'บก.ลายจุด' ชี้กรณีศาลทหารตัดสินคดี'น้องจูน'ข้อพิพาทเป็นการกระทำของทหารแต่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงจึงขัดต่อเจตนารมณ์ของกฏหมาย จี้ยกเลิกกฎอัยการศึก ใช้ศาลยุติธรรมเป็นกลไกในการพิจารณาคดี
17 ธ.ค.2564 - จากคดี น้องจูน -น.ส.สุกฤตา สุภานิล ถูกอดีตสามีซึ่งเป็นทหาร ทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัส และศาลทหารเพิ่งมีคำตัดสินคดีเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา ลงโทษจำเลย 1 ปี 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญา ขณะที่อีก 2 ข้อหายกฟ้อง จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมในขณะนี้
นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด นักเคลื่อนไหวทางการเมือง แกนนำกลุ่มคาร์ม็อบ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงเรื่องดังกล่าว ว่า
Update กรณีศาลทหารและกฏอัยการศึก กรณีน้องจูน
ผมคิดว่ามีคำตอบในเรื่องนี้แล้ว โดยเราต้องปรับความเข้าใจใหม่อีกครั้ง
1.พื้นที่สามร้อยยอดเป็นพื้นที่มีการประกาศใช้กฏอัยการศึกในระดับพื้นที่มานานแล้ว เหมือนกับหลายพื้นที่ในประเทศไทยที่ยังคงมีการประกาศกฏอัยการศึก น่าจะหลายสิบปีแล้วแต่ไม่ได้ยกเลิก
2.ในธรรมนูญศาลทหาร หากเกิดข้อพิพาทระหว่างทหารด้วยกันต้องขึ้นศาลทหาร และ หากเกิดขึ้นในพื้นที่ๆมีการประกาศใช้กฏอัยการศึกจะตัดสินโดยศาลเดียว ไม่มีการอุทรธ์ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในภาวะสงคราม
3.คำถามต่อไปคือ ข้อพิพากดังกล่าวเป็นการกระทำของทหารก็จริง แต่ไม่ใช่กิจการทหารหรือเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแต่ประการใด ประกอบกับพื้นที่ไม่มีเหตุภาวะสงครามหรือภาวะฉุกเฉินใดๆมานานหลายสิบปีแล้ว การบังคับใช้ พรบ ธรรมนูญศาลทหารในกรณีนี้จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของกฏหมายและขัดต่อข้อเท็จจริงแวดล้อม
4.ควรให้มีการพิจารณาทบทวนและยกเลิกพื้นที่ๆมีการประกาศกฏอัยการศึกเฉพาะพื้นที่บางแห่งที่มีการประกาศไว้นานมากแล้วและไม่มีความจำเป็นเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์นำคดีเช่นคดีน้องจูนอีก
5.การมีอยู่ของศาลทหารในสภาวะไม่มีศึกสงคราม ควรถูกทบทวนและจำกัดเท่าที่จำเป็น และควรใช้ศาลยุติธรรมเป็นกลไกในการพิจารณาคดี เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและมีมาตรฐานเดียวกัน
ก่อนหน้านั้น นายสมบัติ โพสต์ว่า ผมตามข่าวนี้เหมือนคนไทยทั่วไป รู้สึกแบบเหมือนๆกันตั้งแต่เกิดเหตุการณ์และจนมาถึงการตัดสินของศาลทหาร
ผลการตัดสินออกมาเช่นนี้ สังคมมีคำตอบในใจ แต่ที่ผมยังสงสัยอยุ่คือ การทำร้ายร่างกายของคน 2 คน แม้จะเป็นทหาร แต่ไม่ใช่อยุ่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ทำไมไม่ขึ้นศาลพลเรือน
การอ้างประกาศ คสช ว่าให้คดีบนศาลทหารเหลือเพียงศาลเดียว โดยที่ไม่สามารถอุทรณ์ได้นั้น เป็นเรื่องที่แปลก เพราะผมก็โดนคดี ม.116 ขึ้นศาลทหารเช่นกัน แต่ต่อมามีการยกเลิกคำสั่งและย้ายคดีไปสู่ศาลพลเรือน และกลับมาใช้กลไกปกติคือ อุทรณ์และฏีกาได้ ดังนั้นเคสของน้องจูนจึงเป็นเรื่องที่ขัดทั้งหลักการและความรู้สึกเป็นอย่างยิ่งในหลายมิติ
ผมหวังว่าจะมีนักกฏหมายที่หาช่องทางฟื้นคดีนี้ขึ้นมาใหม่ และพิจารณาอยู่ในกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้องกว่านี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โปรดเกล้าฯ ถอดถอนและแต่งตั้ง ‘ตุลาการศาลทหารสูงสุด’ จำนวน 66 ราย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด จำนวน 66 ราย
อึ้ง! เปิดคำฟ้อง 'ตะวัน-แฟรงค์' บีบแตร ขับรถแทรก ไล่ติดตาม ขบวนเสด็จ ท้าทาย-ดูหมิ่น
'แฟรงค์ได้ร่วมกันบีบแตรรถยนต์ตลอดเวลาเสียงดังยาว 1 - 2 นาที และขับรถยนต์แทรกคันอื่น ๆ ที่หยุดรอขบวนเสด็จ เพื่อขับแทรกเข้าไปในเส้นทางของขบวนเสด็จที่กำลังเคลื่อนผ่านบริเวณทางต่างระดับมักกะสันที่รถยนต์ของผู้ต้องหาทั้งสองคนอยู่ ต่อมาเมื่อขบวนเสด็จผ่านไปแล้ว จำเลยทั้งสองคนได้ขับรถไล่ติดตามขบวนเสด็จไปในระยะกระชั้นชิดและบีบแตรลากยาวโดยไม่มีเหตุอันควร'
'สภานักศึกษา มธ.' ยื่นคำแถลง ขอศาลไม่รับฝากขัง 'ตะวัน-แฟรงค์'
ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับองค์การนักศึกษามหาวิทยา
จัดหนัก! 'บิ๊กโจ๊ก' สั่ง น.1 เร่งรัดเอาผิดทุกข้อหา รวม ม.116 ปม 'ตะวัน' ป่วนขบวนเสด็จฯ
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ปฏิบัติราชการแทน ผบ.ตร.