จับมิจฉาชีพ ส่งข้อความมือถือ อ้างการไฟฟ้าคืนเงิน ลวงเหยื่อกดรหัสดูดเงินเกลี้ยงบัญชี

7 ก.ย.2567 - พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญช ผบช.สอท. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 พ.ต.อ.สรกฤช พันธ์ศรี ผกก.3 บก.สอท.3 พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.สอท.3 จับกุมนางสาว จิตติมา อายุ 35 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 4135/2567 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ได้บริเวณริมสีแยกไฟแดงคำน้ำแซ่บ อ.วาริชำราบ จ.อุบลราชธานี ในข้อหา “ร่วมกันลักทรัพย์ ,ร่วมกันโดยทุจริตเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ร่วมกันกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิเวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเพื่อให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น และ ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน และสมคบกันโดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้สมคบกัน และร่วมกันฟอกเงิน”

สืบเนื่องจากได้มีมิจฉาชีพส่ง SMS เข้าโทรศัพท์มือถือผู้เสียหาย อ้างว่าส่งมาจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แจ้งว่าผู้เสียหายว่ามีสิทธิได้รับเงินคืนค่า FT และให้กดลิงก์ที่แนบมาเพื่อขอเงินคืน ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงกดเข้าไป ปรากฎเป็นบัญชีแอปพลิเคชัน Line ชื่อ “PEA THAILAND” และได้มีคนอ้างเป็นพนักงานการไฟฟ้าได้ขอภาพถ่ายเอกสารส่วนตัวต่างๆ ของผู้เสียหายเพื่อใช้ประกอบการลงทะเบียนขอรับเงินคืน ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงส่งภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนให้ไป

จากนั้น มิจฉาชีพแจ้งว่าให้ลงทะเบียนในเว็บไซต์การไฟฟ้า(ของปลอม) ตามขั้นตอนที่แนะนำ จากนั้นได้มีข้อความปรากฎบนมือถือให้ผู้เสียหายกดยืนยันรหัส PIN เพื่อดาวโหลดขั้นตอน ผู้เสียหายจึงกดรหัสไป ซึ่งผู้เสียหายใช้เป็นรหัสเดียวกับรหัสโอนเงินของแอปธนาคาร ภายหลังพบว่าเงินในบัญชีธนาคารของผู้เสียหายได้ถูกคนร้ายโอนเงินออกไปจนหมด รวมจำนวนเกือบ 2 ล้านบาท

เบื้องต้น นางสาวจิตติมา ยอมรับว่า ตนรับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร และรับจ้างเปิดใช้งานซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือพร้อมสมัครใช้แอป K Plus แล้วส่งมอบให้แก่นายหน้าที่มารับซื้อบัญชี เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงควบคุมตัวเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมเร่งติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่ยังหลบหนีมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ละเอียดยิบ! ครม.รับทราบผลงานปราบอาชญากรรมออนไลน์ในช่วง 30 วัน

นางสาว ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบ ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2567 โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

รัฐบาลเร่งพัฒนาแพลตฟอร์ม สกัดมิจฉาชีพโทร-ส่งข้อความหลอกลวง คาดพร้อมใช้ต้นปี 68

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน

เผยแจ้งความออนไลน์ 1 มี.ค 65 - 31 ต.ค. 67 เฉลี่ยเสียหายวันละ 7.7 ล้านบาท

'รองโฆษกรัฐบาล' เผยสถิติแจ้งความออนไลน์ ตั้งแต่ 1 มี.ค 65 – 31 ต.ค.67 มูลค่าความเสียหายรวม 7.48 หมื่นล้านบาท เฉลี่ย 77 ล้านบาทต่อวัน

'ทนายตั้ม' โผล่ฉายหนังคนละม้วน อ้างปมเงิน 39 ล้านค่าศิลปินจีน เป็นมิจฉาชีพหลอก 'เจ๊อ้อย'

ที่กองบังคับการปราบปราม นายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ "ทนายตั้ม" เข้าพบพนักงานสอบสวน ที่ถูกน.ส.จตุพร อุบลเลิศ หรือ เ

ตำรวจสอบสวนกลาง CIB ผสานพลัง AIS ยกระดับเดินหน้าภารกิจปกป้องประชาชน เปิดบริการ *1185# แจ้งอุ่นใจ ตัดสายโจร กดแจ้งเบอร์โทรมิจฉาชีพได้ทันที หลังวางสาย

ตำรวจสอบสวนกลาง CIB จับมือ AIS ยกระดับการปกป้องลูกค้า และ ประชาชน จากมิจฉาชีพต่อเนื่องไปอีกขั้น เปิดตัวบริการ *1185# แจ้งอุ่นใจ ตัดสายโจร