ละเอียดยิบ! ครม.รับทราบผลงานปราบอาชญากรรมออนไลน์ในช่วง 30 วัน

ครม. รับทราบผลปราบอาชญากรรมออนไลน์ 30 วัน ตามข้อสั่งการนายกฯ โดย ระงับบัญชีม้าแล้วกว่าล้านบัญชี ปิดกั้นเว็บผิดกฎหมายกว่าแสนราย พร้อมบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มุ่งแก้ปัญหาภัยออนไลน์

19 พ.ย.2567 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาว ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบ ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2567 โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้รายงานผลการดำเนินการและจัดประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (คณะกรรมการฯ) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน กสทช. สมาคมธนาคารไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อบูรณาการการทำงานและขับเคลื่อนการแก้ปัญหาภัยออนไลน์ของรัฐบาล

โดยผลการดำเนินงานที่สำคัญในระยะ 30 วัน มีดังนี้

1.1 การแก้กฎหมายเร่งด่วนเพื่อช่วยผู้เสียหายและป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เร่งดำเนินการยกร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ฉบับที่ 2 ในการแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์และเพิ่มความรับผิดชอบผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และสถาบันการเงินโดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1) การเร่งคืนเงินผู้เสียหาย
2) การเพิ่มสิทธิผู้เสียหายและเพิ่มความรับผิดชอบผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์
ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และสถาบันการเงิน
3) การเพิ่มโทษการซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล และบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย
4) การป้องกันการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างผิดกฎหมาย
5) การระงับการใช้ซิมต้องสงสัย

ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการปรับเป็นพินัยกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือ ISP ที่ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย โดยได้แจ้งข้อกล่าวหา ผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือ ISP จำนวน 4 ราย และได้มีคำสั่งปรับพินัยผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือ ISP จำนวน 4 ราย รวมมูลค่าทั้งสิ้น 677,500 บาท

1.2 การปราบปรามจับกุมอาชญากรรมออนไลน์

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการปราบปรามจับกุมอาชญากรรมออนไลน์และมีคดีที่สำคัญ รวมทั้งเร่งรัดจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้อง ในช่วงระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2567 เทียบกับการดำเนินงานช่วงที่ผ่านมา ดังนี้

1) การจับกุมคดีอาชญากรรมออนไลน์รวมทุกประเภท ในเดือนสิงหาคม 2567 มีการจับกุม จำนวน 1,945 ราย ซึ่งลดลงร้อยละ 22.04 เมื่อเทียบกับการจับกุมก่อนดำเนินการตามมาตรการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ซึ่งมีการจับกุมเฉลี่ยจำนวน 2,495 คน ต่อเดือน

2) การจับกุมคดีเว็บพนันออนไลน์ ในเดือนสิงหาคม 2567 มีการจับกุม จำนวน 732 ราย ซึ่งลดลงร้อยละ 31.20 เมื่อเทียบกับการจับกุมก่อนดำเนินการตามมาตรการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ที่มีการจับกุมเฉลี่ยจำนวน 1,064 คนต่อเดือน

3) การจับกุมคดีบัญชีม้า ชิมม้า ในเดือนสิงหาคม 2567 มีการจับกุม จำนวน 122 ราย ซึ่งลดลงร้อยละ 49.17 เมื่อเทียบกับการจับกุมก่อนดำเนินการตามมาตรการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งมีการจับกุมเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 จำนวน 240 คนต่อเดือน

4) การจับกุมครั้งสำคัญของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในห้วงเดือนสิงหาคม 2567 อาทิ (1) การจับกุมเว็บพนันออนไลน์ หวยแบงก็.com มีเงินหมุนเวียนมูลค่าประมาณ 11 ล้านต่อเดือน ยึดทรัพย์สินมูลค่า 16 ล้านบาท จับกุมผู้กระทำผิดจำนวน 2 ราย (2) ปฏิบัติการบุกตรวจค้น "4 บริษัทเทรดหุ้นต่างประเทศ" หลอกลวงผู้เสียหายทั่วประเทศรวมมูลค่าความเสียหายกว่า 70 ล้านบาท จับกุมผู้เกี่ยวข้องแล้วจำนวน 4 ราย

สำหรับกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดำเนินการจับกุมคดีที่สำคัญในเดือนสิงหาคม 2567 ได้แก่ การจับกุมผู้ต้องหาเพิ่มเติม จำนวน 4 ราย อันเป็นผลมาจากการสืบสวนขยายผลอย่างต่อเนื่องในการจับกุมเครือข่ายเว็บพนันออนไลน์รายใหญ่ เครือข่ายแม่มนต์ ซึ่งมีเงินหมุนเวียนกว่า 5,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในภาพรวมการจับกุมในเดือนสิงหาคม 2567 พบว่า มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับการจับกุมในช่วงก่อนดำเนินการตามมาตรการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 โดยเฉพาะการจับกุมบัญชีม้า ชิมม้า ที่ลดลงถึงร้อยละ 49.17 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการอย่างต่อเนื่องต่อไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

1.3 การปิดกั้นโซเชียลมีเดีย เว็บผิดกฎหมาย และเว็บพนัน

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการปิดกันโซเชียลมีเดีย เพจ และเว็บไซต์ผิดกฎหมายระยะเวลา 11 เดือน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567 เทียบกับ การดำเนินงานช่วงเวลาเดียวกันในปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยสรุปผลได้ ดังนี้

1) ดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมายทุกประเภท จำนวน 138,660 รายการ เพิ่มขึ้น 11 เท่า จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2566 ที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมายทุกประเภท จำนวน 12,591 รายการ

2) ดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ประเภทพนันออนไลน์ จำนวน 58,273 รายการ เพิ่มขึ้น 34.3 เท่า จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2566 ที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์ประเภทพนันออนไลน์ จำนวน 1,700 รายการ

1.4 มาตรการแก้ไขปัญหาบัญชีม้า เร่งอายัด และตัดตอนการโอนเงิน

1) การระงับบัญชีม้าสะสมถึงเดือนสิงหาคม 2567 มีการระงับบัญชีม้ารวมกว่า 1,000,000 บัญชี แบ่งเป็นสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ปิด 450,000 บัญชี ธนาคารระงับเอง 300,000 บัญชี และศูนย์ AOC ระงับ 291,256 บัญชี

2) ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ดำเนินการยกระดับการป้องกันการเปิดบัญชีและการจัดการบัญชีม้า โดยเฉพาะบุคคลที่ยินยอมเปิดบัญชีธนาคารให้คนร้ายใช้ อาทิ การออกมาตรการระงับบัญชีของผู้ที่เปิดบัญชีให้คนร้ายทุกบัญชี และการใช้มาตรการเพื่อทำการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Due Diligence : CDD) ตามระดับความเสี่ยงของผู้เปิดบัญชีใหม่ เป็นต้น

1.5 มาตรการแก้ไขปัญหาชิมม้า และชิมที่ผูกกับโมบายแบงก์กิ้ง ผลการดำเนินงานสำคัญถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ดังนี้

1) การระงับหมายเลขโทรศัพท์ที่มีการโทรออกเกิน 100 ครั้งต่อวัน จำนวน 80,731 หมายเลข มีผู้มายืนยันตัวตน 418 หมายเลข ส่วนที่ไม่มายืนยันตัวตน ระงับหมายเลขแล้ว จำนวน 80,313 หมายเลข

2) การกวาดล้างชิมม้าและชิมต้องสงสัย โดยสำนักงาน กสทช. และผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้ระงับชิมม้าแล้ว จำนวนกว่า 2.8 ล้านหมายเลข

3) การขับเคลื่อนมาตรการคัดกรองผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง ใช้ระบบคัดกรองผู้ใช้งาน (Sim Screening) ตรวจสอบหมายเลขบัตรประชาชนผู้ครอบครองหมายเลขโทรศัพท์ตรงกับหมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนโมบายแบงก์กิ้งกับธนาคารหรือไม่ โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในวันที่ 30 กันยายน 2567 เพื่อตรวจสอบกลุ่มบัญชีที่มีความเสี่ยงถูกใช้เป็นบัญชีม้า ในเบื้องต้นประเมินว่ามีผู้ใช้งานที่เป็นบัญชีคนไทย 15 ล้านคน และต่างด้าว 3 ล้านคน ซึ่งจะต้องจัดทำรายละเอียดแนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.6 การดำเนินการเรื่องเสาโทรคมนาคม สายสัญญาณอินเทอร์เน็ต และสายโทรศัพท์ ที่ผิดกฎหมายตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน

สำนักงาน กสทช. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และผู้ให้บริการโทรคมนาคมในพื้นที่ดำเนินยุทธการ "ระเบิดสะพานโจร" โดยร่วมกันตรวจสอบการลักลอบลากสายสัญญาณข้ามแดนโดยไม่ได้รับอนุญาต ณ ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 จากการตรวจสอบพบว่า มีการลักลอบลากสายสัญญาณจากบ้านเช่าในตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งขอใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการบริการอินเทอร์เน็ต 3 ราย นำมาทำ Load Balance และ ลากสายสัญญาณไฟเบอร์ออฟติกขนาด 12 Core ไปยังตู้ชุมสายสัญญาณไฟเบอร์ออฟติก (ODF) ของบริษัท ก (นามสมมุติ) ผู้รับใบอนุญาตประเภท 1 และ 3 บริเวณสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2

โดยบริษัทฯ ดังกล่าว ไม่ได้รับอนุญาตให้บริการโทรคมนาคมออกนอกราชอาณาจักรไทย ต่อมาที่ตู้ของบริษัทฯ ดังกล่าวตรวจพบการติดตั้งอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการเพิ่มเติมอีก 3 ราย โดยสายสัญญาณที่ลากออกจากตู้ ๆ ดังกล่าวนั้นมีการลากต่อไปยังสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 และเชื่อมต่อไปสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

นอกจากนี้ สำนักงาน กสทช. อยู่ระหว่างการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการป้องกันการให้บริการระบบโทรคมนาคมข้ามพรมแดนเพื่อการก่อการร้ายทางเศรษฐกิจและสนับสนุนการค้ามนุษย์กับกองทัพไทย ซึ่งประกอบด้วย กองบัญชา การกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ โดยจะดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของกองทัพไทยช่วยสนับสนุนลาดตระเวนพื้นที่ชายแดนและตรวจสอบการใช้สัญญาณโทรคมนาคมข้ามพรมแดนที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการค้ามนุษย์ โดยมีกำหนดการลงนามความร่วมมือภายในเดือนตุลาคม 2567

1.7 การแก้ปัญหาหลอกลวงขายสินค้าออนไลน์
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดำเนินมาตรการแก้ไขกฎหมาย COD หรือซื้อสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง โดยออก "ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการบริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2567 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อแก้ไขปัญหาการซื้อขายสินค้าหรือบริการออนไลน์แบบใช้บริการเก็บเงินปลายทาง (COD) ตามที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาภายใต้สำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค มีมติเห็นชอบและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา

1.8 การบูรณาการข้อมูล และอื่น ๆ

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สมาคมธนาคารไทย สมาคมโทรคมนาคม ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ศูนย์ AOC 1441 เป็นแพลตฟอร์มรับและแลกเปลี่ยนข้อมูลบูรณาการข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับการจัดการบัญชีม้า ชิมม้า และคนร้ายได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กรมพัฒนา ธุรกิจการค้ามีการดำเนินการเพิ่มความเข้มงวดในการจดทะเบียนนิติบุคคล กรณีบุคคลที่สำนักงานป้องกันและปราบปราม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี ! ไทย รับมอบ 4 วัตถุโบราณบ้านเชียง อายุกว่า 3,500 ปี จากสหรัฐฯ

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบโบราณวัตถุบ้านเชียง 4 ชิ้น

รัฐบาลเร่งพัฒนาแพลตฟอร์ม สกัดมิจฉาชีพโทร-ส่งข้อความหลอกลวง คาดพร้อมใช้ต้นปี 68

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน

รองโฆษกรัฐบาล เผยตัวเลขชี้ท่องเที่ยวไทยคึกคัก

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงรายงานสถานการณ์การท่องเที่ยว ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2567)  มีนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดระยะไกล

'ศปช.' แจ้งทั่วไทยยังมีฝน แนะพกร่มก่อนไปลอยกระทง

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์สภาพ

ครม. ตั้ง 'บิ๊กรอย' นั่งที่ปรึกษาภูมิธรรม 'คารม-ศศิกานต์' รองโฆษกรัฐบาล

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1.พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรมว.กลาโหม