สัญญาณแล้งมาแล้ว! 'แม่น้ำยม' ในพิจิตรแห้งขอดเหมือนทะเลทราย 'บึงสีไฟ' ยังสมบูรณ์

"แม่น้ำยม" ในเขตพื้นที่เมืองชาละวันตลอดระยะทาง 124 กม. แห้งขอดเหมือนทะเลทราย "บึงสีไฟ" พื้นที่กว่า 5,300 ไร่ยังอุดมสมบูรณ์ หลังจากที่ขุดลอกให้เป็นแก้มลิงในช่วงต้นฤดูฝนที่ผ่านมา ผู้ว่าฯพิจิตร-ชลประทานจังหวัดพิจิตร ดำเนินการเติมน้ำเข้าบึงสีไฟ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว

17 มี.ค.2565 - นายเอกฉัตร เอี่ยมตาล ผอ.โครงการชลประทานพิจิตร เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดยยอมรับว่าขณะนี้อากาศร้อนทำให้สถานการณ์ภัยแล้งส่อเค้าว่าจะหนักหน่วง ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเป็นประจำโดยเฉพาะกับแม่น้ำยมที่ไหลผ่านจังหวัดพิจิตรมีระยะทาง 124 กม. โดยผ่าน อ.วชิรบารมี อ.สามง่าม อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.บึงนาราง อ.โพทะเล ขณะนี้สภาพน้ำในแม่น้ำยมแห้งขอดจนเป็นแต่หาดทรายสามารถเดินข้ามแม่น้ำได้ สาเหตุเป็นเพราะแม่น้ำยมไม่มีเขื่อนในการกักเก็บน้ำซึ่งในอดีตพอถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี น้ำในแม่น้ำยมก็จะแห้งขอดอย่างที่เห็น แต่ล่าสุดในช่วง1-2 ปี ที่ผ่านมากรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำสามง่ามหรือที่เรียกว่าฝายไฮดรอลิกพับได้ จึงทำให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ยาวนานถึงเดือนมกราคม 65 ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้น้ำที่บริเวณเหนือประตูระบายน้ำสามง่ามก็แห้งขอดแล้วด้วยเช่นกัน สาเหตุเพราะชาวนาสูบน้ำไปทำนานั่นเอง

นายเอกฉัตร เอี่ยมตาล ผอ.โครงการชลประทานพิจิตร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในแม่น้ำยมขณะนี้กรมชลประทานกำลังเร่งสร้างประตูระบายน้ำเพื่อกักเก็บน้ำในแม่น้ำยมแบบขั้นบันไดถึง 5 แห่ง คือ ที่ ปตร.สามง่าม สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ยังคงเหลือ ปตร.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก , ในเขต จ.พิจิตร ก็กำลังก่อสร้าง ปตร. ท่าแห , ปตร.วังจิก , ปตร.โพธิ์ประทับช้าง ซึ่งการก่อสร้าง ปตร.ที่เหลืออีก 4 แห่งนี้ คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2568 ก็จะทำให้แม่น้ำยมมีน้ำเพื่อการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ต่อไปอย่างแน่นอน

แต่ในส่วนของบึงสีไฟ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำใหญ่มีพื้นที่กว่า 5,300 ไร่ ที่ก่อนหน้านั้นตื้นเขิน แต่กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการขุดลอกบึงสีไฟซึ่งใช้ระยะเวลายาวนานกว่า 3 ปี ในการขุดลอกและขนย้ายดินออกจากบึงสีไฟ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จจากนั้น นายไพบูลย์ ณะบุตรจอม ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร จึงได้ประสานงานกับสำนักงานชลประทานพิจิตรขอโควต้าน้ำและเติมน้ำเข้าบึงสีไฟตั้งแต่เมื่อช่วงต้นฤดูฝน คือราวเดือน ส.ค.- ก.ย. 64 โดยการเติมน้ำเข้าบึงสีไฟจำนวน 12 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อกักเก็บน้ำให้เป็นน้ำซึมน้ำซับสร้างความชุมชื้นให้กับพื้นที่การเกษตรที่อยู่โดยรอบบึงสีไฟ รวมถึงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและให้บึงสีไฟเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จที่ทำให้บึงสีไฟได้ทำหน้าที่เป็นแก้มลิงกักเก็บน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลดังกล่าวอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือน 7 จว.ลุ่มเจ้าพระยา เฝ้าระวังเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มระบายน้ำ ท้ายเขื่อนสูงอีก 1.20 เมตร

แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 2/2567  ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 7 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ จังหวัด อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และลพบุรี

เปิดใจ 'น้องยี่หวา' แม่ค้าขายไก่ทอด ดีใจหน้าคล้าย 'ลิซ่า'

จากกรณี เพจ "ThaiMarketing" ได้โพสภาพสาวน้อยแม่ค้าขายไก่ทอดคนหนึ่ง ที่มีหน้าตาคล้ายซุปเปอร์สตาร์ "ลิซ่า" หรือนางสาวลลิษา มโนบาล ศิลปินดัง เจ้าของเพลงร็อกสตาร์ (Rockstar)

ชมวิถีชีวิตลูกแม่น้ำยมบนเรือนแพ หลังสุดท้ายในเขตตัวเมืองสุโขทัย

เป็นเวลานานนับสิบปีแล้วที่นายพายัพ สุขสันต์ อายุ 73 ปี และนางวรรณี สุขสันต์ อายุ 70 ปี สองตายายชาวประมง ได้ใช้ชีวิตอาศัยหลับนอนอยู่ในเรือนแพแม่น้ำยมเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ซึ่งนับเป็นหลังสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ชาวประมงคนอื่นๆได้กลับขึ้นไปอยู่บนฝั่งกันจนหมดตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง

อากาศร้อน ภัยแล้ง พริกขี้หนูสวนออกผลผลิตน้อย ราคาพุ่งกก.ละ 400-500 บาท

ที่ตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ผลพวงจากภาวะภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพริกขี้หนูสวน มีราคาปรับตัวสูงขึ้น

ชาวบ้านโวยชลประทานตราด ประตูน้ำชำรุด น้ำทะเลหนุน สวนทุเรียนยืนต้นตายอื้อ

นายธำรงศักดิ์ นคราวงษ์ โครงการชลประทานตราด,นายอภิเดช บุญล้อม นายกตำบลตะกาง นายวินัย ขยันยิ่ง เกษตรจังหวัดตราด,นายเตธรรศ รัตนชัย ปลัดป้องกันอำเภอเมืองตราด เดินทางมารับฟังปัญหาของชาวตำบลตะกาง และตำบลชำราก ที่ประกอบการเกษตรกว่า 100 คน

หนุ่มวัย 45 เปิดสวนทุเรียนอินทรีย์ 150 ต้น ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง ได้ผลผลิต 7-8 ตัน

หนุ่มวัย 45 ปีชาวตำบลทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง พาสวนทุเรียนอินทรีย์จำนวน 150 ต้นฝ่าวิกฤติภัยแล้งมาได้ จนได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 7-8 ตัน ขณะที่สวนทุเรียนรายอื่นพากันยืนต้นตาย เผยเคล็ดลับน้ำต้องไม่ขาด