ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ยกฟ้องชั้นตรวจฟ้อง "ธนา ชูวงศ์" รองผบ.ตร. กับชุดพนักงานสอบสวนคดีนายตำรวจพัวพันเว็บพนัน รวม 244 คน หลัง "เขมรินทร์ พิสมัย" ยื่นฟ้อง ชี้ ที่โจทก์อ้างไม่ได้ทำผิดเป็นข้อต่อสู้ในคดี ไม่ใล่เหตุนำมาฟ้องจำเลยกับพวกระบุ การขอออกหมายจับ ไม่ระบุอาชีพยศ ไม่ใช่สาระสำคัญ
27 มี.ค.2567 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา ที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบทางรถไฟ ศาลอ่านคำพิพากษาในชั้นตรวจฟ้องคดีที่ อท.244/2566 ที่พันตำรวจเอกเขมรินทร์ พิสมัย เป็นโจทก์ฟ้อง พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร.กับชุดพนักงานสอบสวน รวม 244 คน (มีพล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล อยู่ด้วย) เป็นจำเลย ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ , รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้น มุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ , พยานหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาเชื่อว่าได้มีความผิดอาญาอย่างใดเกิดขึ้น หรือเชื่อว่าความผิดอาญาที่เกิดขึ้นร้ายแรงกว่าที่เป็นความจริง ฯขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91,157, 162 (4), 179 , 200 พรป. ป.ป.ช. พ.ศ. 2561มาตรา 4 , 172
ประเด็นวินิจฉัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งหมด ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจำเลยที่ 2 เป็นผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จำเลยที่ 3 เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล จำเลยที่ 4 เป็นผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี รักษาราชการแทนผู้บัญชาการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ จำเลยที่ 5 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รักษาราชการแทนจเรตำรวจ (สบ.8) จำเลย ที่6 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จำเลยที่ 7 เป็นผู้บังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ จำเลยที่ 8 เป็นรองผู้บัญชาการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ จำเลยที่ 9 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล จำเลยที่ 10 เป็นผู้บังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 2
จำเลยที่ 11 เป็นผู้บังคับการปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จำเลยที่ 12 เป็นผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ จำเลยที่ 13 เป็นผู้กำกับการ (สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 จำเลย ที่ 14 เป็นผู้กำกับการ (สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 จำเลยที่ 15 เป็นสารวัตร (สอบสวน) สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ที่ 11 และที่ 16 ถึงที่105 เป็นพนักงานสอบสวนตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 593/2566 ภาคผนวก ก จำเลยที่ 106 ถึงที่ 242 เป็นคณะพนักงานสอบสวนตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 593/2566 ภาคผนวก ข จำเลยที่ 243 เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และจำเลยที่ 244 เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนปัจจุบัน
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 244 จึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นเจ้าพนักงานของรัฐตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 4 ประเด็นวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำความผิด โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ที่ 8 ที่ 106 และที่ 108 สั่งการให้จำเลยที่ 205 ที่ 192 ที่ 176 ที่ 180 ที่ 182 ที่ 181 ที่ 224 ที่ 172 ที่ 188 ที่187 ที่ 152 และที่ 242 ร่วมกันจับกุมโจทก์กับพวก
โดยจำเลยที่ 4 สั่งการให้จำเลยที่ 60 และที่ 192 ยื่นคำร้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ขอออกหมายจับโจทก์กับพวกโดยปกปิดไม่ระบุอาชีพ ยศ และตำแหน่ง จำเลยที่ 60 ลงลายมือชื่อในคำร้องขอออกหมายจับโดยไม่มีอำนาจ และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่า โจทก์กับพวกมีพฤติการณ์หลบหนีและยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จำเลยที่ 8 ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอออกหมายค้นบ้านพักของโจทก์กับพวก และพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาล เป็นเหตุให้พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ไม่ได้รับเลือกให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
จำเลยที่ 29 นำตัวโจทก์ไปฝากขังต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ในเวลาใกล้ปิดทำการ และคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว โจทก์กับพวกยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกับจำเลยที่ 244 เพื่อเปลี่ยนคณะพนักงานสอบสวน แต่จำเลยที่ 244 เพิกเฉย ต่อมาคณะพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่โจทก์กับพวกโดยมิได้มีพยานหลักฐานใหม่ จึงเป็นการแจ้งข้อกล่าวหาที่มิชอบ และขัดแย้งกับข้อกล่าวหาเดิม กับเป็นข้อกล่าวหาที่ซ้ำซ้อนทำให้โจทก์กับพวกหลงต่อสู้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ที่ 11 ที่ 16 ถึงที่ 105 ร่วมกันทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อปรักปรำโจทก์กับพวก
เห็นว่า ที่โจทก์อ้างว่าไม่ปรากฏหลักฐานการกระทำความผิด การแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมไม่ชอบ มีการปรุงแต่งเรื่องราวนำมากล่าวหาโจทก์กับพวก ล้วนแต่เป็นข้อต่อสู้ที่โจทก์ต้องนำไปพิสูจน์ว่าโจทก์กับพวกมิได้กระทำความผิด มิใช่ข้อที่จะนำมาฟ้องจำเลยกับพวกในคดีนี้ และการวินิจฉัยสั่งคดีของพนักงานสอบสวนในชั้นสอบสวนนี้มิใช่การวินิจฉัยว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) มีความผิดหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ดังเช่นกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล ทั้งเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานหรือไม่ก็ได้ หรือจะรวบรวมหรือไม่รวบรวมพยานหลักฐานใดเข้าไว้ในสำนวนการสอบสวนก็ได้ และการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมนั้น
หมายความว่า ข้อกล่าวหาเดิมยังคงอยู่มิใช่ต้องตกไปเพราะพยานหลักฐานรับฟังไม่ได้ตามที่โจทก์เข้าใจ ส่วนที่ข้อกล่าวหาเดิมจะขัดแย้งหรือซ้ำซ้อนกับข้อกล่าวหาใหม่หรือไม่ ก็เป็นข้อกฎหมายที่ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัย สำหรับการยื่นคำร้องต่อศาลขอออกหมายจับและหมายค้นต่างศาลกันเป็นเพราะศาลที่มีอำนาจออกหมายจับ คือศาลที่มีเขตอำนาจชำระคดีหรือศาลที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่จะทำการจับ ส่วนศาลที่มีอำนาจออกหมายค้น คือศาลที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่จะทำการค้น
ส่วนการยื่นขอออกหมายจับโดยไม่ระบุอาชีพ ยศ และตำแหน่ง ในหมายจับนั้น เห็นว่า ยศของข้าราชการตำรวจเป็นเพียงการแสดงถึงจำนวนปีที่รับราชการเท่านั้น อีกทั้งฐานความผิดที่ระบุในหมายจับก็เป็นฐานความผิดที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ กับทั้งการที่ศาลอาญากรุงเทพใต้จะพิจารณาออกหมายจับตามคำร้องของผู้ร้องหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานของผู้ร้องที่เสนอมาตามสมควรซึ่งเป็นสาระสำคัญยิ่งกว่าการระบุยศ ตำแหน่ง หรืออาชีพ ที่มิได้เกี่ยวข้องกับฐานความผิดดังได้วินิจฉัยไว้ข้างต้น
ส่วนจำเลยที่ 60 ที่มียศร้อยตำรวจเอกจึงเป็นการลงชื่อในคำร้องขอออกหมายจับที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว สำหรับการนำตัวโจทก์กับพวกไปฝากขังต่อศาลในเวลาใกล้ปิดทำการ การคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว และเหตุอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับคำร้องขอฝากขังนั้น
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว กรณีจึงไม่ใช่เหตุถึงขนาดที่จะฟังว่าจำเลยกับพวกปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อจำเลยที่ 244 (พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ )เพื่อเปลี่ยนคณะพนักงานสอบสวนนั้น
โจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นว่า จำเลยที่ 244 ได้ดำเนินการหรือไม่ดำเนินการอย่างใดในหน้าที่ อันจะแสดงให้เห็นว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ส่วนข้อกล่าวอ้างอื่นๆ ได้แก่ การค้นบ้านพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์เป็นเหตุให้ไม่ได้รับเลือกให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็ดี การโอนคดีไปอยู่ในความรับผิดชอบของกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีสาเหตุโกรธเคืองกับโจทก์ก็ดี และการนำพยานหลักฐานเดิมมาแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ก็ดี ล้วนแต่เป็นเพียงมูลเหตุจูงใจที่ลำพังไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยกับพวกกระทำความผิดตามฟ้อง
พิพากษายกฟ้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มาแล้ว! ศาลปกครอง ร่อนเอกสารชี้แจงปม 'บิ๊กโจ๊ก' ยังไม่มีคำพิพากษาใดๆ
ศาลปกครอง เผยแพร่เอกสารชี้แจง กรณีที่มีสื่อมวลชนนำเสนอผลการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล ยื่นฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการไว้ก่อน นั้น
กูรูใหญ่ปูดข่าว 'บิ๊กโจ๊ก' ให้การ ปปช. ยืนยันชั้น 14 'ป่วยทิพย์'
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก
ลุ้นองค์คณะฯอ่านคำพิพากษา ดับฝัน 'โจ๊ก-แมว9ชีวิต' กลับตร.
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา "บิ๊กโจ๊ก" - พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อตรวจสอบความชอบธรรมของคำสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งคดีนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางปกครองในระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ผบ.ตร. ไม่ขอก้าวล่วง ศาลปกครองสูงสุด ชี้ขาด 'บิ๊กโจ๊ก' ขอคุ้มครองชั่วคราว
พล.ต.อ.กิตติรัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลปกครองยกคำร้องคุ้มครองชั่วคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนของ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล ว่า ตนขอให้ความเห็นแบบกว้าง ๆ
ศาลปกครองสูงสุด ปิดเงียบผลชี้ขาดคดีบิ๊กโจ๊ก สั่งเก็บหลักฐานฟันสื่อละเมิดอำนาจศาล
นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
จบแล้วบิ๊กโจ๊ก! สะพัด ศาลปกครองสูงสุด ชี้คำสั่ง 'ให้ออกจากราชการ' ชอบด้วยกฎหมาย
ที่ศาลปกครองกลาง ถ.เเจ้งวัฒนะ มีการประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยนายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุม