‘นิพนธ์’ นำชาวเชียงใหม่ร่วมทำแนวกันไฟ สั่งปภ. ส่งเฮลิคอปเตอร์เตรียมความพร้อมในพื้นที่

‘นิพนธ์’ นำชาวเชียงใหม่ ร่วมทำแนวกันไฟ สร้างจิตสำนึกปกป้องป่าจากไฟป่า สั่งปภ. ส่งเฮลิคอปเตอร์มาเตรียมความพร้อมในพื้นที่ กำชับทุกหน่วยงานบูรณาการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าอย่างใกล้ชิด

18 มี.ค.2565 -เมื่อเวลา 10.00 น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการจัดทำแนวกันไฟร่วมกับชุดปฏิบัติการอาสาสมัครป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน อำเภอหางดง พร้อมร่วมจัดทำแนวกันไฟ และตรวจติดตามการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยมี นายวรญาณ บุญณราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ นายอำเภอหางดง หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ให้การต้อนรับ และร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วย

โดยนายนิพนธ์ และคณะ ได้เดินทางไปยังพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อตรวจติดตามการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกันนี้ยังได้มอบสิ่งของอุปโภคบริโภค และชุดปฏิบัติการอาสาสมัครป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน อำเภอหางดง และร่วมทำกิจกรรมสานพลังลงแรงทำแนวกันไฟ สร้างจิตสำนึกในการปกป้องผืนป่าจากไฟป่า นำกลุ่มอาสาสมัครป้องกันการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่าอำเภอหางดง จำนวนกว่า 150 คน ร่วมเป็นจิตอาสาภัยพิบัติ พร้อมอุปกรณ์/เครื่องไม้เครื่องมือ ลงพื้นที่เดินเท้าเข้าป่าทำแนวกันไฟบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหอ โดยการรวมตัวทำกิจกรรมครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดทีมวิทยากร ทำการชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่จิตอาสาถึงวิธีการทำแนวกันไฟที่ถูกต้อง ซึ่งจะสามารถช่วยป้องกัน หรือชะลอไฟ ที่อาจจะลุกลามไปยังจุดอื่น ๆ ได้

สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นจังหวัดพื้นที่เสี่ยงที่ต้องประสบกับปัญหาไฟป่าและหมอกควันเป็นประจำทุกปี เฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าแล้ง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน แม้ว่าในปีนี้ ปัญหามลพิษทางอากาศ หมอกควันจากไฟป่า จะเบาบางกว่าหลายปีที่ผ่านมา แต่พื้นที่ดังกล่าวยังคงเป็นพื้นที่ที่ต้องมีการเฝ้าระหว่างอย่างสูงในการป้องกันไฟป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่า เขตป่าสงวแห่งชาติแม่ท่าช้าง-แม่ขนิน และอุทยานแห่งชาติออบขาน ซึ่งต้องบูรณาการการแก้ปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
 
เป้าหมายการดำเนินป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ไฟป่า หมอกควัน) จังหวัดเชียงใหม่ปี 2565 มีเป้าหมายลดจุดความร้อนและพื้นที่เผาไหม้ ลดลง 20% ประกอบด้วย 1) Hotspot เฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง จำนวน 15,531 จุด เป้าหมาย ไม่เกิน 12,424 จุด 2) พื้นที่เผาไหม้ เฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง จำนวน 1,046,902 ไร่ เป้าหมาย ไม่เกิน 837,521 ไร่ 3) ค่า PM2.5 เกินมาตรฐาน เฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง จำนวน 77 วัน เป้าหมาย ไม่เกิน 62 วัน 4) ค่า PM2.5 สูงสุด เฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง ค่า 256

ในส่วนของมาตรการที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินการ ดังนี้ 1) อำเภอทั้ง 25 อำเภอ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉีดพ่นละอองน้ำ เพิ่มความชุ่มชื้นให้อากาศ เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละออง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2565 และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ติดตั้งเครื่องพ่นละอองน้ำ ในพื้นที่ต่างๆ ในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ จำนวน 6 จุด 2) เพิ่มชุดปฏิบัติการลาดตระเวนในพื้นที่เสี่ยง และรอยต่อ ที่อาจก่อให้เกิดไฟป่า เพิ่มความถี่ในการออกลาดตระเวน โดยให้มีการสับเปลี่ยนกำลังพลหมุนเวียนกันออกลาดตระเวน ทั้งหน่วยงานหลัก และหน่วยงานในพื้นที่ จิตอาสา รวมถึงการเข้าดับไฟในพื้นที่ที่เกิดจุดความร้อนอย่างเร่งด่วน โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเป็นหลัก

3) การห้ามไม่ให้มีการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในเขตพื้นที่ป่าโดยเด็ดขาด ยกเว้นการบริหารจัดการเชื้อเพลิงเฉพาะเขตพื้นที่การเกษตรตามความจำเป็นในการดำรงชีพ โดยใช้วิธี การชิงเก็บ ลดการเผา แปรรูป ใบไม้ และเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จำหน่าย หรือทำเป็นเชื้อเพลิงและเชื้อเพลิงอัดแท่น 4) มีแผนปฏิบัติการฯ และกำหนดเป้าหมายในการลดจุดความร้อน (Hotspot) รายสัปดาห์โดยการคำนวณจากฐานลดลงร้อยละ 80 จากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี 5) สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่กวดขัน ตรวจจับรถควันดำ ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 (สัปดาห์ละ 4 วัน) และออกตรวจวัดควันดำในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ทุกวันอังคาร ผลกการดำเนินการตั้งแต่ตุลาคม 2564 – 7 มีนาคม 2565 ตรวจรถทั้งสิ้น จำนวน 76,748 คัน ไม่ผ่านเกณฑ์ 1,113 คัน  

ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันในหลายๆ พื้นที่ตามอำเภอต่างๆ ได้เริ่มประสบกับปัญหาอัคคีภัยและไฟป่าบ้างแล้ว แต่โดยส่วนใหญ่สถานการณ์ไม่รุนแรง เนื่องจากขณะนี้เจ้าหน้าที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบได้มีการเข้มงวดกวดขันอย่างต่อเนื่อง พร้อมเข้าทำการดับไฟทันทีที่มีเหตุรายงาน รวมถึงได้มีการเฝ้าระวังกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมต้องสงสัย ร่วมกับทำการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเข้าถึงประชาชนในทุกชุมชนพื้นที่ และให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ตลอดจนได้ใช้มาตรการเข้มข้นเอาจริงกับผู้กระทำผิด ทำให้สถานการณ์หมอกควันในภาพรวมทั้งจังหวัดยังอยู่ในระดับทรงตัว

นายนิพนธ์ กล่าวว่า ตนในฐานะตัวแทนของรัฐบาล และคณะรัฐมนตรี วันนี้ได้ลงมาตรวจเยี่ยมให้กำลังใจกำลังพลด่านหน้าที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง ซึ่งภารกิจในการดูแลไฟป่า การแก้ปัญหาหมอกควัน เป็นภารกิจที่ต้องดำเนินการเป็นประจำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ของทุกปี ทราบว่าจังหวัดเชียงใหม่ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับกระทรวง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงกลาโหม ที่ได้สนับสุนกำลังพลทหาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ลงไปจนถึงหน่วยงานระดับพื้นที่ ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยเอง มีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ซึ่งมีภารกิจป้องกันภัยร่วมกับทุกฝ่าย เพื่อ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุขสุข” ให้แก่พี่น้องประชาชน อย่างเต็มกำลังความสามารถเช่นกัน ในการออกภารกิจทุกครั้ง สิ่งสำคัญต้องระมัดระวัง ไม่ประมาทจนก่อให้เกิดการสูญเสียกำลังพล ก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ควรมีการเตรียมการวางแผน มอบหมายงานทุกครั้ง

นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลเองมีนโยบายแน่วแน่ในการแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด รวมถึงปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นผลกระทบตามมา ซึ่งสาเหตุอีกส่วนหนึ่งก็เกิดจากการเผาป่า เกิดจากความเชื่อของชฝประชาชนในพื้นที่ที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เรื่องการเผาป่า ตนได้เน้นย้ำนายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน ให้มีการเฝ้าระวัง ออกลาดตระเวน และเตรียมความพร้อมในการเข้าไปดับไฟ และที่สำคัญที่สุดจะต้องลงพื้นที่ไปพูดคุยทำความเข้าใจ สร้งการรับรู้ที่ถูกต้อง ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน ในการ งด หรือ เลิก การเผา เชื่อว่าจะทำให้การแก้ไขปัญหาประสบความสำเร็จ โดยตนมองว่าปัญหาดังกล่าว ต้องมีการดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง กระทรวงมหาดไทยในฐานะหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ ก็จะต้องบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการแก้ปัญหา สั่งการ ควบคุมและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันที่เกิดขึ้นให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะบูรณาการหน่วยงานแก้ไขปัญหาร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทั้งนี้ ตนในฐานะกำกับดูแล กรม ปภ. ได้สั่งการให้มีการเตรียมความพร้อมสรรพกำลังทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกำลังพลเจ้าหน้าที่ รวมไปจนถึงเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ โดยเฉพาะเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งจะเคลื่อนย้ายมาประจำการที่จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 22 มีนาคม นี้ หากพื้นที่มีความจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุน ก็ให้เร่งประสานไปยัง ปภ. กรณีเกิดไฟป่าเกิดขึ้น จะได้แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที

"เชื่อมั่นว่าปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองในปีนี้ สถานการณ์ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา จากความร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่าย จึงถือโอกาสนี้ในการขอบคุณทุกภาคีเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในท้องที่ ท้องถิ่น รวมถึงภาคเอกชนและประชาชนจิตอาสาทุกท่าน ที่ได้เสียสละทุ่มเทแรงกายแรงใจ ร่วมกันแก้ปัญหานี้" นายนิพนธ์ กล่าวทิ้งท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บิ๊กอ้วน' ยันทุกภาคส่วนเร่งระดมช่วยภาคใต้ คาดฝนตกต่อเนื่องอีก 2-3 วันก่อนไหลลงทะเล

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.)

'บิ๊กต่าย' สั่งตำรวจภาค 8-9 เร่งดูแลประชาชนในพื้นที่อุทกภัยด้ามขวานเต็มที่

'ผบ.ตร.' สั่งตำรวจ ภ.8-ภ.9 ดูแลช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อุทกภัยอย่างเต็มที่ นำแนวทางที่สั่งถอดบทเรียนในพื้นที่ประสบภัยที่ผ่านมา มาปรับใช้

'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่รับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน

'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่เตรียมรับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน ด้าน ปภ. ระดมกำลังเสริมเข้าพื้นที่ เชียงรายน้ำลดเร่งฟื้นฟู

เช็ก! สถานการณ์น้ำท่วม 18 จังหวัด ระดมกำลังให้ความช่วยเหลือประชาชน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) รายงานมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ ตาก เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย เลย หนองคาย อุดรธา

โฆษกฯ ศปช. เชิญชวนจิตอาสา ร่วมบิ๊กคลีนนิ่งแม่สาย 29 ก.ย.นี้

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า