไปได้ก็อยากแนะให้ชาวนารอให้ข้าวแก่สุกเต็มที่ หรือตากให้แห้งก่อนแล้วค่อยนำมาขาย เพราะจะได้ราคาที่สูงขึ้นกว่านี้ ซึ่งก็จะเป็นผลดีกับตัวชาวนาเอง เพราะจริงแล้วหากเป็นข้าวสดโรงสีส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรับซื้อเพราะไม่มีสถานที่ตาก ทั้งเกรงว่าหากรับซื้อที่เปียกชื้นหรือคุณภาพต่ำไว้ ทางโรงสีก็ต้องแบกรับความเสี่ยงที่จะประสบปัญหาขาดทุนได้ เพราะหากข้าวที่รับซื้อไว้เสื่อมคุณภาพก็จะไม่สามารถส่งออกได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“รองนายกฯ ภูมิธรรม” ห่วงอุทกภัยอีสาน สั่ง สทนช.บูรณาการเร่งติดตามพื้นที่ได้รับผลกระทบ

“รองนายกฯ ภูมิธรรม” ห่วงพื้นที่ประสบอุทกภัยภาคอีสาน สั่งการให้ สทนช. บูรณาการหน่วยงานติดตามพื้นที่ได้รับผลกระทบ เร่งช่วยเหลือประชาชน

ตร.ค้นบ้านมือยิง 4 ศพที่ศรีสะเกษ ผงะ!อาวุธปืน เครื่องกระสุนอื้อ

พ.ต.อ.วิษณุ อาภรณ์พงษ์ ผกก.สภ.ประโคนชัย พ.ต.ท.นิวัฒน์ อาทวัง รอง ผกก.สส.ฯ , พ.ต.ท.นพรัตน์ ลัคษร สว.สส.ฯ, ร.ต.อ.อลงกรณ์ ประจงเศรษฐ์ รอง สวป.ฯ, ร.ต.อ.วัฒนา ปัตตาเขสูง รอง สว.สส.ฯ,

อดีตผอ.ปืนโหดบุกยิง 4 ศพที่ศรีสะเกษ ก่อนปลิดชีพตนเองหนีความผิด!

มีรายงานว่าเมื่อประมาณ 21.30 น. ที่ผ่านมา ที่บ้านพัฒนา ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ เกิดเหตุคนร้ายบุกมายิงถล่มเสียชีวิต 4 ศพ ผู้เสียชีวิต คือ สามี- ภรรยา แม่ยาย และเพื่อนบ้าน

เวทนา! ยายประกาศขายตู้เย็น โดนตัดไฟต้องหาเงินจ่าย เลี้ยงหลาน 2 คนอดมื้อกินมื้อ

มีผู้โพสต์ภาพตู้เย็นประกาศขายในราคา 1,000 บาท แทนยายในหมู่บ้านที่ไม่มีโทรศัพท์ระบุข้อความว่า "สงสารยาย" ที่ต้องการขายเพราะเอาไปจ่ายค่าไฟฟ้าที่ถูกตัดไปแล้วยอดบิล 95 บาทและค่าน้ำอีก 75 บาท

ตราดระทม! จมบาดาล 1 เมตร เดือดร้อน 3 พันคน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนรักษ์คลองบางพระ ชุมชนวัดโบสถ์ ชุมชนกิจสวัสดิ์ ถนนเทศบาล 3, 5 ถนนพัฒนาการปลายคลอง ถนนกิตติพัฒนา ซอยสืบแสวงทรัพย์ ซอยร่มไทร ซอยสุเหล่าแขกปลายคลอง ซอยสมจริง ซอยศาลเจ้าแม่ตาเหล ยังคงทรงตัว