12 ต.ค.2567 - นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 4 - 10 ตุลาคม 2567 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 841,161 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 367 ข้อความ
สำหรับช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 355 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 11 ข้อความ และช่องทาง Facebook จำนวน 1 ข้อความรวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 190 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 72 เรื่อง
ทั้งนี้ กระทรวงดีอี ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 : นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ จำนวน 101 เรื่อง
กลุ่มที่ 2 : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายจำนวน 18 เรื่อง
กลุ่มที่ 3 : ภัยพิบัติ จำนวน 49 เรื่อง
กลุ่มที่ 4 : เศรษฐกิจ จำนวน 4 เรื่อง
กลุ่มที่ 5 : กลุ่มอาชญากรรมออนไลน์ จำนวน 18 เรื่อง
นายเวทางค์ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจในลำดับต้นๆ ในสัปดาห์นี้ พบว่าเป็นข่าวนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ หน่วยงานและโครงการของรัฐ โดยเฉพาะ โครงการดิจิทัลวอลเล็ต และข่าวอุทกภัย ซึ่งเป็นข่าวที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
อันดับที่ 1 : เรื่อง รัฐบาลเปิดให้ลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ตใหม่ สำหรับคนที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้ที่ธนาคารออมสิน กรุงไทย
อันดับที่ 2 : เรื่อง น้ำทะเลหนุน ถ.พระราม 2 เมืองกำลังจะจมทะเล
อันดับที่ 3 : เรื่อง เตรียมโอนเบี้ยผู้สูงอายุทุกราย 1,000 บาท
อันดับที่ 4 : เรื่อง แจกเงินผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบ 2 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567
อันดับที่ 5 : เรื่อง เมืองเชียงใหม่จะจมบาดาลใน 6 ชั่วโมง
อันดับที่ 6 : สาวพม่าจ่ายเงินซื้อสัญชาติไทยจำนวน 8 หมื่นบาท
อันดับที่ 7 : เรื่อง พบรถทัศนศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่ง ใน จ.นครพนม เกิดกลุ่มควันขึ้น ขณะเดินทาง
อันดับที่ 8 : เรื่อง สาเหตุที่เมืองเชียงใหม่ระบายน้ำได้ช้า เกิดจากประตูระบายน้ำดอยน้อยเสีย
อันดับที่ 9 : เรื่อง งดทัศนศึกษาทั่วประเทศ หากโรงเรียนใดฝ่าฝืนปรับ 20,000,000 บาท
อันดับที่ 10 : เรื่อง ว่านหางจระเข้ช่วยบำบัดเนื้องอกและซีสต์
“เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจมากที่สุด จาก 10 อันดับข้างต้น พบว่าเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับโครงการตามนโยบายของรัฐบาล หน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะโครงการดิจิทัลวอลเล็ต โครงการสวัสดิการของประชาชน และข่าวที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ ซึ่งทั้งหมดมีผลกระทบต่อประชาชน อาจเกิดความสับสน สร้างความเสียหาย การเข้าใจผิด สร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชนเป็นวงกว้าง หากมีการแชร์ส่งต่อกันไปในสังคม” นายเวทางค์ กล่าว
สำหรับอันดับ 1 เรื่อง “รัฐบาลเปิดให้ลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ตใหม่ สำหรับคนที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้ที่ธนาคารออมสิน กรุงไทย” พบเป็นข้อมูลเท็จ โดยกระทรวงดีอี ได้ประสานงานร่วมกับ ธ.ออมสิน และธ.กรุงไทย ตรวจสอบและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลปลอม ซึ่งปัจจุบันธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทยไม่ได้มีการเปิดรับลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ตแต่อย่างใด
ดังนั้นขอเตือนประชาชนระมัดระวังการกรอกข้อมูลและไม่ควรกดลิงก์น่าสงสัยที่ส่งโดยไม่ทราบที่มา โดยประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร ธ.กรุงไทย ได้ที่ www.krungthai.com โทร Krungthai Contact Center 02-111-1111 หรือแจ้งผ่าน Facebook : Krungthai Care และ ธ.ออมสินได้ที่เว็บไซต์ www.gsb.or.th, แอปฯ MyMo, Social Media ช่องทาง GSB Society และ GSB Now เท่านั้น
ด้านข่าวปลอม อันดับ 2 “น้ำทะเลหนุน ถ.พระราม 2 เมืองกำลังจะจมทะเล” พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยกระทรวงดีอี ได้ประสานงานร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่การประกาศเตือนจากหน่วยงานภาครัฐ เป็นการสร้างความตื่นตระหนกให้ประชาชน ขอให้ติดตามข้อมูลคาดการณ์สถานการณ์น้ำและประกาศแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำทะเลหนุนสูงจากหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น โดยประชาชนสามารถติดตามข่าวสารจาก สทนช.ได้ที่เว็บไซต์ www.onwr.go.th หรือ โทร. 02-554-1800
อย่างไรก็ตาม ดีอี มีความห่วงใยประชาชน เรื่องความตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์ โซเชียล ซึ่งหากขาดความรู้เท่าทัน ส่งต่อข้อมูลข่าวปลอม ทำให้เกิดการหลงเชื่อ สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวหรือลิงก์เว็บไซต์ให้แน่ชัด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ประเสริฐ’ เหนียมเข้าเกียร์5 ดัน กม.แก้พนันออนไลน์ บอกฟังความเห็น ‘ดีอี-มท.-กฤษฎีกา’ ก่อน
‘ประเสริฐ’ เผย กม.แก้พนันออนไลน์อยู่ในขั้นฟังความเห็น ประสานทำงาน 3 หน่วยงานหลัก ‘ดีอี- มท.-กฤษฏีกา’
ดีอี เตือนภัย เพจปลอม ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อ ผ่าน TikTok
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมรายสัปดาห์ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อ ผ่าน TikTok ..baac.thailand5” รองลงมาคือเรื่อง “กองทุนรวมไทย เพื่อความยั่งยืน เปิดพอร์ต 1,000 บาท รับรองโดย ก.ล.ต.” โดยขอให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ-แชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นสร้างความสูญเสียทั้งข้อมูลส่วนบุคคล และทรัพย์สิน และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง
ดีอี เตือนภัย ‘โจรออนไลน์’ สร้างเพจปลอมหลอกปล่อยกู้ ระวังสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
ดีอี เตือนภัย ‘โจรออนไลน์’ สร้างเพจปลอมระวังสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
ผอ.ศูนย์ AOC เผยสายด่วน 1441 ได้ผลดี 1 ปี อาชญากรรมออนไลน์ความเสียหายลด 44 %
นายเอกพงษ์ หริ่มเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติก
มิจฉาชีพเนียนเปิดเพจปลอม ปปง. หลอกผู้เสียหายลงทะเบียนรับเงินคืน
ดีอี เตือน เพจปลอม “ปปง. ร่วมกับ สอท. เปิดให้ผู้เสียหายคดีฉ้อโกงออนไลน์ลงทะเบียนขอรับเงินคืน เพียง 3 ขั้นตอน ผ่านเพจ Maintain security online.” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่น “โจรออนไลน์” หลอกดึงข้อมูล-ดูดเงิน
โจรออนไลน์แสบ สร้างเพจปลอม ธ.ก.ส. หลอก ดีอี เตือนระวังสูญเงิน
ดีอี เตือน “โจรออนไลน์” สร้างเพจปลอม “ธ.ก.ส. เปิดบัญชี TikTok baacthailand04” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล