9 ก.ค.2565 - ที่อำเภอเมือง จังหวัดตราด นายวิวัฒน์ แดงตะนุ เจ้าของสวนทุเรียนพาผู้สื่อข่าวสำรวจสภาพความเสียหายของสวนทุเรียนหลังจากในช่วงกลางดึกวันที่ 7 กรกฎาคม มีพายุพัดถล่มสวนทุเรียน ทำให้ต้นทุเรียนทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กโค่นไป 40 ต้น ซึ่งมีแรงงานกัมพูชากำลังตัดต้นทุเรียนและกิ่งไปเผาทำลาย เพื่อทำการปลูกใหม่ ขณะที่สวนทุเรียนที่อยู่ใกล้เคียงอีก 4 สวนก็ได้รับความเสียหายไปด้วย
นายวิวัฒน์ กล่าวว่า มีพายุฝนลมแรงมาตั้งแต่เวลา 22.00 น.ของเมื่อคืนนี้และช่วงเช้าออกมาตรวจสอบความเสียหายพบว่า มีทุเรียนกว่า 40 ต้นที่เป็นต้นทุเรียนขนาดใหญ่ และทุเรียนสาว 10 ต้นโค่นและหัก ซึ่งแต่ละต้นจะมีผลผลิตทุเรียนประมาณ 100 ลูก หรือรวม 2 พันลูก หากคิดเป็นมูลค่าทุเรียนที่จะขายได้ในปีหน้าจะเสียหายราว 4-5 ล้านบาท ซึ่งต้นทุเรียนทั้งหมดทำได้แค่การตัดต้นนำไปทำฟืนเท่านั้น และสุดท้ายก็จะทำการปลูกใหม่ ซึ่งต้องรออีก 4 ปีจึงจะมีผลผลิตให้
ส่วนที่บ้านนายสมเกียรติ ทศนิยม เจ้าของสวนทุเรียนอีกคนหนึ่งบอกว่า ลมพายุลมแรงและมีฝนตกพัดมาทำให้หลังคาได้รับความเสียหายกระเบี้ยงกว่า 100 แผ่นหลุด และเครื่องใช้ไฟฟ้าพัง รวมทั้งนอนไม่ได้ ส่วนทุเรียนโค่นไปกว่า 20 กว่าต้น มีความเสียหายนับล้านบาท และยังมีของเพื่อบ้านอีก 2-3 สวนมีทุเรียนโค่นอีก และมากกว่าของต้นเองอีก
อีก 2 สวนเป็นของนางจารุวรรณ หงษ์สมุทร ที่ต้นทุเรียนขนาดใหญ่โค่นไป 30 ต้น และยอดหักอีก 5 ต้น ซึ่งนางจารุวรรณ กล่าวว่า ต้นทุเรียนที่หักโค่นแต่ละต้นออกผลต้นละ 100 ลูก ทำรายได้3-5 หมื่น/ต้น ซึ่งรวมแล้วเสียหายไปนับล้านบาท
อีกสวนหนึ่งของนางหมก สินสมุทร จำนวน 35 ต้น ส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุเรียนขนาดใหญ่และได้รับความเสียหายทั้งต้น รวมทั้งมีต้นกล้วยอีกจำนวนหนึ่งด้วย
สรุปสวนทุเรียนที่ได้รับความเสียหายมีจำนวน 5 สวน ซึ่งนางเหม้า แดงตะนุ สมาชิกอบต.ห้วงน้ำขาวได้สรุปความเสียหายเพื่อส่งให้อบต.ห้วงน้ำขาว ทำรายงานส่งให้เกษตรจ.ตราดช่วยเหลือ และชดเชยความเสียหาย ประกอบด้วย สวนของนายวิวัฒน์ หงษ์ตะนุ 48 ต้น,นายเขตรัตน์ 40 ต้น นางหมก ไม่ทราบนามสกุล 35 ต้น นางรัตนาภรณ์ แสงสกุล 28 ต้น
สวนใกล้เคียงอีก 3 สวนรวมจำนวน 35 -40 ต้น รวมความเสียหายกว่า 180 ต้น
เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองตราดได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจความเสียหายและจ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกรที่ลงทะเบียนในบัตรสีเขียว ส่วนกรณีที่ไม่มีจะไม่สามารถช่วยเหลือได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67
กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า
อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 31 จังหวัด 'เหนือ-อีสาน' อุณหภูมิสูงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบนมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง