'จะนะ' ซัดรัฐบาลเปลี่ยนมติ ครม. เอื้อกลุ่มทุน

ภาพจากเฟซบุ๊ก จะนะรักษ์ถิ่น

ชาวบ้านจะนะ โต้มติครม.รัฐบาล 21 มิ.ย.ชี้สวนทางหลักการเดิมให้ทำ SEA. ที่อยู่ภายใต้การกำกับของสภาพัฒน์ฯ หยุด ศบ.บต.ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งมาร่วมดำเนินการ  ยันข้อตกลง 14 ธ.ค.64 คือทางออก  อัดรัฐบาลมุ่งเอื้อประโยชน์นายทุน โดยไม่สนใจความผิดปกติของโครงการตั้งแต่ต้น

3 ก.ค.2565 - ชาวบ้านเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ออกแแถลงการณ์ ระบุ ไม่ยอมรับมติคณะรัฐมนตรี 21 มิถุนายน 2565 และต้องกลับไปตามตามมติ 14 ธันวาคม 2564 ในกรณีการแก้ไขปัญหาโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ทั้งนี้ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ซึ่งสวนทางกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ต่อกรณีการแก้ไขปัญหาโครงการเมืองต้นแบบที่ 4 (นิคมอุตสาหกรรมจะนะ) ที่มีเนื้อความสำคัญว่า “ให้หน่วยงานรัฐและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องชะลอการดำเนินการในโครงการเมืองต้นแบบที่ 4 (นิคมอุตสาหกรรมจะนะ) ไว้ก่อน โดยให้รอผลการประเมินสิ่งแวดล้อมในเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assesssment : SEA.) ให้เป็นที่ยุติก่อนการดำเนินการใดๆต่อไป ทั้งนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นหน่วยงานหลักที่จัดให้มีการศึกษา SEA. โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ”

 หากในมติ ครม. 21 มิถุนายน 2565 กลับสวนทางในหลักการสำคัญกับมติเดิมดังนี้ “ให้ศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประสานคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง(กรณีโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ) เพื่อดำเนินการให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย และโครงการใดที่ต้องชะลอจากมติ ครม. 14 ธันวาคม 2564 ก็ให้ดำเนินการต่อไปได้พร้อมไปกับการศึกษา SEA. ทั้งนี้ให้นำ “การทำประชามติ” มาเป็นแนวทางหลักเพื่อการตัดสินใจต่อไป

 เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เห็นว่า การปรับเปลี่ยนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว คือการตระบัดสัตย์ของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา ครั้งสำคัญ อันเป็นเจตนาแฝงที่ต้องการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนโดยเฉพาะ โดยไม่เห็นถึงสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทั้งเป็นที่ประจักษ์ว่าโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะมีความผิดปกติในการดำเนินโครงการตั้งแต่เริ่มต้นหลายประการจนกลายเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยมา ข้อเสนอของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 คือทางออกที่ดีที่สุดแล้ว เพื่อให้ทุกฝ่ายถอยกันคนละก้าว แล้วมาใช้กระบวนการทางวิชาการด้วยการจัดทำ SEA. ที่อยู่ภายใต้การกำกับของสภาพัฒน์ฯ โดยต้องไม่นำคู่ขัดแย้งอย่าง ศอ.บต. มาเป็นผู้ร่วมดำเนินการ และต้องหยุดโครงการเปลี่ยนสีผังเมือง โครงการจัดทำ EIA. และโครงการที่เกี่ยวข้องกับนิคมอุตสาหกรรมจะนะเอาไว้จนกว่าจะมีการศึกษาแล้วเสร็จ เพราะเหตุผลทางวิชาการเป็นทางออกต่อเรื่องนี้บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงทั้งหมด 

 เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นมีความเห็นว่า มติ ครม. เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 คือสะท้อนภาพของความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้อย่างเห็นได้ชัด คือพร้อมที่จะตระบัดสัตย์ เพื่อทำลายหลักการบริหารราชการแผ่นดินด้วยการกลับกลอกไปมา เพื่อแลกกับผลประโยชน์เฉพาะหน้าจากคนบางกลุ่มเท่านั้น เราจึงไม่ยอมรับมติดังกล่าว และขอเรียกร้องให้รัฐบาลกลับไปใช้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เพื่อให้การแก้ไขปัญหาโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะดำเนินไปบนหลักการทางวิชาการอย่างแท้จริงต่อไป  มิเช่นนั้นแล้วพวกเราจะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการ ยุติโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะจนถึงที่สุด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ศิริกัญญา' ปูดรัฐบาลวางแผนยึดการบินไทย

“ศิริกัญญา” ชวนจับตา “รัฐบาล” วางแผนยึด “การบินไทย” ส่งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่ม 2 คน กุมเสียงข้างมาก คลังจ่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนเต็มสิทธิ์ ถามเอาเงินจากไหน ไม่พ้นต้องควักเงินภาษี

ประมงพื้นบ้านสงขลา อาศัยช่วงคลื่นลมไม่รุนแรง ออกจับปูม้ากำลังชุกชุม ขายได้ราคาดี

ที่ชายหาดบ้านบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนบ้านบ่ออิฐนำเรือหลายลำออกไปทำการประมงอวนปูกลางทะเล เนื่องจากในช่วงนี้คลื่นลมไม่รุนแรงสามารถนำเรือออกไปทำการประมงได้

'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน