โคราชน้ำมาแล้ว! แค่ต้นฤดูฝน 'ลำเชียงไกร' ทะลักท่วม 2 อำเภอ เสียหายกว่า 1 หมื่นไร่

โคราชน้ำมาแล้ว ลำเชียงไกรทะลักท่วมพื้นที่ อ.โนนสูง 3 หมู่บ้าน เสียหาย 1,000ไร่ ผวจ.นำทีมหาสาเหตุ พบสิ่งกีดขวาง ทำน้ำล้นทะลักออกนอกลำห้วย ชี้ยังไม่ถึงหน้าฝนจริง น้ำท่วม 2 อำเภอเสียหายกว่า 1 หมื่นไร่ เร่งหารือวางแนวทางแก้ไข หวั่นสถานการณ์น้ำท่วมหนักเหมือนปี 64

26 พ.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดนครราชสีมา ได้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.โนนสูง ซึ่งเป็นน้ำทีมาจากลุ่มน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง ที่ไหลมาจากอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร อ.โนนไทย ได้ไหลเอ่อจากลำห้วยลำเชียงไกรไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร หลังได้รับทราบรายงาน นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยสมพงษ์ หอมสนิท นายอำเภอโนนสูง , นายไพรัตน์ วิทยาอนุมาส นายอำเภอโนนไทย , นายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อํานวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา , นายกฤษฏิ์ พูนเกษม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา และ นายก อบต.จันอัด นายก อบต.ด่านคล้า นายก อบต.เมืองปราสาท อ.โนนสูง ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ

โดยพบว่าน้ำไหลเอ่อจากลำห้วยลำเชียงไกรไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร กว่า 1,000 ไร่ และบ้านเรือนประชาชน ม.1 บ้านสำโรง ม.5 บ้านด่านติง และ ม.8 บ้านโค้งกะพี้ ต.จันอัด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา พร้อมประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาและรับมือสถานน้ำในช่วงหน้าฝนที่จะถึงนี้ พร้อมร่วมประชุมที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอโนนสูงฯ

นายวิเชียร เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้จากฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ทำให้เกิดเป็นน้ำฝนตกสะสม จากพื้นที่ อ.ขามทะเลสอ ได้ไหลหลากเข้าพื้นที่บริเวณบึงขี้นาค ต.โคกสูง อ.เมือง และ ต.กำปัง อ.โนนไทย และไหลลงลำเชียงไกร รวมกับปริมาณน้ำที่ไหลมาจาก ลำวังกระทะ ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนล่าง ทำให้น้ำมวลดังกล่าวได้ไหลมายังพื้นที่ ต.กำปัง อ.โนนไทย ท่วมพื้นที่การเกษตร กว่า 8,000 ไร่ และ บ้านเรือนประชาชน 25 หลังคาเรือน พอไหลผ่านพื้นที่ ต.กำปังแล้ว น้ำก็ได้ไหลต่อมายังพื้นที่ อ.โนนสูง เอ่อท่วมพื้นที่การเกษตร กว่า 1,000 ไร่ และบ้านเรือนประชาชน ใน 3 หมู่บ้าน ของ ต.จันอัด อ.โนนสูง ซึ่งสาเหตุที่น้ำเอ่อล้นออกจากลำห้วยลำเชียงไกรไหลเข้าท่วมพื้นที่ อ.โนนสูงนั้น เกิดจากสิ่งกีดขวางทางน้ำ ฝาย เก่า ประตูระบายน้ำเก่า ที่กีดขวางทำให้น้ำไม่สามารถไหลไปตามระบบ ในลำห้วยได้ดี กว่าที่ควรจะเป็น จึงทำให้น้ำได้เอ่อล้นหรือแตกกระจายออกด้านข้างไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนของประชาชน

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ช่วงที่ผ่านมาฝนอาจจะตกหนัก แต่ตกในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ยังทำให้น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรใน 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอโนนไทย และอำเภอโนนสูง รวมกว่า 10,000 ไร่ ได้ ซึ่งหากถึงช่วงฤดูฝนจริง จะก่อให้เกิดความเสียหายได้มากกว่านี้อย่างแน่นอน ดังนั้น แนวทางในการป้องกันเฉพาะหน้าได้ให้ทุกพื้นที่แจ้งเตือนพี่น้องประชาชนตามลำห้วยให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำ รวมทั้งสิ่งกีดขวางทางน้ำต่างๆจะต้องเร่งรื้อถอนโดยเร็วเพื่อเปิดทางน้ำรับช่วงฤดูฝนที่จะมาถึง ส่วนตลิ่งพื้นที่ใดพังชำรุดต้องเร่งซ่อมแซมเพื่อไม่ไห้น้ำไหลออกนอกลำห้วย หากไม่รีบดำเนินการแก้ไขกังวลว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะหนักเหมือนปี 2564 ที่ผ่านมา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67

กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 31 จังหวัด 'เหนือ-อีสาน' อุณหภูมิสูงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบนมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง