
สตม.ชี้แจง ‘สส.โรม’ ระบุไม่เก็บ Biometrics นักท่องเที่ยว 17 ล้านคนปี 67 ยันจัดเก็บข้อมูลเดินทางเข้า-ออกประเทศ มีระบบติดตามตรวจสอบ สามารถจับกุมบุคคลกระทำความผิด มีหมายจับ อยู่เกินกำหนดได้จำนวนมาก
22 ก.พ.2568-พ.ต.อ.คธาธร คำเที่ยง รอง ผบก.ตม.3 ในฐานะโฆษกสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ชี้แจงกรณีนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมการธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กระบุสตม.ไม่ได้จัดเก็บข้อมูล Biometrics ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวน 17 ล้านคน เมื่อปี 2567 ที่ผ่านมาซึ่งอาจเป็นโอกาสให้ทุนสีเทาแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรมในประเทศได้ว่า ปัจจุบัน สตม. คัดกรองและควบคุมคนต่างด้าว ที่เดินทางเข้าประเทศด้วยระบบสารสนเทศ หลายระบบ ได้แก่ ระบบ Biometrics ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลของทุกคนที่เดินทาง เข้า- ออก ประเทศได้ โดยก่อนอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศ จะมีการตรวจสอบว่าคนต่างด้าวเป็นบุคคลต้องห้าม บุคคลที่มีหมายจับ หรือเป็นบุคคลไม่พึงประสงค์
จากฐานข้อมูลที่ สตม.ได้รับแจ้งและจัดเก็บไว้จากหน่วยงานความมั่นคงต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศหรือไม่ หากคนต่างด้าวไม่มีลักษณะต้องห้าม จะอนุญาตให้เข้ามาในประเทศ ซึ่งข้อมูลการ เข้า-ออก ประเทศของคนต่างด้าวนี้ สามารถตรวจสอบได้ว่าเดินทางเข้ามาในประเทศเมื่อใด ช่องทางใด ด้วยวัตถุประสงค์หรือวีซ่าประเภทใด และเดินทางออกเมื่อใด ช่องทางใด
ต่อมาเมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศแล้ว สตม. ใช้ ระบบสารสนเทศอีกระบบหนึ่ง คือ ระบบ PIBICS ในการควบคุมคนต่างด้าว โดยเมื่อเข้าพักอาศัย ณ ที่ใด ภายใน 24 ชม. สตม.จะมีข้อมูลการรับแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวนั้น และหากคนต่างด้าวต้องการจะอยู่ในประเทศเป็นระยะเวลานาน โดยอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถต่อวีซ่าได้ คนต่างด้าวสามารถยื่นขอต่อวีซ่า ข้อมูลการอนุญาตต่อวีซ่าจะถูกบันทึกรายละเอียดไว้ในระบบนี้ทั้งหมด เช่น วัตถุประสงค์ในการอยู่ ระยะเวลาในการที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ สถานที่พัก สถานที่ที่ทำงาน ใบอนุญาตทำงาน รายได้ บัญชีเงินฝาก การเสียภาษี ฯลฯ ตลอดจนหากคนต่างด้าวมีครอบครัวเป็นคนไทย จะเก็บหลักฐานทางทะเบียนต่างๆ เช่น ทะเบียนสมรส ทะเบียนการจดรับรองบุตร เป็นต้น
นอกจากนี้ระบบยังมีการบันทึกข้อมูลที่พักของคนต่างด้าวเมื่ออยู่ในประเทศทุกๆ 90 วัน หากคนต่างด้าวอยู่ในประเทศไทยแล้วต่อมาการอนุญาตสิ้นสุด( Overstay ) และไม่ได้มายื่นต่อวีซ่า สตม.สามารถตรวจสอบข้อมูลจากระบบสารสนเทศได้ว่าคนต่างด้าวผู้นั้นอยู่ในประเทศโดยผิดกฎหมาย ซึ่งจะเห็นได้จากผลการสืบสวนจับกุมของ สตม. มีผลการจับกุมคนต่างด้าวที่กระทำผิด บุคคลที่ต้องการตัว บุคคลตามหมายจับ หรือบุคคลที่อยู่เกินกำหนดอนุญาต ( Overstay) จำนวนมากอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยอาศัยข้อมูลจากระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้
โฆษก สตม. กล่าวว่า ในกรณีที่ต่อมาภายหลังหากคนต่างด้าวมีการกระทำผิดกฎหมาย หรือ ได้รับแจ้งจากหน่วยงานต่างๆ ว่าคนต่างด้าวนั้นมีลักษณะต้องห้าม จะมีการบันทึกรายชื่อคนต่างด้าวนั้นๆ ลงในบัญชีบุคคลต้องห้าม ( Blacklist ) ซึ่งการบันทึกข้อมูลต้องห้ามนี้จะถูกบันทึกลงในระบบฯ และมีการเก็บอัตลักษณ์ของคนต่างด้าวไว้เพื่อเปรียบเทียบ แม้ในกรณีที่คนต่างด้าวมีการเปลี่ยนแปลงเอกสารการเดินทาง ( Passport ) ในครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในประเทศก็สามารถตรวจสอบยืนยันได้ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน ทำให้สามารถปฏิเสธการเข้าเมืองได้ ซึ่งการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมในระบบลักษณะนี้ สามารถจัดเก็บได้อย่างไม่จำกัดจำนวน ดังนั้นจึงไม่เป็นอุปสรรคต่อข้อมูลที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตแต่อย่างใด
ดังนั้น จากข้อมูลและข้อเท็จจริงทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศ ของ สตม. ยังสามารถควบคุม ติดตามและตรวจสอบ คนต่างด้าว ที่เดินทางเข้ามาและอยู่ในประเทศได้ ส่วนกรณีข้อมูลของคนต่างด้าวที่ถูกบันทึกลงในระบบฯ ที่ยังไม่มี License นั้น มีการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์คนต่างด้าวตามปกติ เพียงแต่ในส่วนของการประมวลผลบางรายการ อาจลดประสิทธิภาพลงบ้าง แต่ไม่กระทบต่อการควบคุมคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาและอยู่ในประเทศไทยในภาพรวมของ สตม. ทั้งระบบ ซึ่งขณะนี้ สตม. ได้จัดทำโครงการระบบบริหารจัดการตรวจคนเข้าเมืองแห่งชาติ Thailand Immigration System (TIS) ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง และหลายประเทศได้มีการใช้งานระบบที่มีลักษณะเดียวกันนี้อยู่แล้วมาทดแทน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คุมตัว 'เอ็ม' พร้อมพวกฝากขัง โยงฟอกเงินเว็บพนันอดีตดาราสาว
พล.ต.อ.ประจวบ วงศ์สุข รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผอ.ศปปง.ตร.)
โฆษก ตร. แจง พ.ร.ฎ.เงินประจำตำแหน่งตำรวจ 2568 ไม่ใช่การปรับเพิ่มเงินผู้บริหารระดับสูง
พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชี้แจงว่า การออกพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ที่มีผลใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่ใช้มาก่อนหน้านี้
ตีหน้าเศร้าเล่าเรื่องพ่อ 'แพทองธาร' ยืนยันไม่เกี่ยวข้องปมชั้น 14
"แพทองธาร" ยันไม่เกี่ยวข้องปม "ชั้น 14" เพราะตั้งแต่พ่อกลับไทยจนถึงวันออกจากรพ.ไม่ได้เป็นนายกฯ ก่อนจะเล่าเรื่องพ่อ ไม่ได้รับความยุติธรรม-เคยถูกลอบสังหาร พร้อมระบุถ้าก้าวไกลตั้งรัฐบาลได้ "ทักษิณ" ก็กลับมาอยู่ดี
ให้ออกจากราชการ 'ด.ต.' เมาอาละวาด ทำร้าย รองสวป. เลือดคั่งในสมอง
พ.ต.อ.คมสรร คำตุ่นแก้ว ผกด.สภ.สัตหีบ พร้อมด้วย พ.ต.ท.เกรียงไกร มีแสง รอง ผกก.สส. พ.ต.ท.อภิชาติ นามจันโท สว.สส. พ.ต.ท.สินสมุทร บุญทัศนา สารวัตรสอบสวน นำกำลังตำรวจชุดสืบสวน และสายตรวจ รวมกว่า 10 นาย ลงพื้นที่ระงับเหตุ
ตามคาด 'ทวีไอพี' ป้อง 'อิ๊งค์' โต้ 'รังสิมันต์' จินตนาการดีลแลกประเทศ-ปีศาจ
รมว.ยุติธรรมโต้ รังสิมันต์ ปม “ดีลแลกประเทศ-ปีศาจ” ชี้เป็นวาทกรรม ย้ำ “ทักษิณ” เข้าเรือนจำก่อน “แพทองธาร” เป็นนายกฯ ยันการรักษาพยาบาลเป็นสิทธิ์ตามกฎหมาย ไม่ใช่อภิสิทธิ์
'โรม' เปิดโปงขบวนการ 'ชั้น 14' แฉ 'แพทองธาร' พยานประจักษ์สู่ตัวการสำคัญ!
“รังสิมันต์ โรม” อภิปรายแฉปม “ป่วยทิพย์” ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ชี้ “แพทองธาร” เป็นพยานเอกและตัวการสำคัญในดีลช่วย “ทักษิณ” ไม่ต้องติดคุกแม้แต่วันเดียว อัดเป็น “นายกฯ จอมหลอกลวง” ขาดความซื่อสัตย์ เข้าข่ายผิดกฎหมายอาญาฐานอั้งยี่ ซ่องโจร ฝาก ป.ป.ช. สอบสวนเพื่อเอาผิด