แฟ้มภาพ นายเมธา ชลิงสุข หรือ บอนนี่
ยกฟ้อง บอนนี่ เจ้าของร้านอาหารญี่ปุ่น ดารุมะซูชิ ลวงขายคูปอง -แฟรนไชส์ เสียหายหลายร้อยล้าน ชี้เป็นการบริหารที่ผิดพลาดไม่เข้าเจตนาทุจริตหลอกลวงชี้เป็นเรื่องทางเเพ่ง
15 ก.พ.2567 - เมื่อเวลา 09.00น. ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาคดีฉ้อโกงประชาชน ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 5 เป็นโจทก์ฟ้องบริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด และนายเมธา หรือบอนนี่ ชลิงสุข อายุ 41 ปีกรรมการผู้มีอำนาจร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันฟอกเงิน ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ
โดยอัยการโจทก์ระบุฟ้องความผิดสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 18 พ.ค.64- 18 มิ.ย.65 ต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงประกาศขายอาหารบุฟเฟต์ญี่ปุ่นโปรโมชั่นต่างๆ รวมทั้งจำหน่ายคูปองใบละ199 บาท250บาท299บาทและ399 บาทผ่านแอปพลิเคชั่นDaruma sushi โดยโอนเงินผ่านบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 แต่ความจริงแล้วพวกจำเลยมิได้มีเจตนาตั้งแต่ต้นที่จะประกอบกิจการร้านอาหารญี่ปุ่นดังกล่าวเป็นเำยงกลอุบายให้หลอกลวงจนมีผู้เสียหาย 988 รายหลงเชื่อซื้อคูปอง เป็นความผิด 988 กรรม
นอกจากนี้ จำเลยยังหลอกลวงประกาศขายแฟรนไชส์ ให้ผู้สนใจร่วมลงทุนราคาตั้งแต่ 2 ล้านบาทถึง 2.5 ล้านบาทต่อสาขาโดยมีผู้เสียหาย 11รายหลงเชื่อชื้อแฟรนไชส์ จากจำเลยเป็นความผิด 11 กรรม
คำฟ้องระบุอีกว่า เมื่อระหว่างวันที่ 18 พ.ค.64- 18มิ.ย.65 ยังร่วมกันฟอกเงินโดยรับโอนเงินที่ได้จากการ
กระทำผิดจำนวน 150.7ล้านบาทเศษ เข้าบัญชีธนาคารตนเองเพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริง ซึ่งการได้มาแล้วโอนเข้าบัญชีธนาคารอื่นหลายครั้งหลายหน
โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิด และร่วมกันคืนเงินหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายแต่ละรายตามความเสียหายรวม 42.3 ล้านบาทเศษด้วย
วันนี้ทนายจำเลยที่ 1 และเบิกตัวจำเลยที่ 2 จากเรือนจำมาฟังคำพิพากษา
ศาลได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ โจทก์ร่วม จำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้ง 2 ได้ร่วมกันเปิดร้านอาหารดารุมะซูชิจำหน่ายอาหารญี่ปุ่นแบบบุฟเฟ่ต์ โดยมีการขายคูปองอาหารตามโปรโมชั่นตามเพจเฟชบุ๊กและแอพพลิเคชั่นดารุมะซูชิ ร่วมทั้งเปิดขายแฟรนไชน์ ให้ผู้สนใจร่วมลงทุน โดยที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารแล้วจะแบ่งผลกำไรให้ตามที่ตกลงไว้ ขณะเกิดเหตุมีร้านอาหารดารุมะซูชิทั้ง 27 สาขา ต่อมาวันที่ 16 มิ.ย.65 ทางร้านได้ประกาศปิดปรับปรุงกิจการชั่วคราว เนื่องจากขาดสภาพคล่องทำให้ผู้ที่ซื้อคูปองไม่สามารถมาใช้บริการที่ร้านอาหาร ได้รับความเสียหายจำนานมาก
ต้องวินิจฉัยประการแรกว่าจำเลยทั้ง 2 มีเจตนาทุจริตฉ้อโกงผู้เสียหายหรือไม่ เห็นว่า จำเลยทั้ง 2 ได้เปิดร้านอาหารมาตั้งแต่ พ.ศ. 2559 และมีผู้บริโภคสนใจจำนวนมากทำให้สามารถขยายกิจการได้อีกหลายสาขา และมีการขายคูปองทำโปรโมชั่น ผู้ที่ใช้บริการก็ยังนำคูปองมาใช้บริการได้ตามปกติ จนกระทั่งเกิดการบริหารงานและการคาดการณ์ที่ผิดพลาดของจำเลยที่ 2 ประกอบกับเกิดเหตุสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาปลาแซลม่อนซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักราคาสูงขึ้น จนทำให้จำเลยที่ 2 ขาดสภาพคล่องไม่สามารถชำระค่าปลาแซลม่อน เลยบริหารกิจการต่อไปไม่ได้
แม้การตั้งราคาโปรโมชั่น 199บาท จะต่ำกว่าราคาทุนของราคาปลาแซลมอนที่ขายกิโลกรัมละ 300 บาท แต่เห็นว่าเป็นการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อแข่งขันทางตลาด ดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการจำนวนมาก
