20 เมษายน 2565 - ที่บริเวณห้วยแม่งูด หมู่บ้านแม่งูด ต.นาคอเรือ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ชาวบ้านทั้งหญิงชาย ผู้เฒ่าผู้แก่ เด็ก เยาวชน กว่า 80 คน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมแสดงความเคารพบูชาแม่น้ำ เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล โดยเฉพาะลำห้วยแม่งูดเป็นสายน้ำที่สำคัญของชุมชน โดยชาวบ้านแม่งูดซึ่งเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโผล่ง (กะเหรี่ยงโปว์) มีความเชื่อว่า แม่น้ำคือแหล่งชีวิต ชุมชนต่างรักและหวงแหน ไม่อยากให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ชาวบ้านจะร่วมกันรักษาไว้สืบต่อให้ลูกหลาน โดยทุกๆ เดือนเมษายนชาวบ้านจะร่วมกันจัดกิจกรรมนี้
ทั้งนี้ลำห้วยแม่งูด เป็นพื้นที่ซึ่งถูกกำหนดเป็นปากอุโมงค์ ในโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม หรือที่รู้จักกันว่าโครงการผันน้ำยวม ที่เสนอและผลักดันโดยกรมชลประทาน มูลค่าโครงการที่ระบุในการศึกษาวิเคาะห์โครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนกว่า 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่มีการว่าจ้างให้จัดทำโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร(มน.) ระบุว่าจะมีที่ดินของชาวบ้านห้วยแม่งูดได้รับผลกระทบจากโครงการผันน้ำ
นายวันชัย ศรีนวน ผู้ใหญ่บ้านแม่งูด กล่าวว่าเมื่อตอนเย็นที่ผ่านมาชาวบ้านได้รวมตัวกันไปยังลำห้วย เพื่อเตรียมสถานที่ ทำเรือไม้จำลอง นก หอย ปลา เต่า ทำซุ้มและสะตวง เพื่อถอนสิ่งที่ไม่ดีออกไป ชาวบ้านได้รวมกันขอขมาสิ่งต่างๆ ที่หากได้เคยล่วงเกินต่อแม่น้ำและธรรมชาติ โดยในช่วงเช้าชาวบ้านนิมนต์พระ 5 รูป สวดมนต์ และแสดงธรรมมัจฉาปลาช่อน ขอให้บ้านเราอยู่ดีมีสุข ให้สายน้ำและผืนดินหล่อเลี้ยงชุมชน วันนี้มีชาวบ้านมาร่วมทุกหลังคาเรือน แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิดจึงขอให้มาร่วมแค่หลังคาเรือนละ 1 คน เพื่อไม่ให้แออัดและลดความเสี่ยงโควิด แต่ชาวบ้านอยากมาร่วมกันจำนวนมาก
“ตอนนี้ชาวบ้านต่างมีความตื่นตัวต่อโครงการผันน้ำยวมที่จะทำลายทรัพยากรของเรา เด็กและเยาวชนใน ต.นาคอเรือ กำลังวางแผนที่จะไปเรียนรู้ธรรมชาติในพื้นที่ ที่แม่น้ำเงา ยวม และสาละวิน ที่ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เพราะรู้ว่าโครงการผันน้ำยวมจะส่งผลกระทบต่อประชาชนใน 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก เป็นผืนป่าที่สมบูรณ์พวกเราชาวกะเหรี่ยงและชุมชนท้องถิ่นได้ร่วมรักษามาหลายชั่วอายุคน หากเราไม่ปกป้องก็คงไม่เหลืออะไรให้ลูกหลานอีกแล้ว” ผู้ใหญ่บ้านกล่าว
อนึ่งโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม ได้มีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ได้รับผลกระทบ และพบว่ารายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จัดทำโดย มน. มีการใช้ข้อมูล รูปภาพ ผิดและไม่ตรงข้อเท็จจริงหลายจุด จนเป็นที่มาของแฮชแทก #อีไอเอร้านลาบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'กกร.เชียงใหม่' จ่อชง 'ครม.สัญจร' เยียวยาผู้ประกอบการน้ำท่วม
นายอาคม สุวรรณกันทา ประธานสมาพันธ์ SMEs ไทย จังหวัดเชียงใหม่ และรองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มาหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับเชียงใหม่ปีนี้
'ดอยอินทนนท์' หนาว! เริ่มเปิดเส้นทางชมธรรมชาติ
นายเกรียงไกร ไชยพิเศษ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า วันนี้อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กำหนดจัดกิจกรรมเปิดการท่องเที่ยว
เทศบาลนครเชียงใหม่ ยันพร้อมจัดงานประเพณีเดือนยี่เป็ง ยิ่งใหญ่อลังการหลังน้ำท่วม
นายมนต์ชัย พงษ์เกียรติก้อง รองปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า เทศบาลนครเชียงใหม่ได้เริ่มดำเนินการเตรียมความพร้อมและแผนการจัดงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ประจำปี 2567 แล้ว ซึ่งในปีนี้จะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อลังการไม่ลดความอลังการใดๆ โดยจัดภายใต้แนวคิด
วางคิว ‘นายกฯอิ๊งค์’ ลงพื้นที่แม่สายเดือนพ.ย. ก่อนประชุม ครม.สัญจรครั้งแรก จ.เชียงใหม่
ในเดือนหน้า นายกฯมีกำหนดลงพื้นที่ตรวจราชการที่ จ.เชียงราย และเป็นประธานประชุม ครม.สัญจร ที่จ.เชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นการประชุม ครม.สัญจรนัดแรกของรัฐบาลชุดนี้
เปิดภาพดาวหาง 'จื่อจินซาน-แอตลัส' กับทางช้างเผือก และดาวศุกร์ เหนือองค์พระธาตุคู่เชียงใหม่
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยภาพดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส กับทางช้างเผือก และดาวศุกร์