วิกฤติ “ควายน้ำ” ขาดอาหาร น้ำท่วมขัง 3 หน 6 เดือนอาหารสัตว์เสียหายตายไปร่วม 100 ตัว ปศุสัตว์ลุยช่วยเหลือ ส่วนเกษตรกรโวยมีการตัดหัวควายขณะมีอาการป่วย พ่อค้าควายขาดทุน ควายตายกลางคันขณะนำส่ง
12 เมย. 65 จากกรณีที่ฝูงควายน้ำ ต.พนางตุง ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง นำมาเลี้ยงไว้บริเวณใต้สะพานเฉลิมระเกียรติฯ สะพานยกระดับเชื่อมระหว่าง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง กับ อ.ระโนด จ.สงขลา และทำให้ควายน้ำต้องล้มตายลงไปประมาณ 100 ตัว ทางนายวิญญ์ สิทธิเชนทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ทำการตรวจสอบ และเร่งเดินทางมาช่วยเหลือควายน้ำที่เหลือ และที่ได้รับความเสียหายตลอดที่กำลังป่วย ผมอ เร่งเสริมเคลเซี่ยม อาหารเสริม และหญ้าแห้ง เพื่อที่จะรักษาให้ปลอดภัย
ในขณะเดียวกันมาปศุสัตว์ เร่งเก็บตัวอย่างควายที่ตายว่าสาเหตุการตายเกิดจากอดอาหารหรือจากโรคระบาดด้วย สำหรับควายน้ำในพื้นที่มีปริมาณกว่า 2,700 ตัว
นายบุญส่ง รัตนพร ปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า เบื้องต้นพบว่าการเสียชีวิตของควายน้ำ มาจากปัญหาน้ำท่วมแปลงหญ้าเป็นระยะเวลา 6-7 เดือน ส่งผลทำให้ควายอ่อนแอ ในขณะเดียวกันก็มีวัชพืชน้ำขยายตัวในพื้นที่แปลงหญ้าอย่างรวดเร็ว ทำให้หญ้าได้รับความเสียหาย ซึ่งในวันนี้กรมปศุสัตว์ ได้นำอาหารสัตว์พระราชทานมาช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 8,000 กก. ในขณะเดียวกันก็จะได้ประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ นำรถบรรทุกหญ้าไปนำหญ้าที่สถานีอาหารสัตว์ในพื้นที่ อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง มาเลี้ยงสัตว์กันต่อไป
ในขณะเดียวกันทางอธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้มอบหมายให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามาร่วมบูรณาการในการแก้ปัญหาดังกล่าวแล้ว อาทิ การตรวจโรคระบาดของสัตว์ ในส่วนของการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายในครั้งนี้นั้นทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลืออยู่แล้ว
ด้านนายทันยะ สุบันสง เกษตรกรผู้เลี้ยงควายน้ำ เปิดเผยว่า การเสียชีวิตของควาย มิได้เกิดจากโรคระบาดแต่เกิดจากการขาดแคลนอาหารสัตว์ เนื่องจากตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564-เมษายน 2565 พื้นที่บริเวณแห่งนี้มีฝนตกหนักและถูกน้ำท่วมขังมาแล้ว 3 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 3 หญ้าก็ตายทำให้ฝูงควายอดอาหารและล้มตายลงประมาณ 100 ตัว ค่าเสียหายประมาณตัวละประมาณ 10,000 บาท
“อยากให้รัฐที่เกี่ยวข้องมาให้การดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงควายน้ำด้วย ไม่ว่าจะให้การดูแลด้านอาหาร การดูแลสุขภาพสัตว์”
ด้านเกษตรกรรายหนึ่ง เปิดเผยว่า การที่วัชพืชน้ำโดยเฉพาะจอกแหนขึ้นปกคลุมแปลงหญ้าอย่างรวดเร็ว เป็นผลสำคัญที่หญ้าไม่ได้รับแสงสว่างจนตายไปในที่สุด
“ควายเพศผู้มีอาการซูบผอมเพราะการขาดหญ้า จึงนำมาไว้บริเวณใต้สะพานยกระดับ พอรุ่งขึ้นมาดูควายพบว่ามีขโมยตัดหัวควายไปแล้ว”
นายวิรัตน์ รอดนวล ประธานกรรมการ วิสาหกิจชุมชนคนเลี้ยงวัวลังกาสุกะพัทลุง และประธานกรรมการ บริษัท ลังกาสุกะฟาร์ม จำกัด ตลาดกลางประมูลซื้อขายโคและควาย อ.กงกรา จ.พัทลุง เปิดเผยว่า วิสาหกิจฯ ได้ซื้อความน้ำไปจำนวน 26 ตัว จากผู้เลี้ยงควายน้ำที่ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ไป 26 ตัว เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ราคาตั้งแต่ 25,000 – 26,000 บาท / ตัว ปรากฏว่า ขณะลำเลียงส่งควายน้ำไปยัง จ.เพชรบุรี ความได้เกิดตายลง จำนวน 4 ตัว ต้องขาดทุนไปประมาณกว่า 100,000 บาท
“ควายน้ำมีราคาโดยตัวขนาดที่ตลาดต้องการส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท / ตัว ขึ้นไป”.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'โจรลักข้าวสาร' หน้ามืดเป็นลมหลังถูกตำรวจตามจับถึงบ้าน
พ.ต.ท.ยศพณศ์ รุ่งสวัสดิ์ ผบ.ร้อย ตชด.434 พัทลุง ชุดช้างศึกสองเล กองร้อย ตชด.434 พัทลุง นำหมายจับของศาลจังหวัดพัทลุง ซึ่งออก
พัทลุงผวาน้ำมาอีกระลอก 'ท้องถิ่น' เร่งดูแลชาวบ้าน
เทศบาลเบตงอาคารทรุด รถยนต์เสียหาย 7 คันรวด ขณะที่ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่พัทลุง เร่งช่วยเหลือชาวบ้านแจากจ่ายข้าวสาร - อาหารอุปโภค ทุกครอบครัว
อึ้ง! ชาวโลกเผชิญความอดอยาก เกือบ 300 ล้านคน ขาดสารอาหาร 2 ใน 3 อยู่ในเอเชีย น่าห่วง 1 ใน 10 ของเด็กไทยผอมโซ เนื่องในวันอาหารโลก 2567
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 15 ต.ค. 2567 ที่โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จ.นนทบุรี นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในพิธีเปิดงานประชุมเวทีบูรณาการและนวัตกรรมสังคมด้านอาหาร ประจำปี
พัทลุงผุดศูนย์ฉุกเฉินป้องกันวาตภัย อุทกภัยและดินถล่ม จับตาพื้นที่ 'เทือกเขาบรรทัด'
ทหารพัฒนาภาค 4 ร่วม จ.พัทลุง รับมืออุทกภัยซ้ำซาก วาตภัย ดินถล่ม เริ่มปลายเดือนตุลาคม-มกราคม จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินเตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม พร้อมเฝ้าระวังพื้นที่ติดเทือกเขาบรรทัด
TED FUND กระทรวง อว.ลงพื้นที่ติดตามภารกิจผู้ประกอบการที่ขอรับทุน TED Youth Startup โชว์ผลงานบริหารจัดการน้ำผ่านโครงการ 'H.A.G System ระบบควบคุมประตูน้ำไฮดรอลิก' ที่โครงการชลประทานฝายพญาโฮ้ง ต.ชะรัด อ.กงกรา จ.พัทลุง เผยควบคุมระบบผ่าน Smart Phone พร้อมแจ้งเตือนสถานะแบบ Real time ผ่าน LINE เมื่อมีกรณีฉุกเฉิน
น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation-Based Enterprise Development Fund) หรือ TED FUND กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ลงพื้นที่โครงการชลประทานฝายพญาโฮ้ง ต.ชะรัด อ.กงกรา จ.พัทลุง