12 มี.ค. 2567 – นางสาววงศ์อะเคื้อ บุญศล โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอี) กล่าวว่า จากการรายงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ หรือ ศูนย์ AOC 1441 (Anti Online Scam Operation Center) ระหว่าง วันที่ 4 – 8 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา มีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการถูกหลอกลวงผ่านเครือข่ายออนไลน์ในหลายรูปแบบจำนวน 5 คดี ประกอบด้วย
คดีที่ 1 หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ ที่ไม่มีลักษณะเป็นขบวนการ มูลค่าความเสียหาย 19,000 บาทรายละเอียดคดี พบว่า ผู้เสียหายได้ซื้อตั๋วคอนเสิร์ตผ่านช่องทาง X ผู้ชายใช้ชื่อ Wissyoumybaby โดยโอนค่าตั๋วชำระเงินเต็มจำนวน เมื่อถึงวันนัดรับตั๋วทราบว่ารหัสหมายเลขตั๋วที่ให้มานั้นเป็นของปลอม ผู้เสียหายจึงเชื่อว่าตนเองถูกมิจฉาชีพหลอก
คดีที่ 2 หลอกลวงให้โอนเงินเพื่อรับรางวัลหรือวัตถุประสงค์อื่นๆ มูลค่าความเสียหาย 3,990,363 บาทรายละเอียดคดี พบว่า ผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกให้ลงทุนหารายได้พิเศษ โดยการสั่งซื้อสินค้าเครื่องประดับ ผ่านแอปพลิเคชัน salesp.softonic-th.com เมื่อสั่งซื้อสินค้าจะได้รับคูปองส่วนลดและเงินต้นคืน ผู้เสียหายหลงเชื่อ จึงได้โอนเงินไปตามคำแนะนำของมิจฉาชีพ ในระยะแรกผู้เสียหายได้รับเงินต้นคืนจริง ต่อมาระยะหลังต้องโอนเงินเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่ได้รับเงินต้นคืนผู้เสียหายจึงเชื่อว่าตนเองถูกมิจฉาชีพหลอก
คดีที่ 3 หลอกลวงเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล มูลค่าความเสียหาย 10,587,673.30 บาท รายละเอียดคดี พบว่า ผู้เสียหายได้พูดคุยกับมิจฉาชีพผ่านแอปพลิเคชัน Tik Tok และได้ขอเพิ่มเพื่อน ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook โดยใช้ชื่อว่า “Wanich Sriutarawong” และอีกคนใช้ชื่อว่า“Sunisa jirathikul” ได้พูดคุยจนสนิทใจและขอเพิ่มเพื่อนผ่านแอปพลิเคชัน Line ต่อมาภายหลังได้มีการส่งลิงก์ http://bitsten.dtdp.live เพื่อชักชวนให้เข้าร่วมลงทุนแลกเปลี่ยนเงินตรา (สกุลเงิน) มีลักษณะเป็นการเทรด Forex มีการซื้อหรือขายเงินตรา เพื่อเก็งกำไร ต่อจากนั้นกดซื้อขายในสกุลเงินที่สนใจจากคำแนะนำและชักชวนของ “Sunisa” ผู้เสียหายจึงหลงเชื่อและได้โอนเงินไป ภายหลังผู้เสียหายเชื่อว่าตนเอง ถูกมิจฉาชีพหลอก
คดีที่ 4 ข่มขู่ทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน มูลค่าความเสียหาย 15,061,184 บาทรายละเอียดคดี พบว่า มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ โทรศัพท์ติดต่อเข้ามาหาผู้เสียหาย แจ้งว่าเงินในบัญชีของผู้เสียหายได้มาโดยผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องตรวจสอบเส้นทางการเงิน โดยให้ผู้เสียหายตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากลิงก์ที่ส่งมาให้ ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงคลิกลิงก์และกรอกยืนยันข้อมูลดังกล่าวไป ต่อมาผู้เสียหายเช็คยอดเงินในบัญชีของตนพบว่า ได้ถูกโอนออกไปจากบัญชี จึงเชื่อว่าตนเองถูกมิจฉาชีพหลอก
