ห่วง 'ต้นตะบัน' ไม้เก่า 80 ปีบนเกาะขายหัวเราะ บอบช้ำหนัก ปลุกคนเที่ยวร่วมอนุรักษ์

ห่วง "ต้นตะบัน" บนเกาะขายหัวเราะ ถูกพายุพัดกิ่งหัก รากถูกเหยียบย่ำ หลังนักท่องเที่ยวแห่ชม นายกอบต.เกาะหมากร่วมชุมชนและททท.ตราด เร่งแก้ไขก่อนที่เสียจุดขายชื่อดัง

10 มิ.ย.2565 - นายอิษฎา เสาวรส ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานตราด กล่าวว่าหลังจากเข้ามาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานตราด ได้มองเห็นศักยภาพของเกาะหมากในการที่จะเป็นศูนย์กลางของกลุ่มเกาะใกล้เคียง อาทิ เกาะขาม เกาะกระดาด เกาะขายหัวเราะ เกาะระยั้งนอก รวมถึง ใกล้จุดดำน้ำหลักของทะเลตราดอย่างหมู่เกาะรัง เกาะหมากมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่ค่อนข้างพร้อม มีที่พักให้เลือกหลากหลาย ร้านอาหารของชุมชนจำนวนมาก การเดินทางเข้าถึงที่สะดวก อีกทั้ง เป็นต้นแบบการท่องเที่ยว Low Carbon Destination หนึ่งในรูปแบบท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism: RT) นำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ตามนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาประเทศและระบบเศรษฐกิจไทย
อย่างยั่งยืนตามแนวคิด BCG Economy Model

“ททท.ตราด ได้นำเสนอเกาะขายหัวเราะ เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ โดยได้ทำงานร่วมกับกลุ่มบริษัทในเครือบันลือกรุ๊ป ผู้ผลิตหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ ซึ่งเป็นเจ้าของคำว่า “ขายหัวเราะ” ทำการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้ “เกาะขายหัวเราะ” ในรูปแบบ Soft Power โดยใช้แก๊กคลาสสิก “คนติดเกาะ” ในการ์ตูน เลือกกลุ่มเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยววัยทำงาน ถือเป็นมิติใหม่ที่เกิดจากความเข้ากันพอดีของสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดตราด กับภาพจำของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ ที่มีฉากตัวการ์ตูนติดเกาะในทะเลที่มีต้นไม้ ขึ้นอยู่เพียงต้นเดียว ททท. จึงนำ 2 สิ่งนี้มารวมกัน เพื่อตอกย้ำเอกลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลตราด ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวที่อำเภอเกาะกูด โดยเฉพาะเกาะหมาก ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเดินทางมาสัมผัสเกาะชายหัวเราะด้วย

"อย่างไรก็ตามในวันนี้เกาะขายหัวเราะมีความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากกิ่งหัก รากถูกเหยียบย่ำ ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามาก และไม่ระมัดระวังในการเข้าชม รวมทั้งมีสาเหตุจากธรรมชาติด้วย จึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ก่อนที่จะเกิดความเสียหาย และอาจจะทำให้ต้นตะบันในเกาะขายหัวเราะตายไปได้”

สำหรับเกาะขายหัวเราะเป็นส่วนหนึ่งของเกาะนกนอก ซึ่งเชื่อมมาจากเกาะนกใน และเกาะกระดาด เกาะนี้จะมีจังหวะที่โผล่พ้นน้ำในช่วงน้ำลด ซึ่งจะเห็นพื้นที่เกาะเล็กน้อยและมีต้นไม้ (ต้นตะบัน) ขึ้นอยู่เพียงต้นเดียว ปรากฏภาพที่คล้ายกับฉากคลาสสิกของหนังสือขายหัวเราะพอดี นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ผ่านมาพบเห็นต่างพากันเรียกว่า“เกาะขายหัวเราะ”

นายนิพนธ์ สุทธิธนากุล ประธานชมรมท่องเที่ยวเกาะหมาก เปิดเผยว่า ต้นตะบัน ในเกาะขายหัวเราะ ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาก หลังจากทางททท.สำนักงานตราดได้จัดกิจกรรมทางการตลาดและสร้างเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวของเกาะหมาก และเกาะใกล้เคียง แต่ก็ยอมรับว่า การที่ต้นตะบันในเกาะขายหัวเราะเสียหายนั้น มาจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยทางธรรมชาติด้วย ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจำนวนมาก และไม่เข้าใจในการเดินทางเข้าไปชมแบบอนุรักษ์ธรรมชาติหรือรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายมากกว่าเหตุอื่นๆ

“ผมเพิ่งกลับจากเกาะกระดาษพร้อมกับนักท่องเที่ยวกลุ่มสุดท้ายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และพบว่า กิ่งต้นตะบันในเกาะขายหัวเราะหัก เนื่องจากมีลมพัดกิ่ง และทราบว่า นักท่องเที่ยวมาโหนเพื่อถ่ายรูปติดเกาะ และการเดินทางเข้ามาจำนวนมาก โดยไม่ผ่านการขึ้นท่าเรือที่เกาะกระดาษ แต่กลับไปจอดที่บริเวณเกาะขายหัวเราะโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียค่าผ่านทาง 200 บาท ซึ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวได้ ซึ่งเรื่องนี้จะต้องเร่งแก้ไขและสร้างความเข้าใจให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาก่อนจะเสียหายมากกว่านี้ เพราะต้นตะบันต้นนี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 70-80 ปี”

ขณะที่นายนล สุวัจนานนท์ นายกอบต.เกาะหมาก เปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องต้นไม้ในเกาะขายหัวเราะเสียหายและชำรุดนั้น ได้รับทราบในเรื่องนี้มาแล้ว โดยเบี้ยงต้นพบว่า กิ่งต้นตะบันหักลงมาบางส่วน ซึ่งน่าจะมาจากการที่นักท่องเที่ยวเข้าไปชมและอาจจะเข้าไปโหนหรือโน้มกิ่ง และเกิดจากภัยธรรมชาติ ทั้งเรื่องพายุ และเรื่องฝนตก ส่วนที่รากนั้น น่าจะมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปจำนวนมากและเหยียบย้ำเพื่อขึ้นเกาะเพื่อต้องการถ่ายรูป ซึ่งการขึ้นไปบนเกาะมากอาจจะไปทำความเสียหายให้กับต้นตะบันที่เคยอยู่อย่างธรามชาติ แต่เมื่อมีการรบกวนจึงอาจจะเกิดผลกระทบขึ้นได้ ซึ่งทางอบต.เกาะหมากได้ร่วมหารือกับทั้งททท.สำนักงานตราดและเพื่อแก้ไขในเรื่องนี้แล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“บ้านน้ำเชี่ยว 2 ศาสนา3 วัฒนธรรม” สานพหุวัฒนธรรม นำสู่การจัดการจัดการตนเอง (1)

สำหรับทุกคนที่เดินทางมาจังหวัดตราด ส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งไปเกาะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น “เกาะช้าง” และหมู่เกาะบริวารเป็นแหล่งท่องเที่ยวเลื่องชื่อ

ชาวบ้านโวยชลประทานตราด ประตูน้ำชำรุด น้ำทะเลหนุน สวนทุเรียนยืนต้นตายอื้อ

นายธำรงศักดิ์ นคราวงษ์ โครงการชลประทานตราด,นายอภิเดช บุญล้อม นายกตำบลตะกาง นายวินัย ขยันยิ่ง เกษตรจังหวัดตราด,นายเตธรรศ รัตนชัย ปลัดป้องกันอำเภอเมืองตราด เดินทางมารับฟังปัญหาของชาวตำบลตะกาง และตำบลชำราก ที่ประกอบการเกษตรกว่า 100 คน

ตราดแล้งหนัก พื้นที่ปลูกทุเรียน-มังคุด อ.เขาสมิง ขาดน้ำช่วงใกล้เก็บผลผลิต

สถานการณ์การขาดแคลนน้ำทั้งในคลองสาธารณะและอ่างน้ำส่วนตัวของเกษตรกรชาวสวนผลไม้ในอำเภอเขาสมิง จ.ตราด กำลังได้รับความเสียหายแล้ว เกษตรกรตื่นตัวหาน้ำสำรอง

นักท่องเที่ยวเกาะช้างแห่กลับบ้าน ต่อคิวลงเรือเฟอร์รี่ยาวเหยียด 4 กม. รอนานถึง 3 ชม.

ที่ท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวสัปรด ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด บรรยากาศการเดินทางกลับของนักท่องเที่ยวจากเกาะช้าง จ.ตราด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567 เพื่อกลับภูมิลำเนา ตั้งแต่เช้าวันนี้มีนักท่องเที่ยวทยอยเช็คเอ้าท์จากโรงแรมบนเกาะช้าง

เกาะกูดคึกคัก หยุดวันแรกสงกรานต์ นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจนต้องเสริมเรือโดยสาร

บรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปอำเภอเกาะกูด (ประกอบด้วย ต.เกาะกูด และต.เกาะหมาก)ในช่วงสายวันนี้(09.30 น.-13.30 น.วันที่ 12 เมษายน 2567)ซึ่งเป็นวันแรกของวันหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2567

อึ้ง! แท่งปูนคอนกรีตยักษ์โผล่ริมหาดดังเกาะช้าง แต่หน่วยงานกลับไม่รู้สร้างเมื่อไหร่

นายวันรุ่ง ขนรกุล กำนันตำบลเกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด เปิดเผยว่า ได้รับร้องเรียนจากชาวเกาะช้างว่า ที่หน้าโรงแรมเกาะช้างแกรนด์วิว บริเวณหาดทรายขาว มีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในทะเล ซึ่งหลังจากได้ทราบเรื่องและหนังสือร้องเรียนแล้วได้