'ณัฐชา' เตรียมถกกฎหมายเด็ก รับไม่ได้ ตร.ให้ท้าย-พัวพันคดี 'ป้าบัวผัน'


17 ม.ค.2567 - ที่รัฐสภา นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกรรมาธิการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงคดีป้าบัวผันที่มีเยาวชนเป็นผู้กระทำผิด ว่า เรื่องนี้ในสังคมรับรู้รับทราบดี ว่าเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นหลายครั้ง ซึ่งผู้กระทำผิดเป็นลูกของเจ้าหน้าที่ผู้ที่มียศฐาบรรดาศักดิ์ ก็จะเกิดการให้บุคคลที่ 3 ที่มีฐานะยากจนรับโทษแทน ครั้งนี้ก็เป็นเหตุน่าสะเทือนใจ โดยเฉพาะการที่ผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน ซึ่งเด็กเหล่านี้ไม่น่ากระทำความรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น จึงต้องติดตามต่อไปว่าคดีจะมีความคืบหน้าอย่างไร

ส่วนสิ่งที่สังคมสงสัย ในโทษที่เด็กจะได้รับ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมโยนมาให้สภาฯ แก้กฎหมาย นายณัฐชา กล่าวว่า การที่ลดโทษให้เด็กลง หรือการให้เข้าสถานพินิจ เพราะกฎหมายมองว่าเด็กอาจจะทำความผิดครั้งแรก ไม่ได้มีความตั้งใจหรือวางแผนตระเตรียม เพื่อไปกระทำความผิด จึงไม่อยากให้ตราบาปที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นตราบาปไปตลอดชีวิต จึงมีช่วงอายุในการรับโทษขึ้นมา ซึ่งพอเกิดเหตุการณ์กรณีที่รุนแรงขึ้น จนเกิดการถึงแก่ความตายของบุคคลที่ 2 หรือ3 แน่นอนว่าผู้เสียหายก็ไม่ยอม ที่ผู้กระทำความผิดได้รับโทษน้อยลง

"ในตัวบทกฎหมายเราให้โอกาสเด็ก แต่ในการให้โอกาสนั้น ต้องคำนึงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าวันนี้สิ่งที่เด็กกระทำมีความผิดเทียบเท่าผู้ใหญ่แล้วหรือยัง การฆ่าคนตายโดยเจตนาโดยการรุมทำร้ายหรืออะไรต่างๆ แน่นอนว่าเกินกว่าเหตุ เกินกว่าความเป็นเด็กไปมาก เราก็อาจจะรับไม่ได้"นายณัฐากล่าว

นายณัฐชา กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะเด็กที่เป็นลูกของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ อาจจะมีการช่วยเหลือให้ท้าย หรือปล่อยปละละเลย จนทำให้เกิดเหตุขึ้นหรือเป็นพฤติกรรมแวดล้อมที่คนในครอบครัวกระทำเป็นประจำทำให้เกิดการเลียนแบบ จนทำให้เด็กคิดว่าตนเองจะไปทำอะไรก็ได้ เช่น ไปจับโจร ไปตามล่าผู้ที่มากลั่นแกล้งตนเอง โดยไม่ต้องเกรงกลัวต่อกฎหมาย

ส่วนที่หลายคนมองว่าเด็กไม่ควรได้รับสิทธิ์คุ้มครองแบบนี้ มีโอกาสที่จะยกเว้นในกรณีนี้หรือไม่ นายณัฐชา ได้ยกตัวอย่าง ในกรณีที่ทำให้ถึงแก่ความตาย และเกิดความเสียหายต่อสังคมเป็นวงกว้าง เราอาจจะส่งนักจิตวิทยาไปช่วยสืบหาข้อเท็จจริงก็ได้ ว่าเด็กกลุ่มนี้มีการกระทำเช่นนี้เป็นประจำหรือไม่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรุนแรงอาจจะเกิดมาก่อนหน้านี้แต่ไม่เป็นคดี เช่น ยกพวกทะเลาะวิวาท ก่อนจะทำให้คนเสียชีวิต และแน่นอนว่าผู้เสียหายไม่ยอมต่อเรื่องนี้

"เราอาจจะเห็นในสังคม เวลาเกิดเหตุแรงๆขึ้น ก็จะเห็นการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ ไปจับคนวิกลจริตมา บอกว่าเป็นโรคจิต แม้กระทั่งไปจับเด็กมา เด็กที่อยู่ในครอบครัวโดดเดี่ยวและยากจน เพื่อให้ได้รับโทษที่น้อยลง ซึ่งมีกระบวนการช่วยเหลือกันแบบนี้เป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้นสังคมต้องยอมรับได้แล้ว เมื่อมีกลุ่มคนใดคนหนึ่งที่บทลงโทษน้อยกว่า แต่เป็นการกระทำความผิดแบบเดียวกัน เช่น ฆ่าคนตายเด็กรับโทษแบบหนึ่ง ผู้ใหญ่คนวิกลจริตรับอีกแบบหนึ่ง ก็จะมีกระบวนการช่วยเหลือ“ นายณัฐชา กล่าว

นายณัฐชา กล่าวย้ำว่า เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องที่รับไม่ได้ ดังนั้นผู้มีสิทธิ์ส่วนเกี่ยวข้องทุกคนไม่ควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ และกรณีนี้จะเป็นกรณีตัวอย่างให้เราหยิบยก เรื่องเหล่านี้มาพูดเสียที หากเกิดเหตุจนเสียชีวิต โทษของเด็กจะเป็นอย่างไร

เมื่อถามว่า ต้องปฏิรูปองค์กรตำรวจด้วยหรือไม่ นายณัฐชา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เกิดวิกฤตศรัทธาต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) หลายครั้งหลายกรณี เรื่องที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ที่ตำรวจไม่สามารถสร้างความชอบธรรมและความมั่นใจให้กับประชาชนได้ การที่ช่วยคนใดคนหนึ่ง แต่ทำลายความเชื่อมั่นต่อองค์กรตำรวจทั้งองค์กร แบบนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ และ พี่น้องตำรวจ 200,000 นายทั่วประเทศเขาไม่ได้รับรู้รับทราบด้วยทำให้หมดศรัทธาไปด้วย ดังนั้นขอให้นึกว่าท่านยังมีเพื่อนตำรวจอีก ที่ต้องรับกับสถานการณ์ไปด้วย

นายณัฐชา เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 ม.ค.ที่จะถึงนี้ ตนจะนำเรื่องนี้เข้าหารือในชั้นกรรมาธิการของตนเอง และอาจจะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กมาหารือร่วมกัน ถ้าไปถึงการแก้กฎหมาย ก็จะหยิบยกไปพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เมื่อถามถึงกรณีที่ #ยกเลิกกฎหมายเยาวชน ติดแทรนด์ทวิตเตอร์ อันดับ 1 นายณัฐชา กล่าวว่า ก่อนจะยกเลิกตนเชื่อว่ายังมีหลายคนได้โอกาสตรงนี้เมื่อครั้งที่กระทำความผิด หรือพลาดพลั้งในวัยเด็ก เพื่อไม่ให้เป็นตราบาปไปตลอดชีวิตก็ยังมีหลายคนที่ได้รับประโยชน์จากการกระทำที่เกินกว่าเหตุแบบนี้เราต้องแยกออกไป ถ้าเราไปยกเลิกเลยยังมีเด็กอีกหลายคน ที่ทำผิดแค่ลหุโทษ ไม่ได้ตั้งใจไม่ได้รุนแรง จะโดนหางเลขไปด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. ห่วง "เด็กและเยาวชน" ติดกับดักความสุข เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับคนอื่น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยร่วมกับ Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบที่เคยร่วมงานจากนิทรรศการ “Homecoming

'วราวุธ' ไม่มีความเห็นดึงกัญชากลับเป็นยาเสพติด อยากให้มีมาตรการควบคุมเข้มงวด

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีข้อสังเกตเรื่องนโยบายรัฐบาล ที่มีความเห็นต่างระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล เช่น เรื่องนำกัญชากลับเข้าบัญชียาเสพติด จะ

'วราวุธ' เผย 6 สาเหตุหลัก ความรุนแรงเด็กและเยาวชนพุ่งขึ้นในช่วง 5 ปี

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.พม. แถลงข่าวการขับเคลื่อนงานของศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ถึงสถานการณ์ความรุนแรงของเด็กและเยาวชน

'ธนกร' แนะผู้ปกครอง-ครูใส่ใจพฤติกรรมเด็ก

'ธนกร' ฝาก ผู้ปกครอง-ครู ใส่ใจพฤติกรรมเด็กใกล้ชิด หลังพบเยาวชนก่อเหตุรุนแรงไม่แผ่ว แนะครอบครัวช่วยชี้แนวทางสร้างภูมิคุ้มกัน เริ่มจากที่บ้าน หวั่นทำพฤติกรรมเลียนแบบโซเชียลฯ-เกม

'นพ.ธีระ' ยกวิจัย 'สหรัฐ-อาร์เจนตินา' ชี้โควิดทำเด็กเสี่ยง Long COVID

'หมอธีระ' ยกผลวิจัยเมืองมะกัน-อาร์เจนตินาเตือนเรื่อง Long COVID ในเด็กและเยาวชน สหรัฐเผยเป็นสาเหตุทำให้เก็ดเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ส่วนอาร์เจนฯ ระบุ 1 ใน 3 เด็กติดเชื้อเจอภาวะลองโควิด