และ คดีที่ 5 ข่มขู่ทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน มูลค่าความเสียหาย 23,770,442.70 บาทรายละเอียดคดี พบว่า มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย โทรศัพท์ติดต่อเข้ามาหาผู้เสียหาย แจ้งว่า มีคนนำบัตรเครดิตของผู้เสียหายไปรูดซื้อสินค้าที่ห้างเซ็นทรัล สาขาสุราษฎร์ธานี ผู้เสียหาย ต้องไปเอาใบแจ้งความที่ สภ.สุราษฎร์ธานี เพื่อส่งเรื่องไปยังธนาคารกรุงไทยสำนักงานใหญ่ มิจฉาชีพติดต่อ สภ.สุราษฎร์ธานี ให้กับผู้เสียหายโดยการพูดคุยผ่านทาง Line Video Call และแจ้งกับผู้เสียหายว่า เป็นผู้ต้องสงสัยคดีการฟอกเงิน หากเป็นผู้บริสุทธิ์ให้โอนเงินเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเส้นทางการเงินและข่มขู่กับผู้เสียหายว่าห้ามบอกใคร มิฉะนั้น จะเกิดความไม่ปลอดภัย ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงโอนเงินไปให้ตรวจสอบ ภายหลังผู้เสียหาย เชื่อว่าตนเองถูกมิจฉาชีพหลอก รวมมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้ง 5 คดี 53,428,663 บาท
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีความเป็นกังวล และขอให้ประชาชนระวังการหลอกลวงจากมิจฉาชีพที่ติดต่อเข้ามาผ่านโทรศัพท์ และสื่อสังคมออนไลน์ หากมั่นใจว่าปลายสายเป็นมิจฉาชีพ ให้วางสายทันที และแจ้งเบาะแสกับหน่วยงานที่ดูแล
“ดีอี ขอเตือนภัยให้ประชาชนระวังการหลอกลวงจากมิจฉาชีพที่ติดต่อเข้ามาในหลากหลายรูปแบบ ให้สังเกต และงดรับสายจากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย รวมทั้งไม่พูดคุยกับคนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่รู้จักที่เข้ามาทักทายและขอเป็นเพื่อนผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ขอให้ท่านอย่าไว้ใจหรือตระหนักเสมอถึงความปลอดภัยของตัวท่านเอง อย่าไว้ใจคนแปลกหน้า เพื่อป้องกันการถูกกลอกลวงจากมิจฉาชีพ ซึ่งอาจจะทำให้ท่านโอนเงินให้กับมิจฉาชีพจนหมดตัวได้ รวมทั้งช่วยกันแจ้งเตือน และกดรายงานเพจปลอม หรือแจ้งเบาะแสกับหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบด้วย” นางสาววงศ์อะเคื้อ กล่าว
ทั้งนี้ หากประชาชนโดนหลอกออนไลน์ โทรแจ้งดำเนินการ ระงับ อายัดบัญชี AOC 1441 หรือหากประชาชนมีข้อสงสัยโดนหลอกออนไลน์สามารถโทรปรึกษา สายด่วน AOC 1441 และ GCC 1111
โทรฟรีตลอด 24 ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดีอี เตือนภัย ‘โจรออนไลน์’ สร้างเพจปลอมลงทะเบียนสินเชื่อล้างหนี้นอกระบบ
ดีอี เตือนภัย “โจรออนไลน์” สร้างเพจปลอม “ลงทะเบียนสินเชื่อล้างหนี้นอกระบบ ให้กู้ 50,000 บาท คืน 1,083 บาทต่อเดือน ผ่าน TikTok nongbdwo314” หวั่น ปชช.สูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
เตือนภัย 'มิจฉาชีพ' ใช้สื่อโซเชียล หลอกลงทุน – ปล่อยกู้ แถมแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ลวงเหยื่อ
AOC 1441 เตือนภัย “มิจฉาชีพ” ใช้สื่อโซเชียล หลอกลงทุน – ปล่อยกู้ แถมแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ลวงเหยื่อ สูญเงินกว่า 8 ล้านบาท
'ธนกร' จี้กวาดล้างแก๊งลวงผู้สูงวัย-ปชช. หลอกกดลิงก์รับเงินหมื่น หลังรัฐเตรียมแจกเฟส 2
'ธนกร' เรียกร้อง รัฐบาล-ตร. เร่งกวาดล้างปราบแก๊งลวงผู้สูงวัย-ปชช. ระบาดหนัก หลอกกดลิงก์รับเงินหมื่น หลัง รัฐเตรียมแจกเฟส 2 ฝาก ดีอีล้อมคอก เตือนภัยให้คนรู้เท่าทัน หยุดกระบวนการไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพอีก
โจรออนไลน์อ้างหน่วยงานรัฐ สูญเงินกว่า 1 ล้านบาท
AOC 1441 เตือนภัย “โจรออนไลน์” อ้างหน่วยงานรัฐ ข่มขู่-ติดตั้งแอปดูดเงิน-หลอกลงทุน สูญเงินกว่า 1 ล้านบาท
สั่งศูนย์ต้านเฟกนิวส์ สอบเพจรับบริจาคเงินช่วยเหตุบัสไฟไหม้
'ประเสริฐ' สั่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตรวจสอบเพจเปิดรับบริจาคเงินช่วยนักเรียนบัสมรณะ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