อีกทั้งการขายแฟรนไชน์ให้คนที่ร่วมลงทุน เป็นการตกลงทำสัญญาแบ่งผลกำไรให้ตามสัดส่วน แล้วทางจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้บริหารจัดการ ซึ่งจำเลยที่ 2 ไม่ได้บังคับซื้อขายร้านแฟรนไชน์ เป็นความพอใจระหว่างกัน ทั้งนี้จำเลยที่2 ก็มิได้กีดกันหากผู้ซื้อแฟรนไชน์จะเข้ามาร่วมบริหารงาน และในทุกๆวันจะมีระบบส่งอีเมล์แจ้งรายละเอียดเรื่องรายรับรายจ่ายแต่ละวันให้ทราบ แล้วทุกร้านของดารุมะซูชิจะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดให้สามารถดูออนไลน์ได้ตลอดเวลา ไม่ได้ปิดบังข้อมูล ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยทั้ง 2 เจตนาจะหลอกลวงเป็นการบริหารงานผิดพลาด มิได้มีเจตนาจะทุจริต เหตุที่เกิดจึงเป็นการผิดสัญญาเป็นความผิดทางเเพ่ง
ปัญหาประการต่อมาว่าจำเลยทั้ง 2 ร่วมกันฟอกเงินหรือไม่ จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า จำเลยที่ 2 ได้มีการโอนเงินบางส่วนให้กับมารดาบุญธรรมเป็นประจำทุกเดือน รวมทั้งโอนเงินเข้าบัญชีชื่อเพื่อนสนิทแต่เป็นการชำระหนี้ที่กู้ยืมมา นอกจากนี้มีการโอนเงินไป บ.แห่งหนึ่งแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยเป็นเงินสกุลดอลลาร์ ก็เพียงเพื่อไว้ใช้ระหว่างอยู่ต่างประเทศเท่านั้น ด้วยเหตุข้างต้นจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยทั้ง 2 มีความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน พยานหลักฐานโจทก์และผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ร่วมนำสืบมานั้น ยังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้ง 2 กระทำผิดตามฟ้อง
พิพากษายกฟ้อง
ผู้ข่าวรายงานว่า บรรยากาศในห้องพิจารณามีมารดาบุญธรรม และญาติของจำเลย มาร่วมรับฟัง ไม่มีผู้เสียหายเข้าร่วมรับฟังแต่อย่างใด เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง เมธา หรือบอนนี่ จำเลยที่ 2 ได้ร้องไห้สะอึกสะอื้น โผกอดมารดาบุญธรรมและกล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ร่วมรับฟังว่ารู้สึกดีใจมาก ตนถูกจองจำมา 1 ปี 8 เดือน ยังไม่พร้อมให้สัมภาษณ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เมีย-ลูก 'หมอบุญ' มอบตัวคดีร่วมกันฉ้อโกง อ้างถูกปลอมลายเซ็น ยันเอาผิดสามี-ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
นางจารุวรรณ วนาสิน อายุ 79 ปี ภรรยาของนายแพทย์บุญ ซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกันในสัญญาต่างๆ พร้อมด้วย น.ส.นลิน วนาสิน อายุ 51 ปี บุตรสาวของนายแพทย์บุญ ซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกันในสัญญาต่างๆ
'เชน ธนา' ปล่อยโฮกลางวงสื่อ ชี้แจงหลังถูกกล่าวหาโกงเงิน 79 ล้าน!
กำลังเป็นประเด็นร้อนเลยทีเดียวเมื่อ เชน-ธนาตรัยฉัตร ภูโชคอนันต์ อดีตนักร้องนักแสดงที่ผันตัวไปทำธุรกิจ บริษัท อมาโด้ กรุ๊ป จำกัด ถูกกล่าวหาว่าโกงเงินค่าสินค้ามากถึง 79 ล้านบาท ล่าสุดเจ้าตัวพร้อมภรรยา เจมส์ กาลย์กัลยา และทนายความ ได้หอบหลักฐานเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ในช่วงบ่ายของวันนี้ (จันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567) ที่กองบังคับการปราบปราม
อัยการ สั่งฟ้อง 'แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์' 4 ข้อหา ฉ้อโกง พรบ.คอมพ์ฯ โฆษณาเท็จ ขายทองไม่ได้มาตรฐาน
นายศักดิ์เกษม นิไทรโยค ผู้ตรวจการอัยการ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า ตามที่พนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.)
คอตกนอนเรือนจำ! ฝากขัง 'อ๊อด ตี่ลี่ฮวงจุ้ย' ไม่ยื่นขอประกันตัว
พนักงานสอบสวน กองกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม ได้นำตัวนายธนวันต์ จิรเจริญเวศน์ หรือ ตี่ลี่ฮวงจุ้ย ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 5404/2567
แจ้งข้อหาเพิ่ม 'ทนายตั้ม' ปมเงิน 39 ล้าน หลังรวบคนสนิทร่วมฉ้อโกง-ฟอกเงิน
พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผู้บังคับการปราบปราม เปิดเผยถึงปมเงิน 39 ล้านบาทของ น.ส.จตุพร อุบลเลิศ หรือ มาดามอ้อย แจ้งความดำเนินคดี ว่า ด้านตำรวจไม่ได้นิ่งนอนใจสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน โดยวันที่ 11 พ.ย. 67
กองปราบจับเพิ่ม 2 ผัวเมีย ร่วม 'ทนายตั้ม' ฉ้อโกงเงิน 'เจ๊อ้อย' 39 ล้าน
ที่กองบังคับการปราบปราม พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป. สั่งการตำรวจกองปราบ นำกำลังเข้าจับกุม นายนุวัฒน์ ยงยุทธ