กสม.โอ่ผลงานแก้ปัญหาเด็กหญิงวัย 7 ขวบ! ได้รับการแจ้งเกิดและสัญชาติ

กสม.ประสานกรมการปกครองแก้ปัญหาให้เด็กหญิงวัย 7 ขวบได้รับการแจ้งเกิดและสัญชาติ ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลเชิงรุกในพื้นที่อุบลราชธานี

23 มิ.ย.2565 - ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กสม. และนายชนินทร์ เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการ กสม.แถลงข่าว ว่า กสม. ประสานกรมการปกครองแก้ไขปัญหาเด็กหญิง 7 ขวบไม่ได้รับการแจ้งเกิดและสัญชาติ ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ แก้ไขปัญหาสถานะบุคคลเชิงรุกที่อุบลราชธานี โดยเมื่อเดือน ธ.ค. 2564 กสม.ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีเด็กหญิงอายุ 7 ขวบ ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดชุมพร ประสบปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ เนื่องจากถูกทอดทิ้งตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารก ต่อมา มีผู้ประสงค์จะรับเด็กหญิงรายดังกล่าวเป็นบุตรบุญธรรม จึงยื่นคำร้องต่อสำนักงานทะเบียนอำเภอสวี (ผู้ถูกร้องที่ 1) เพื่อแจ้งเกิดและขอสัญชาติไทยให้แก่เด็ก แต่ได้รับแจ้งว่าไม่สามารถรับแจ้งการเกิดและไม่สามารถพิจารณาให้สัญชาติไทยแก่เด็กหญิงรายดังกล่าวได้ ต่อมาเมื่อมีการอุทธรณ์คำสั่งของสำนักงานทะเบียนอำเภอสวี สำนักงานทะเบียนจังหวัดชุมพร (ผู้ถูกร้องที่ 2) ก็ยืนยันคำสั่งตามความเห็นของสำนักงานทะเบียนอำเภอสวี ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า การปฏิเสธไม่รับแจ้งการเกิดและไม่พิจารณาให้สัญชาติไทยแก่เด็กหญิงรายดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงขอให้ตรวจสอบ

กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริง บทบัญญัติของกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) ข้อ 7 กำหนดให้เด็กจะต้องได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และมีสิทธิที่จะมีชื่อนับแต่เกิด นอกจากนี้คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติได้มีข้อชี้แนะทั่วไปลำดับที่ 7 (General Comment) กล่าวถึงความจำเป็นในการมีทะเบียนเกิดของเด็กทุกคน ทั้งนี้จากการตรวจสอบปรากฏว่า เดิมหน่วยงานผู้ถูกร้องทั้งสองปฏิเสธไม่รับแจ้งเกิดและไม่พิจารณามอบสัญชาติไทยให้แก่เด็กหญิงรายดังกล่าว โดยอ้างว่าเนื่องจากกระบวนการสอบสวนประจักษ์พยานบุคคล พยานเอกสาร และการรวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถยืนยันได้ว่าเด็กหญิงรายดังกล่าวเป็นบุตรผู้ใด สัญชาติใด และเกิดที่ใด เป็นเหตุให้ต้องตกเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ จึงเป็นการดำเนินการที่กระทบต่อสิทธิของเด็กหญิงรายดังกล่าว และอาจถือได้ว่ามิได้คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

อย่างไรก็ตาม ระหว่างการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว กสม. ได้ประสานไปยังกรมการปกครอง พบว่า กรณีของเด็กหญิงรายนี้ กรมการปกครองเห็นควรให้ได้รับการแจ้งเกิดและได้สัญชาติไทยตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายและตามหลักการผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก โดยกรมการปกครองได้ประสานให้สำนักทะเบียนทั้งสองแห่งดำเนินการรับแจ้งเกิดและพิจารณาให้สัญชาติไทยแก่เด็กหญิงรายดังกล่าว จนทำให้เด็กได้รับสัญชาติไทยและมีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2565 จึงมีมติเห็นว่าปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมแล้ว เห็นควรยุติเรื่อง

นอกจากการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลรายกรณีตามเรื่องร้องเรียนข้างต้น กสม. ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในเชิงระบบร่วมกับเครือข่าย ทั้งการแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นและกลุ่มผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่จังหวัดอุบลราชธานี เพชรบุรี ตราด ระนอง และจะดำเนินการในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ต่อเนื่อง โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2565 นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วยนายชนินทร์ เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ร่วมกับนายสมยศ พุ่มน้อย รองอธิบดีกรมการปกครอง นายสุริยศักดิ์ เหมือนอ่วม ผู้อำนวยการส่วนการทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง นายฐิติพล ภักดีวานิช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมคลินิกสิทธิมนุษยชนกับสถานะบุคคลขึ้นในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาสำหรับคนไทยที่ตกหล่นทางทะเบียนราษฎร คนไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง และคนไทยที่ถูกจำหน่ายรายการ และจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ทางทะเบียนและทำบัตรประจำตัวบุคคลสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (บุคคลประเภท 0) รวมทั้งสิ้น 236 ราย

“การจัดกิจกรรมดังกล่าวซึ่งมีพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นพื้นที่นำร่อง เป็นการแสดงเจตจำนงในรูปแบบภาคีร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ เพื่อแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลเชิงรุกที่หน่วยงานรัฐจะต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ประสบปัญหาสถานะบุคคลในพื้นที่ห่างไกลต่าง ๆ โดยมิได้เป็นเพียงหน่วยตั้งรับเท่านั้น การทำงานในลักษณะนี้จะช่วยลดภาระและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสิทธิสถานะบุคคลให้แก่คนไร้รัฐไร้สัญชาติซึ่งเข้าไม่ถึงโอกาสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” รองเลขาธิการ กสม. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สลด! ลิงแสมตัวผู้-ตัวเมีย ถูกรถชนตาย ลูกน้อยเกาะติดบนหลังแม่ กู้ภัยช่วยจนรอดชีวิต

นายศราวุธ พัดทรัพย์ หัวหน้าหน่วยกู้ชีพพูภัยปะทิว สมาคมนักข่าว จ.ชุมพร เปิดเผยว่าเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น.ของเมื่อวานที่ผ่านมา ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า พบลิงถูกรถชนตายอยู่บนถนนสายดอนตะเคียน-ปะทิว หมู่ 2 ตำบลบางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร จึงนำอาสาฯเดินทางไปตรวจสอบ

'ปลาหมอคางดำ'ต้องเป็นศูนย์ ก่อนนิเวศย่อยยับ

จากสถานการณ์ปลาหมอคางดำที่กำลังระบาดไปในแหล่งน้ำธรรมชาติและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย   ซึ่งปลาหมอคางดำมีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ประเทศไทยเองมีบริษัทเอกชนนำเข้ามาเมื่อปี 2553  ซึ่งวงจรปลาหมอคางดำขยายพันธุ์รวดเร็ว ทุกๆ 22 วัน

กสม. ชี้ตร.ปล่อยให้มีการถ่ายภาพ-คลิปเด็กกราดยิงในห้างฯเผยแพร่ในโซเชียล ละเมิดสิทธิ

กสม. ชี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยให้มีการถ่ายภาพและคลิปวิดีโอของเด็กผู้ก่อเหตุกราดยิงในห้างสรรพสินค้า เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการละเมิดสิทธิฯ

ผู้ปกครองโวย รร.อนุบาลดังชุมพร ไม่ปลอดภัย คนร้ายบุกละเมิดทางเพศเด็กแต่ปิดข่าวเงียบ

ผู้ปกครองรวมตัวร้องโรงเรียนอนุบาลดังชุมพร ไม่ปลอดภัย คนร้ายบุกเข้าไปล่วงละเมิดทางเพศเด็ก แต่ปิดข่าวเงียบ ไม่สนใจแก้ปัญหา บริหารงานไม่โปร่งใส ขณะที่ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ตกใจเรื่องร้ายแรงไม่รายงานให้ทราบ

เจ้าคณะฯ วอนรัฐบาลทวงคืน 'พระพุทธสิงห์' ถูกขโมยหาย 50 ปี โผล่พิพิธภัณฑ์เบลเยี่ยม

จากกรณีที่มีคนไทยไปพบพระพุทธรูปโบราณ “พระพุทธสิงค์” เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

เปิดผลตรวจสอบ 'คดีไซยาไนด์' ตำรวจไม่แจ้งสิทธิการมีทนายความ สื่อละเมิดสิทธิมนุษยชน

กสม. เผยผลการตรวจสอบกรณีร้องเรียนคดีไซยาไนด์ ชี้ตำรวจไม่แจ้งสิทธิการมีทนายความ สื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและตีตราผู้ต้องหา เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน