มูลนิธิผสานวัฒนธรรมจี้ รร.นายร้อยตำรวจเร่งคดีล่วงละเมิดทางเพศ!

27 พ.ย.2567 – มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการณ์เรื่องขอให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และผู้บังคับบัญชา เร่งดำเนินการตามพรบ.ทรมานฯ ไร้วี่แววดำเนินคดี กรณีอาจารย์ล่วงละเมิดทางเพศนักเรียนนายร้อยตำรวจ

จากที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อออนไลน์เพจเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 รายงานเหตุการณ์นักเรียนนายร้อยตำรวจถูกล่วงละเมิดทางเพศ หลังเกิดเหตุมาแล้วกว่า 7 วัน ยังไม่มีการดำเนินการตามพรบ.ทรมาน-อุ้มหายฯ เนื้อหาข่าวมีใจความว่า เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลาประมาณ 21.00 น. ผู้เสียหายเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ ขณะนั้นทำหน้าที่เข้ายามกองแพทย์ ก่อนที่จะมีรุ่นพี่นักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 66 (นรต.66) และเพื่อนซึ่งไม่ทราบว่าเป็นใคร จำนวน 2 คน ขับรถเข้ามาที่กองแพทย์และมาคุยเล่นกับผู้เสียหาย ต่อมาเวลา 22.10 น. รุ่นพี่นรต. 66 ดังกล่าวได้นำอาหารมาให้ และสั่งให้ผู้เสียหายไปหาที่สนามรักบี้หลังเข้ายามเสร็จ ในเวลา 22.30 น. และหากไปไม่ทันเวลาจะปล่อยช้า 1 นาที ต่อ 1 ชั่วโมง เมื่อผู้เสียหายไปถึงสนามรักบี้ ได้ถูกรุ่นพี่ นรต.66 เอาเหล้ากรอกปาก และสั่งให้ถอดเสื้อยามจนเหลือเพียงเสื้อรองใน ต่อมาผู้เสียหายดื่มจนเมา และถูกสั่งให้ถอดกางเกงในและให้ทำท่าดันพื้น 10 ครั้ง ก่อนที่รุ่นพี่ นรต.66 จะชวนให้ไปห้องรักบี้และผู้เสียหายถูกบังคับให้ช่วยตัวเองภายในห้องดังกล่าวแล้วได้ถูกรุ่นพี่ นรต.66 และเพื่อน ล่วงละเมิดทางเพศต่อเนื่อง ก่อนจะถูกปล่อยตัวในเวลาต่อมา

ต่อมา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ทีมงานโฆษกโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เผยแพร่ใบแจ้งข่าวแจ้งผลการดำเนินการ กรณีนักเรียกนนายร้อยตำรวจถูกกระทำการอันไม่สมควร ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 โดยเนื้อหามีใจความว่า กองบังคับการปกครองได้มีการรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดและเรียกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ปากคำทันที คณะนิติศาสตร์ ต้นสังกัดของข้าราชการตำรวจผู้ถูกกล่าวหา ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และอยู่ระหว่างดำเนินการ คณะนิติศาตร์ได้ให้ผู้ถูกกล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่การสอน และเสนอให้พิจารณาถอดถอนรายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากการเป็นอาจารย์ผู้สอนในทุกวิชา และโรงเรียนนายร้อยตำรวจได้ประสานส่งข้อมูลให้กองบัญชาการตำรวจนครบาลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาตันสังกัดของผู้ถูกกล่าวหาอีกหนึ่งราย เพื่อดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีที่นักเรียนนายร้อยตำรวจถูกล่วงละเมิดทางเพศ ในขณะปฏิบัติหน้าที่เข้ายามกองแพทย์ตามหน้าที่ ภายในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งเป็นสถานที่ราชการ โดยผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ล่วงละเมิดทางเพศผู้เสียหายมีตำแหน่งหน้าที่เป็นอาจารย์ในโรงเรียนดังกล่าว และจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏผู้ถูกกล่าวหาได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่และอำนาจรัฐที่ตนมี ข่มขู่และบังคับให้ผู้เสียหายซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามไม่ว่าจะเป็นการไปรายงานตัวและถูกควบคุมตัวไว้ ถูกสั่งให้ดื่มเหล้า ถอดเสื้อผ้า ถอดกางเกงใน ทำท่าดันพื้น ถูกบังคับให้ช่วยตัวเอง และถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยผู้ถูกกล่าวหาทั้งสอง

การที่ตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานความมั่นคง ถูกบังคับให้แก้ผ้าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยทั่วไปแล้ว เหตุการณ์เหล่านี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การลงโทษหรือแสดงอำนาจ - ในบางกรณี อาจใช้การแก้ผ้าเป็นวิธีการข่มขู่หรือแสดงอำนาจ เหตุผลนี้อาจเกี่ยวข้องกับการใช้กำลังหรือการกดขี่อย่างไม่เหมาะสม การฝึกหรือการทดสอบ - ในกรณีบางอย่าง อาจอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกฝน แต่ก็ถือว่าละเมิดความเป็นส่วนตัวและสิทธิมนุษยชน การทำให้เสียเกียรติหรือเสียศักดิ์ศรี - การบังคับให้แก้ผ้าอาจเป็นการทำลายศักดิ์ศรีของบุคคล โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่มีผู้อื่นอยู่ นอกจากมีลักษณะเป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อันเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำถูกลดทอนคุณค่าหรือละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์แล้ว อาจเป็นส่วนหนึ่งของการกลั่นแกล้งหรือการสร้างบรรยากาศที่ข่มขู่ และส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ และถึงขั้นเป็นการกระทำทรมานอีกด้วย

การล่วงละเมิดทางเพศในการฝึกนักเรียนนายร้อยตำรวจรวมถึงการฝึกทหารเป็นประเด็นที่มีความสำคัญและน่ากังวล เนื่องจากการฝึกเป็นกระบวนการที่มีความเข้มงวดและมีลักษณะเชิงอำนาจ ผู้ที่มีตำแหน่งหรือบทบาทที่สูงกว่าอาจใช้ตำแหน่งดังกล่าวเพื่อกระทำการล่วงละเมิดหรือใช้ความรุนแรงทางเพศต่อผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแล ซึ่งส่งผลให้เกิดบรรยากาศที่ไม่ปลอดภัยและบั่นทอนสภาพจิตใจของผู้ถูกฝึก ในหลายประเทศ การล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานความมั่นคงถูกยกขึ้นมาเป็นปัญหาทางกฎหมายและสังคมที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีผลกระทบทางลบอย่างมาก ทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงอาจส่งผลให้มีอัตราการลาออกสูง ความสามารถในการทำหน้าที่ลดลง และเกิดความไม่ไว้วางใจในระบบ

การกระทำต่อนักเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นกรณีที่เกิดขึ้นหลัง พ.ร.บ.ทรมาน-อุ้มหายฯ มีผลบังคับใช้แล้ว การสืบสวนสอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงจึงสำคัญที่จะนำไปสู่การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ทำงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน เห็นว่า การล่วงละเมิดทางเพศในลักษณะที่รายงานดังกล่าวน่าจะเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 5 และ มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2567 อีกทั้งขัดหลักรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 28 วรรคท้าย “การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้” และขอเรียกร้องให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงเรียนนายร้อยตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1.ตรวจสอบค้นหาความจริงเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน โดยละเอียด รอบด้านและเที่ยงธรรม โดยหากพบว่าอาจารย์และนักเรียน นตร.66 กลุ่มดังกล่าวและบุคคลอื่นใด มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด นอกจากจะต้องถูกดำเนินการทางวินัยแล้ว จะต้องถูกดำเนินคดีความผิดอาญา รวมทั้งความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ด้วย

2.ขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดที่กำกับดูแลศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายในสำนักงานอัยการจังหวัดนครปฐมเข้ามาทำหน้าที่พนักงานสอบสวนในเรื่องการดำเนินคดีตามพรบ.ทรมาน-อุ้มหายฯ โดยเร่งด่วนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหารวมทั้งกับผู้บังคับบัญชา

3.ตรวจสอบและแก้ไขกฎ ระเบียบ และประเพณีปฏิบัติที่ยังมีจุดอ่อนข้อบกพร่อง หรือยกเลิกกฎ ระเบียบ หรือประเพณีปฏิบัติ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งควรกำหนมาตรการในการป้องกัน แก้ไข มิให้เกิดเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นอีก เช่น จัดตั้งกลไกในการตรวจตรา การรายงานเหตุการณ์ การรับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน ตลอดจนการดูแลผู้เสียหายอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดมาตรการป้องและตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และห้ามการฝึกหรือการลงโทษที่รุนแรงเกินเหตุ ซึ่งรวมถึงการบังคับถอดเสื้อผ้า หรือการกระทำหรือคำสั่งให้กระทำใดใดที่มีลักษณะเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น

4.ดำเนินการชดใช้เยียวยานักเรียนนายร้อยตำรวจที่เป็นผู้เสียหายอย่างครอบคลุมทุกมิติ อันรวมถึง การประเมินผลกระทบทางด้านจิตใจ ฟื้นฟูสภาพร่างกายและสภาพจิตใจ ชดเชยเยียวยาด้านการเงิน และการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย

อนึ่ง ตามมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายพ.ศ. 2565 ผู้บังคับบัญชาผู้ใดทราบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาของตนจะกระทำความผิดหรือได้กระทำความผิดฐานกระทำทรมาน กระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่ไม่ดำเนินการที่จำเป็นและเหมาะสม เพื่อป้องกันหรือระงับการกระทำความผิด หรือไม่ดำเนินการหรือส่งเรื่องให้ดำเนินการสอบสวนและดำเนินคดีตามกฎหมาย มีความผิดต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นด้วย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง สั่ง 3 เรื่องเร่งด่วน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นเจ้าภาพ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 1/2568 ข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จเรตำรวจแห่งชาติ

กสม. หารือจุฬาราชมนตรี หลังแจ้งนายกฯ กังวลข่าวส่งตัวชาวอุยกูร์กลับประเทศต้นทาง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ เศรษฐมาลินี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 ได้เข้าพบหารือกับนายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ณ สำนักจุฬาราชมนตรี

'รมว.ยธ.' แนะ 'รพ.ตำรวจ' โชว์โปร่งใส ส่งเวชระเบียน 'ทักษิณ' ให้ ป.ป.ช.

'รมว.ยธ.' แนะ รพ.ตำรวจ ส่งเวชระเบียนรักษา 'ทักษิณ' ให้ ป.ป.ช. สร้างความโปร่งใสมีธรรมาภิบาล อ้างกรมราชทัณฑ์ให้ความร่วมมือตลอด

กสม. ประณาม 'ทักษิณ' ปราศรัยเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน ย้ำไทยอยู่ภายใต้ CERD

กสม.ซัด 'ทักษิณ' จ้อเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน อบรมคนมีอิทธิพลทางสังคมไม่ควรทำ หวั่นโดนขยายความรุนแรง ซ้ำรอยความสูญเสียในอดีต