25 ม.ค.2567 - จากกรณีนายปัญญา คงแสนคำ อายุ 54 ปี หรือลุงเปี๊ยก (สามีผู้ตาย) เป็นแพะในคดีเกิดเหตุฆาตกรรมอุกฉกรรจ์ในจังหวัดสระแก้ว น.ส.บัวผัน ตันสุอายุ 47 ปีถูกกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 13-16 ปี จำนวน 5 ราย ซึ่งมีลูกชายของรองสารวัตรฝ่ายสืบสวน สภ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ร่วมกันทำร้ายร่างกายป้าบัวผันจนถึงแก่ชีวิต ก่อนนำร่างทิ้งสระน้ำ ต่อมาพบพยานหลักฐานจากกล้องวงจรปิด จึงทราบว่าลุงเปี๊ยกคือแพะในคดี ต่อมาจึงมีการเริ่มเปิดเผยว่าในขั้นตอนสอบปากคำลุงเปี๊ยก พนักงานสอบสวน สภ.อรัญประเทศ ได้มีการใช้ถุงดำคลุมศรีษะ มีการเร่งแอร์จนหนาวเย็นและบังคับให้ลุงเปี๊ยกถอดเสื้อ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำสารภาพ ซึ่งเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 หรือ พ.ร.บ.อุ้มหายฯ หรือไม่นั้น วานนี้(24 ม.ค.)พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รรท.อธิบดีดีเอสไอ ได้ลงนามเอกสารด่วนที่สุด ที่ ยธ. 0853/260 นำส่งไปยังอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน เพื่อแจ้งเรื่องรับสืบสวนสอบสวนเป็นคดีพิเศษ แล้วนั้น
เมื่อวันที่ 25 ม.ค.67 พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ โฆษกดีเอสไอ เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ดีเอสไอได้รับกรณีของลุงเปี๊ยกเป็นคดีพิเศษ เนื่องจาก พ.ร.บ. พ.ร.บ.อุ้มหายฯ ในมาตรา 31 ระบุไว้ว่าหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวนได้มีอยู่ 4 หน่วยงาน คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กรมการปกครอง และสำนักงานอัยการสูงสุด อีกทั้งเมื่อไปดูรายละเอียดในมาตรา 31 วรรคสอง ระบุไว้ว่าหากกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับไว้ดำเนินการก็ให้เป็นคดีพิเศษ ตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ดังนั้น กระบวนการที่จะต้องทำหลังจากนี้ คือ ดีเอสไอจะต้องแจ้งการรับคดีพิเศษนี้ไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อรับทราบและมอบหมายให้พนักงานอัยการเข้ามาร่วมในการตรวจสอบกับดีเอสไอ รวมถึงเราเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจ และเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายครั้งแรก จึงมีความเห็นว่าควรเชิญหน่วยงานทั้ง 3 หน่วยงานที่กล่าวเข้ามาร่วมประชุม และเป็นพนักงานสอบสวนร่วมกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี โดยดีเอสไอจะเสนอเรื่องผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จากนั้นจึงจะมีการสอบสวนร่วมกันทั้ง 4 หน่วยงาน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
พ.ต.ต.วรณัน กล่าวอีกว่า ส่วนการที่ดีเอสไอได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบปากคำเบื้องต้นกับลุงเปี๊ยกถึงพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.อรัญประเทศ ในวันเกิดเหตุนั้นในข้อเท็จจริงมีพยานหลักฐานพอสมควร มีเหตุที่จะเข้าสู่กระบวนการสอบสวนได้ ส่วนรายละเอียดเชิงลึกขอละเว้นการเปิดเผยไว้ก่อน แม้ส่วนใหญ่จะมีการเห็นได้จากสื่อสารมวลชนอยู่แล้ว ทั้งเรื่องคลิปวิดีโอ เป็นต้น จึงยังเร็วไปที่จะปักธงว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกระทำความผิด เพราะต้องดูรายละเอียดให้ครบถ้วนก่อน อย่างไรก็ตาม แม้ท้ายสุดจะมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องจริง กฎหมายก็ได้ระบุไว้ว่าให้พนักงานสอบสวนแจ้งไปยัง ป.ป.ช. เพื่อรับทราบและทำการสอบสวนต่อไป
พ.ต.ต.วรณัน กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินคดี หรืออัตราโทษ หากมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.อุ้มหายฯ มีทั้งโทษทางปกครองและอาญา ขึ้นอยู่กับว่าประพฤติผิดในรายมาตราใดของกฎหมายดังกล่าว เบื้องต้นมีโทษจำคุกที่ 5-15 ปี และต้องรอดูการรวบรวมข้อมูลของทางคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของตำรวจด้วย ทั้งนี้ พฤติการณ์ทางคดีการเสียชีวิตของ น.ส.บัวผัน ตันสุ และของลุงเปี๊ยกถือว่าแยกขาดจากกัน แต่สามารถใช้รายละเอียดในคดีประกอบการพิจารณาได้ หากมีความคืบหน้าอย่างไรจะรายงานให้สาธารณะได้รับทราบต่อไป และทั้ง 4 หน่วยงานจะนัดหมายประชุมในเรื่องลุงเปี๊ยกให้เร็วที่สุด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตั้งกก.สอบผกก.บางซื่อ ทนายปาเกียวเล็งทิ้งตั้ม
“ดีเอสไอ” เตรียมสรุปสำนวนคดี 18 บอสดิไอคอนเสนออัยการคดีพิเศษภายใน 20 ธ.ค.นี้
'ดีเอสไอ' จ่อบุกเรือนจำสอบปากคำ 'เจ๊พัช' ปมคลิปเสียงจ่ายสินบนดีเอสไอ 10 ล้าน
พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ และในฐานะโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีคลิปเสียงสาวอ้างจ่ายเงิน 10 ล้านบาทให้ ดีเอสไอ
โฆษกดีเอสไอ เผยผลสอบสินบน คลิปเสียงเทวดา DSI เอี่ยวดิไอคอน จะออกเร็วๆนี้
พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ ในฐานะโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงความคืบหน้าของคดีบริษัท ดิ ไอ คอน กรุ๊ป ว่า กรณีที่ทนายวิฑูรย์ เก่งงาน ทนายความของบอสพอล จะนำพยานชุดแรก
ส่งฟ้องแล้ว! 'ดีเอสไอ' แจ้ง 2 ข้อหาหนัก 8 ตำรวจสภ.อรัญฯ ซ้อมทรมานลุงเปี๊ยก
นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน หัวหน้าคณะทำงานตรวจสอบหรือกำกับการสอบสวน ตามมาตรา 31 แห่ง พรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายพ.ศ. 2565
'อัยการวัชรินทร์' สอบปากคำ 'ลุงเปี๊ยก' ยืนยันให้การเดิม คดีตำรวจอรัญฯอุ้มทรมาน
นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน หัวหน้าคณะทำงานตรวจสอบหรือกำกับการสอบสวน ตามมาตรา 31 แห่ง พรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
คณะทำงานคดีอุ้มทรมานลุงเปี๊ยก ฟันตำรวจอรัญฯ ข้อหา ม.157-พรบ.อุ้มหาย
นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน หัวหน้าคณะทำงานตรวจสอบหรือกำกับการสอบสวนตามมาตรา 31 แห่ง พรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ร่วมประชุมร่วมกับพนักงานสอบสวนดีเอสไอ ใ