9 พ.ย.2567 - นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2567 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 854,009 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 579 ข้อความ
สำหรับช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 564 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 11 ข้อความ และช่องทาง Facebook จำนวน 4 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 229 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 79 เรื่อง
ทั้งนี้ กระทรวงดีอี ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 : นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ จำนวน 97 เรื่อง
กลุ่มที่ 2 : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายจำนวน 66 เรื่อง
กลุ่มที่ 3 : ภัยพิบัติ จำนวน 25 เรื่อง
กลุ่มที่ 4 : เศรษฐกิจ จำนวน 14 เรื่อง
กลุ่มที่ 5 : กลุ่มอาชญากรรมออนไลน์ จำนวน 27 เรื่อง
นายเวทางค์ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจในลำดับต้นๆ ในสัปดาห์นี้ พบว่าเป็นข่าวเกี่ยวกับหน่วยงานรัฐ และนโยบายของรัฐ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต และสิทธิประกันสังคม ทั้งในเรื่องการเปิดสินเชื่อ และเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมส่วนใหญ่ สร้างความเข้าใจผิด สร้างความวิตกกังวล และอาจสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
อันดับที่ 1 : เรื่อง ธนาคารกรุงไทย เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท รอบใหม่
อันดับที่ 2 : เรื่อง ธนาคารกรุงไทย ส่งเอกสารแจ้งตรวจพบความผิดปกติแอปพลิเคชัน Krung NEXT
อันดับที่ 3 : เรื่อง ผู้ประกันตนสามารถกู้เงินประกันสังคมได้ ผ่านเพจ Carroll Reyes
อันดับที่ 4 : เรื่อง ตำรายาแก้โรคมะเร็งหายใน 6 วัน
อันดับที่ 5 : เรื่อง โรงพยาบาลเอกชน 70 แห่ง เตรียมถอนตัวจากการเป็นคู่สัญญากับประกันสังคม เนื่องจากอัตราการจ่ายปัจจุบันไม่สะท้อนต้นทุน ทำให้ขาดทุน
อันดับที่ 6 : เรื่อง จะเกิดทอร์นาโด ระดับ 4 ในพื้นที่ แปดริ้ว กรุงเทพ และปริมณฑล
อันดับที่ 7 : เรื่อง สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ออกเอกสารวงในบอกเลขก่อนวันออกรางวัล
อันดับที่ 8 : เรื่อง คลิกลิงก์ เพื่อแก้ไขแอปฯ ทางรัฐค้างอยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4
อันดับที่ 9 : เรื่อง ไปรษณีย์ไทยส่งอีเมลแจ้งให้อัปเดตข้อมูลการเรียกเก็บเงิน เพื่อขอจัดส่งพัสดุใหม่
อันดับที่ 10 : เรื่อง จำหน่ายบัตรราคาพิเศษพร้อมการเดินทางไม่จำกัดบนระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภทในกรุงเทพฯ และพื้นที่โดยรอบเป็นเวลา 6 เดือน
“เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจมากที่สุด จาก 10 อันดับข้างต้น พบว่าเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐและโครงการของรัฐถึง 8 อันดับ ซึ่งทั้งหมดมีผลกระทบต่อประชาชน ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ความวิตกกังวล สำหรับข่าวที่เกี่ยวข้องกับโครงการรัฐ โดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐ สิทธิประกันสังคม และข่าวเกี่ยวกับโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต อาจทำให้ประชาชน ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ สร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สินและข้อมูลส่วนบุคคลได้ ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนทั่วประเทศเป็นวงกว้าง หากมีการแชร์ส่งต่อกันไปในสังคม” นายเวทางค์ กล่าว
สำหรับอันดับ 1 เรื่อง “ธนาคารกรุงไทย เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท รอบใหม่” ซึ่งกระทรวงดีอี ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับธนาคารกรุงไทย กระทรวงการคลัง พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยธนาคารไม่ได้เปิดลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ตแต่อย่างใด เป็นการกระทำของมิจฉาชีพที่แอบอ้างถึงธนาคารกรุงไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อสร้างความสับสนแก่ประชาชน ดังนั้นขอเตือนให้ประชาชนควรระมัดระวังในการกรอกข้อมูลและไม่ควรกดลิงก์แปลก น่าสงสัยที่ส่งโดยไม่ทราบที่มาชัดเจน สำหรับประชาชนที่สนใจสามารถรับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารกรุงไทย ได้ที่ www.krungthai.com หรือติดต่อ Krungthai Contact Center 02-111-1111 หรือแจ้งผ่าน Facebook : Krungthai Care
ด้านข่าวปลอม อันดับ 2 “ธนาคารกรุงไทย ส่งเอกสารแจ้งตรวจพบความผิดปกติแอปพลิเคชัน Krung NEXT” โดยกระทรวงดีอี ได้ประสานงานร่วมกับธนาคารกรุงไทย กระทรวงการคลัง พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำของมิจฉาชีพที่แอบอ้างถึงธนาคารกรุงไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอมที่ไม่ได้ออกโดยธนาคารกรุงไทยแต่อย่างใด จึงขอเตือนประชาชนควรระมัดระวังในการกรอกข้อมูลและไม่ควรกดลิงก์แปลก น่าสงสัยที่ส่งโดยไม่ทราบที่มาชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ดีอี มีความห่วงใยประชาชน เรื่องความตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์ โซเชียล ซึ่งหากขาดความรู้เท่าทัน ส่งต่อข้อมูลข่าวปลอม ทำให้เกิดการหลงเชื่อ สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวหรือลิงก์เว็บไซต์ให้แน่ชัด
สามารถแจ้งเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ โทรสายด่วน 1111 (24 ชม.)
| Line ID: @antifakenewscenter | เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดีอี เตือนภัย ‘โจรออนไลน์’ สร้างเพจปลอมลงทะเบียนสินเชื่อล้างหนี้นอกระบบ
ดีอี เตือนภัย “โจรออนไลน์” สร้างเพจปลอม “ลงทะเบียนสินเชื่อล้างหนี้นอกระบบ ให้กู้ 50,000 บาท คืน 1,083 บาทต่อเดือน ผ่าน TikTok nongbdwo314” หวั่น ปชช.สูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
ผอ.ศูนย์ AOC เผยสายด่วน 1441 ได้ผลดี 1 ปี อาชญากรรมออนไลน์ความเสียหายลด 44 %
นายเอกพงษ์ หริ่มเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติก
'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' ของไทย ไม่บ้ายกให้กัมพูชา จ่อติวเข้ม สส. แจงปชช.
'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' เป็นของไทย โต้เฟกนิวส์ใช้เอไอปล่อยข่าวมั่ว ชี้ใครจะบ้ายกให้ เตรียมติว สส. เพื่อไทย แจงประชาชนถึงที่มา MOU 44
โจรออนไลน์แสบ สร้างเพจปลอม ธ.ก.ส. หลอก ดีอี เตือนระวังสูญเงิน
ดีอี เตือน “โจรออนไลน์” สร้างเพจปลอม “ธ.ก.ส. เปิดบัญชี TikTok baacthailand04” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
ดีอี เตือน 'มิจฉาชีพ' ปล่อยข่าวปลอม ธ.ก.ส. เปิดให้กู้ปิดหนี้
ดีอี เตือน “มิจฉาชีพ” ปล่อยข่าวปลอม “ธ.ก.ส. เปิดให้กู้ปิดหนี้ คนติดเครดิตบูโรยื่นได้ทุกอาชีพ เพียงมีรายได้ 9,000 บาทขึ้นไป” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
'ประเสริฐ' ฟุ้งปราบโจรออนไลน์ ศูนย์ AOC 1441 ระงับบัญชีต้องสงสัยแล้วกว่า 340,000 เคส
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการแถลงข่าวผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์และภาพรวม