29 พ.ค.2567- ภายหลังมีการเผยแพร่ บันทึกคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งลงนามโดยนายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการไว้ก่อน กรณี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) หลังจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีหนังสือขอหารือว่า นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง และมาตรา 179 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ประกอบกับข้อ 11 แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนฯ โดยนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจรายดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ และจะต้องดำเนินการเมื่อใด
พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม(สป.ยธ.) กล่าวว่า กรณีการตอบและตั้งข้อสังเกตตามหนังสือหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ว่า ถ้า ผบ.ตร.สั่งให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.ออกจากราชการไว้ก่อนโดยปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่ตั้งขึ้น ย่อมจะทำให้การสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมนั้น เป็นข้อสังเกตที่ไม่ได้ถาม ไม่ถูกต้อง ไม่อยู่บนพื้นฐานของกฎหมายและสร้างปัญหาในการปฏิบัติราชการ
เนื่องจากการที่ รรท.ผบ.ตร. (พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ) สั่งให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ กับพวกตำรวจรวม 5 คน ออกจากราชการไว้ก่อนดังกล่าว ก็ด้วยเหตุว่าตกเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาร้ายแรง จึงเป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชาคือ ผบ.ตร. สามารถทำได้ตาม พ.ร.บ.ตำรวจ มาตรา 131 และควรทำกับตำรวจทุกคนทุกระดับที่ตกเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาอยู่ระหว่างต่อสู้คดีหรือรอผลคดีถึงที่สุด ซึ่งทั้งการสอบสวน การสั่งคดีของอัยการและการพิจารณาของศาลทั้งสามศาลต้องใช้เวลานานรวมไม่ต่ำกว่าห้าปี
ทั้งนี้ ก็เพื่อมิให้บุคคลดังกล่าวมีสถานะเป็นตำรวจต่อไปหลังตกเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาร้ายแรง เนื่องจากส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือเชื่อมั่นของประชาชน รวมทั้งอาจนำตำแหน่งหน้าที่ไปใช้สร้างความเสียหายต่อทางราชการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ จึงไม่จำเป็นต้องผลการสอบสวนทางวินัยอีกตามมาตรา 120 แต่อย่างใด เพราะนั่นเป็นกรณีที่ตำรวจทำผิดวินัยร้ายแรงโดยไม่เป็นความผิดอาญา เช่น ท้าตีท้าต่อยผู้บังคับบัญชา หรือประมาททำให้ทรัพย์สินราชการเสียหายร้ายแรง ฯลฯ
พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวอีกว่า เหตุผลที่ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการหรือพักราชการได้ไม่ต้องรอผลการสอบสวนทางวินัย ก็เพราะเมื่อตำรวจกระทำความผิดอาญาจนตกเป็นผู้ต้องหาไม่ว่าจะเป็นการการจับการกระทำผิดซึ่งหน้า ถูกออกหมายเรียกไปแจ้งข้อหา หรือศาลออกหมายจับ ย่อมถือว่ามีพยานหลักฐานจากการสอบสวนน่าเชื่อว่ากระทำความผิดระดับหนึ่งแล้ว มีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่าการสอบสวนทางวินัยด้วยซ้ำ
"การตั้งข้อสังเกตว่าควรรอฟังความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนก่อนตามมาตรา 120 นั้น เป็นเรื่องในหมวด 7 “การดำเนินการทางวินัย” คือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดวินัยร้ายแรงอย่างเดียว โดยยังไม่มีหลักฐานจากทางใดว่ากระทำผิดจริงหรือไม่ จึงจำเป็นต้องรอฟังความเห็นคณะกรรมการสอบสวนก่อน ต่างจากการตกเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาที่ผ่านการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานมาพอสมควรแล้วจนกระทั่งถูกแจ้งข้อหาหรือศาลออกหมายจับ" พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เรียก‘พื้นที่อ้างสิทธิ’เลิกใช้‘ทับซ้อน’
เลขาฯ กฤษฎีกาชี้ชัดยกเลิก "เอ็มโอยู" ฝ่ายเดียวได้แต่ไม่ควร
ให้ออกจากราชการ! ฟัน 9 ตำรวจนอกรีต อุ้มรีดเงินชาวจีน 300 ล้านบาท
พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 538/ 2567เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการไว้ก่อนด้วยข้าราชการตำรวจดังต่อไป
ผบ.ตร.สั่งเปิดศูนย์รับแจ้งความร้องทุกข์คดี The Icon Group พร้อมกันทั่วประเทศ
ผบ.ตร.สั่งเปิดศูนย์รับแจ้งความร้องทุกข์คดี The Icon Group พร้อมกันทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้เสียหาย และลดความยุ่งยากในการแจ้งความ โดยไม่ต้องเดินทางมายัง บก.ปคบ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กับบทบาทในเวทีการประชุม APEC Good Regulatory Practice Conference ครั้งที่ 17
Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC เป็นการประชุมความร่วมมือของเขตเศรษฐกิจซึ่งจัดขึ้นในทุกปี มีเนื้อหาครอบคลุมเกือบทุกมิติในทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ผบ.ตร. เซ็นคำสั่ง 8 ตำรวจลูกน้อง 'โจ๊ก' ออกจากราชการไว้ก่อน
พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มีหนังสือคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 436/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ด้วยข้าราชการตำรวจดังต่อไปนี้
ความเห็นของคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัยที่น่าสนใจ เรื่อง การแจ้งคำสั่งปรับเป็นพินัย กรณีผู้กระทำความผิดปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของรัฐและยินยอมชำระค่าปรับเป็นพินัย
ตั้งแต่พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. ๒๕๖๕ มีผลใช้บังคับ คณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัยซึ่งมีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัยฯ