'ดีอี' เตือน ข่าวปลอม 'ปปง.' เปิดเพจแจ้งความรับเงินคืนจากคดีออนไลน์

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “ปปง. เปิดเพจแจ้งความ รับเงินคืนจากคดีออนไลน์” พบ “โจรออนไลน์” ใช้เป็นช่องทางหลอกลวงข้อมูล-หลอกโอนเงิน

28 ก.ค.2567 – นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 19 – 25 กรกฎาคม 2567 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 851,933 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 248 ข้อความ
สำหรับช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 204 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 43 ข้อความ และผ่านช่องทาง Facebook จำนวน 1 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 209 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 102 เรื่อง โดยในจำนวนนี้มีข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์ที่ประชาชนให้ความสนใจมากที่สุด จำนวน 10 อันดับ ได้แก่

อันดับที่ 1 : เรื่อง ปปง. เปิดเพจแจ้งความออนไลน์ ชื่อว่า ศูนย์รับเรื่อง-ลงทะเบียนและตรวจสอบเพื่อรับเงินคืนจากคดีออนไลน์

อันดับที่ 2 : เรื่อง ปปง. เปิดให้ลงทะเบียนรับเงินคืน ผ่านเพจศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ AOC

อันดับที่ 3 : เรื่อง เพจกระทรวงยุติธรรมปรึกษากฎหมาย รับเรื่อง ร้องเรียน ร้องทุกข์ เป็นเพจที่กระทรวงยุติธรรมจัดทำขึ้น

อันดับที่ 4 : เรื่อง กระทรวงยุติธรรมเปิดเพจ Rescue crime เพื่อแจงขั้นตอน ยื่นคุ้มครองสิทธิ ขอเงินคืน

อันดับที่ 5 : เรื่อง พม. เปิดเพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ตรวจสอบ-ลงทะเบียนเพื่อรับเงินคืนจากคดีออนไลน์

อันดับที่ 6 : เรื่อง ตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ผู้ลงทุนโอนเงินเพื่อขอรับรองหรือรับประกันวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์

อันดับที่ 7 : เรื่อง กรมการจัดหางาน เปิดช่อง TikTok @dy18ozezoiod

อันดับที่ 8 : เรื่อง ลงทะเบียนรับทรัพย์สินคืนจากอาชญากรรมออนไลน์ ผ่านเพจ ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ – ETDA

อันดับที่ 9 : กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเปิดเพจเฟซบุ๊กใหม่ เพื่อรับสมัครงาน

อันดับที่ 10 : เรื่อง TikTok ศูนย์มาตรฐานฝีมือแรงานโฮมโปร สร้างช่างมืออาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
“เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่เกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ จาก 10 อันดับ ข้างต้น พบว่าทั้งหมดเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐ ซึ่งทำหน้าที่การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ และการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอันดับ 1 และ 2 เป็นข่าวปลอมที่แอบอ้างหน่วยงาน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลจาก ป.ป.ง.พบว่า เพจและคลิปสั้นที่มีการโพสต์ดังกล่าวเป็นข้อมูลปลอม ซึ่งมิจฉาชีพได้ตัดต่อคลิปจากข่าวที่สื่อมวลชนเผยแพร่ และนำมาเพิ่มเติมข้อความ เพื่อหลอกผู้เสียหายจากคดีฉ้อโกงให้หลงเชื่อส่งข้อมูลและโอนเงินให้ตามที่อ้างว่า จะดำเนินเรื่องช่วยเหลือ โดย ป.ป.ง. ไม่เคยมีการเปิดให้ผู้เสียหายทุกรายคดี ยื่นคำร้องผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ทุกช่องทางแต่อย่างใด ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ หรือแชร์ข้อมูล ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลส่วนตัวบุคคล และทรัพย์สิน หรือหากมีการแชร์ เผยแพร่ต่อๆกันไป อาจกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมได้” นายเวทางค์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ดีอี มีความห่วงใยประชาชน เรื่องความตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์ โซเชียล ซึ่งหากขาดความรู้เท่าทัน ส่งต่อข้อมูลข่าวปลอม ทำให้เกิดการหลงเชื่อ สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวหรือลิงก์เว็บไซต์ให้แน่ชัด
สามารถแจ้งเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ โทรสายด่วน 1111 (24 ชม.)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป.ป.ง. แจ้งความเอาผิด 'โจ๊ก' พร้อมภรรยา ใช้บัญชีม้าเว็บพนันจ่ายเบี้ยประกันชีวิต

พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผบช.น. ในฐานะโฆษก บช.น. เปิดเผยว่า พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผบช.น. ได้มีการตรวจสอบพบว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.)

รองโฆษกรัฐบาล เผย 10 ข่าวปลอมคนสนใจมากที่สุด เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ารัฐบาล โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าว เพจปลอมรายสัปดาห์ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์

ดีอี เตือนภัย เพจปลอม ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อ ผ่าน TikTok

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมรายสัปดาห์ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อ ผ่าน TikTok ..baac.thailand5” รองลงมาคือเรื่อง “กองทุนรวมไทย เพื่อความยั่งยืน เปิดพอร์ต 1,000 บาท รับรองโดย ก.ล.ต.” โดยขอให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ-แชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นสร้างความสูญเสียทั้งข้อมูลส่วนบุคคล และทรัพย์สิน และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง

ดีอี เตือนภัย ‘โจรออนไลน์’ สร้างเพจปลอมลงทะเบียนสินเชื่อล้างหนี้นอกระบบ 

ดีอี เตือนภัย “โจรออนไลน์” สร้างเพจปลอม “ลงทะเบียนสินเชื่อล้างหนี้นอกระบบ ให้กู้ 50,000 บาท คืน 1,083 บาทต่อเดือน ผ่าน TikTok nongbdwo314” หวั่น ปชช.สูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล 

เตือนอย่าเชื่ออย่าแชร์ข่าวปลอมให้ผู้เสียหายคดีฉ้อโกงออนไลน์ลงทะเบียนขอรับเงินคืน

รัฐบาลเตือน ปชช. อย่าเชื่อข่าวปลอม อย่าแชร์! ข้อความสื่อออนไลน์ระบุ 'ปปง. ร่วมกับ สอท. เปิดให้ผู้เสียหายคดีฉ้อโกงออนไลน์ลงทะเบียนขอรับเงินคืน เพียง 3 ขั้นตอน ผ่านเพจ Maintain security online'