เกษตรกรชาวอำเภอรัษฎา จ.ตรังตัดสินใจโค่นยางพาราหันมาปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์บนเนื้อที่กว่า 20 ไร่ ผ่านไป 2 ปีได้หยิบเงินแสน สามารถปลดหนี้และขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มสร้างรายได้กว่า 10,000 บาทต่อวัน ยิ้มได้และเตรียมส่งเสริมเพื่อนบ้านปลูกขายสร้างรายได้เสริม
30 มี.ค.2565 - ที่สวนชินธรณ์ หมู่ที่ 10 ต.ควนเมา อ.รัษฎา จ.ตรัง นายปรีชา พรหมห้อง อายุ 42 ปีเจ้าของสวนกำลังเร่งตัดชมพู่ทับทิมจันทร์บนเนื้อที่กว่า 20 ไร่ หรือกว่า 300 ต้นที่กำลังให้ผลผลิตสุกแดงเต็มต้น เพื่อส่งขายพ่อค้าแม่ค้าที่มีการสั่งจองไว้ล่วงหน้าในราคากิโลกรัมละ 45 บาท ส่วนกิ่งพันธุ์จำหน่ายกิ่งละ 80 บาท ซึ่งปีนี้นับเป็นรุ่นที่ 2 ของการเก็บชมพู่ทับทิมจันทร์ไปขาย ได้วันละประมาณ 300 กิโลกรัม ทำให้มีรายได้กว่า 10,000 บาทต่อวัน โดยมีเกษตรกรมาศึกษาดูงานและเลือกซื้อชมพู่ทับทิมจันทร์กันถึงสวนจำนวนหลายราย
โดยสวนแห่งนี้แต่เดิมเป็นแปลงปลูกยางพาราทั้งหมด ต่อมาเมื่อราคายางพาราตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรมีหนี้สิน รายรับไม่พอกับรายจ่าย จึงตัดสินใจโค่นสวนยางพาราในปี 2560 เพื่อหันมาทดลองปลูกทับทิมจันทร์จำนวน 5 ไร่หรือกว่า 150 ต้น ผ่านไป 2 ปีเริ่มเก็บชมพู่ทับทิมจันทร์ขายได้ ปีละ 4-5 รุ่น เกษตรกรจึงตัดสินใจโค่นสวนยางพาราที่เหลือทั้งหมดอีกกว่า 20ไร่ เพื่อขยายพื้นที่ปลูกทับทิมจันทร์จนเต็มพื้นที่ และได้ผลผลิตกว่า 3,000 กิโลกรัมต่อปี สร้างรายได้เพิ่มเป็นทวีคูณหรือกว่า 500,000 บาทต่อปี จนสามารถปลดหนี้ได้ ครอบครัวอยู่สุขสบายและยังจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในและต่างจังหวัดทั่วประเทศ
ซึ่งที่สวนชมพู่ทับทิมจันทร์แห่งนี้ ได้รับเครื่องหมายมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร ปลอดภัยจากการใช้สารเคมี ผลดก ลูกใหญ่ประมาณ 5-6 ลูกต่อกิโล รสชาติหวาน กรอบ สีแดงสด ผิวเกลี้ยง ให้น้ำหนักดี และเป็นที่ต้องการของตลาด จนมีแทบไม่พอขายในจ.ตรัง นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าชมพู่เป็นผลไม้มงคลที่ใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น วันปีใหม่ ตรุษจีน เทศกาลกินเจ เช้งเม้ง ขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานบุญ หรือซื้อเป็นของฝากสำหรับญาติผู้ใหญ่ในเทศกาลต่าง ๆ อีกทั้งราคาไม่แพง จึงทำให้ชมพู่ทับทิมจันทร์ยังมีแนวโน้มการตลาดที่ไปได้สวย ส่วนใครสนใจสามารถติดต่อได้ทาง FB ชินธรณ์ ชูรัตน์หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 095-2744487
ด้านนายปรีชา พรหมห้อง เกษตรกรผู้ปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์รายใหญ่ในจ.ตรังกล่าวว่า แต่ละปีเก็บได้ 5 รุ่นแต่ละรุ่นสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาทดีกว่าปลูกยางพารา ซึ่งตอนนี้ปลูกอยู่ประมาณ 20 กว่าไร่จำนวน 300 กว่าต้นให้ผลผลิตวันละ 300 กิโลกรัม สร้างรายได้เฉลี่ยวันละ 10,000 บาท โดยเก็บไปแล้วประมาณ 3 ตันกว่า ตลาดลูกค้าตอบรับดี รสชาติหวาน กรอบ เป็นเอกลักษณ์ของสวน ปลอดสารพิษมี GAP ราคาหน้าสวนกิโลกรัมละ 45 บาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กษ. เปิดแผนแก้ปัญหาน้ำท่วม-แล้งซ้ำซาก ‘ร้อยเอ็ด’
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่านายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรแ
รัฐบาลขีดเส้น 30 วัน เร่งเยียวยาเกษตรกรใต้ 9.4 หมื่นราย
'อนุกูล' เผยรัฐบาลเร่งเยียวยาเกษตรกรชาวใต้หลังน้ำท่วม ตีกรอบสำรวจความเสียหาย 30 วัน รับเงินช่วยเหลือภายใน 10 วัน หลัง ธกส. อนุมัติ
'มิสเตอร์เกษตร' วอนรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ
‘มิสเตอร์เกษตร’ วอน รัฐบาลแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ เร่งคลอดมาตรการช่วยเหลือ แนะกรมการค้าภายใน ประสานรง.อาหารสัตว์รับซื้อมันเส้น
ดีเดย์ กระทรวงเกษตรฯ ส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับสิทธิเงินไร่ละ 1,000 บาท ให้ธนาคารแล้ววันนี้
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวย้ำคุณสมบัติของเกษตรผู้มีสิทธิได้รับเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 1,000
ชาวนาลุ้น ‘ครม.’ อนุมัติเงินช่วยไร่ละ 1,000 บาท พร้อมโอนเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดเชียงใ
'ชลประทานตรัง' การันตีปีนี้ตรังไม่จมบาดาล แก้ท่วมซ้ำซากสำเร็จ
นายวิโรจน์ มูสิกะเจริญ วิศวกรชลประทาน พร้อมด้วย นายสงกรานต์ หนูฤทธิ์ นายช่างชลประทาน สำนักงานชลประทานฝายคลองนางน้อย อ.นาโยง จ.ตรัง ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่ทางน้ำและมวลน้ำ