'ดีเอสไอ' ส่งสำนวนคดีกำนันนก 'ฮั้วประมูล' เสนออัยการสั่งฟ้อง 41 ราย

9 ม.ค.2568 - จากกรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)​ โดย กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวน กรณีบริษัท ป.พัฒนารุ่งโรจน์ก่อสร้าง จำกัด และ บริษัท ป.รวีกนก ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งมี นายประวีณ จันทร์คล้าย หรือ กำนันนก ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลในจังหวัดนครปฐมเป็นผู้ชนะ การประมูลเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 - 2566 กว่า 1,500 โครงการ ความเสียหายหลายพันล้านบาท โดยเชื่อว่ามีการตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือโดยการกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐ หรือโดยการเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐอันมิใช่เป็นไป ในทางการประกอบธุรกิจปกติอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542

และอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีคำสั่งให้กรณีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1)(ง (คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สําคัญเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน) โดยคดีดังกล่าวมีพนักงานอัยการ สำนักการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุดเข้าร่วมทำการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษตั้งแต่เริ่มการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วสามารถดำเนินคดีกับขบวนการที่จัดฮั๊วประมูลในโครงการประมูลด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ที่ทำให้รัฐเกิดความเสียหายจำนวนมาก

ล่าสุดวันนี้ พ.ต.ต. ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มอบหมายให้ ร.ต.อ. วิษณุ ฉิมตระกูล รองอธิบดีดีเอสไอ หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ร.ต.อ. สุรวุฒิ รังไสย์ ผู้อำนวยการกองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ นายศุภภางกูร พิชิตกุล รองผู้อำนวยการฯ นายวิโรจน์ ทูคำมี รองผู้อำนวยการฯ นายโยธิน ธรรมสุรีย์ ผู้อำนวยการส่วนคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 1 นางภัทรพร วิจิตรทัศนา ผู้อำนวยการส่วนคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 2 และนายนรา จันทร์พ่วง ผู้อำนวยการส่วนอำนวยการคดี นำสำนวนการสอบสวนคดีพิเศษกรณีดังกล่าว จำนวน 48 แฟ้ม รวม 18,433 แผ่น

พร้อมความเห็นให้ฟ้องผู้ต้องหา 41 ราย ส่งพนักงานอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต โดยอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหา “ตกลงร่วมกันในการเสนอราคา เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐโดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือโดยการกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้า หรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐ หรือโดยการเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐอันมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ

ร่วมกันเป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลงกันในการเสนอราคา ร่วมกันให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้เงิน หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ในการเสนอราคา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจูงใจให้ผู้นั้น ร่วมดำเนินการใด ๆ อันเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ หรือเพื่อจูงใจ ให้ผู้นั้นไม่เข้าร่วมในการเสนอราคาหรือถอนการเสนอราคา เรียก รับหรือยอมจะรับเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด” ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 และมาตรา 5

ประกอบกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ซึ่งในวันนี้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ส่งสำนวนการสอบสวนดังกล่าวพร้อมกับตัวผู้ต้องหา จำนวน 40 ราย ให้พนักงานอัยการร ยกเว้นกำนันนกที่อยู่ระหว่างถูกคุมขังที่เรือนจําพิเศษกรุงเทพมหานคร ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 3694/2566 ของศาลอาญา และคดีอาญาหมายเลขดำที่ อท 206/2566 ของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง

ทั้งนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ มีการบังคับใช้กฎหมายทางอาญา (Regulation Enforcement) เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญและประชาชนให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง เป็นไปตามดัชนีหลักนิติธรรม (Rule of Law Index) โดยมีการบูรณาการร่วมกันกับหลายหน่วยงาน ทั้ง กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมบัญชีกลาง กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน อาทิ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) เครือข่ายต่อต้านการฮั้วประมูลในพื้นที่ โดยการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน (Strong Collaboration) เป็นนโยบายหลักประการสำคัญของ พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงยุติธรรม เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนคดีในความรับผิดชอบ เพื่อให้การบริหารองค์มีความยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทวี' สั่ง 'DSI' ตรวจสอบข้อเท็จจริง รื้อคดี 'แตงโม' ก่อนยื่นอัยการสูงสุดหรือไม่

ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงกรณีนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ขอให้กระทรวงยุติธรรม ทำหนังสือถึงอัยการ

'ดีเอสไอ' ประชุมใหญ่ สรุปสำนวนดิไอคอน ก่อนส่งอัยการ 23 ธ.ค.นี้

จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ภายใต้การอำนวยการของ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มอบหมายให้กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ และคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ

พยานฝั่งดิไอคอน ร้อง 'กมธ.ความมั่นคง' หวั่นไม่ได้รับความเป็นธรรม

ผู้เสียหายและพยานที่ได้รับความเดือดร้อน จากการอายัดทรัพย์โดยไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับความผิดที่ถูกกล่าวหา กรณี บริษัท ดิ ไอคอนกรุ๊ป เข้ายื่นหนังสือถึง นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ

'เคนโด้-อี้' จี้ดีเอสไอ สอบบริษัทเครือข่ายขายซิม-รถยนต์ของ 'สามารถ' หลังยึดได้ 15 คัน

ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)​ นายเกรียงไกรมาศ พจนสุนทร หรือ เคนโด้ และ นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ประธานชมรมสันติประชาธรรม

เปิดพฤติการณ์ 'สามารถ' ฟอกเงินดิไอคอน ตำรวจค้านประกันร่ายเหตุผลยาว

ศาลอาญารับฝากขัง สามารถ-เเม่ ฟอกเงินคดีดิไอคอน ด้านจนท.ค้านประกันร่ายยาว เป็นบุคคลที่เคยมีตำแหน่งทางการเมือง ใกล้ชิดกับคนมีอำนาจ และมีศักยภาพการเงินสูง เกรงว่าจะหลบหนีไปยุ่งกับพยานหลักฐาน พบเงินหมุนเวียนตั้งเเต่ปี 61 ร้อยกว่าล้าน