กองปราบตั้งอัยการ ที่ปรึกษากฎหมายเอาผิด ม.157 ตำรวจ 13 นาย นำ 6 ตร.ขังเรือนจำ

กองปราบตั้งอัยการเป็นที่ปรึกษาข้อกฎหมายเอาผิด 157 ตำรวจ 13 นาย คาดสัปดาห์ชัดเจน พร้อมส่งเรื่องศาลทุจริตภาค 7 นำ 6 ตำรวจขังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

19 ก.ย.2566 - ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป) พ.ต.อ.วิวัฒน์ จิตโสภากุล ผกก.3 บก.ป. เรียกประชุมตำรวจชุคคลี่คลายการเสียชีวิตของ พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว ตำรวจทางหลวง ที่ถูกยิงเสียชีวิตภายในงานเลี้ยงบ้านนายประวีณ จันทร์คล้าย หรือกำนันนก หลังจาก พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มีคำสั่งโอนคดีมาให้กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) เป็นผู้รับผิดชอบคดีว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าทางกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางและกองบังคับการปราบปราม ได้มีการประชุมคณะพนักงานสอบสวน คณะพนักงานสืบสวนเกี่ยวกับเรื่องการโอนสำนวนมาที่ตำรวจสอบสวนกลางชี้แจงว่าหลังจากเกิดเหตุวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมาและในวันที่ 7 ก.ย.ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้โอนคดีฆ่ามาที่ บช.ก.

เนื่องจากคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ตำรวจสอบสวนกลางและกองปราบมีอำนาจในการสอบสวนคดีที่ผู้ต้องหาเป็นผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้างหรือกลุ่มที่ใช้อาวุธปืนสำคัญ หลังจากมีการดำเนินในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 7 เกี่ยวกับเรื่องตำรวจทั้ง 6 นายที่ปฎิบัติหน้าที่ไม่ชอบมาตรา 157 ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน ทางตำรวจภูธรภาค 7 ได้เสนอมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้โอนเรื่อง 157 มาที่ตำรวจสอบสวนกลางเป็นไปตามขั้นตอนปกติ

วันนี้คณะทำงานได้มีการประชุมหารือกับฝ่ายสอบสวนเพื่อดำเนินการอีกหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นคดีฆ่า คดี 157 ขณะนี้ได้ทำหนังสือไปที่ศาลทุจริตภาค 7 เพื่อขอโอนฝากขังมาที่ศาลทุจริตกลางและได้ทำหนังสือไปที่กรมราชทัณฑ์เพื่อขอโอนการฝากขังผู้ต้องหามาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ เนื่องจากเป็นเหตุการณ์เดียวกันไม่ว่าจะเป็นคดีฆ่าหรือคดี 157 พยานหลักฐานชุดเดียวกัน คำให้การชุดเดียวกัน เราจะประมวลเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องเดียวกันเพื่อประโยชน์ของการอำนวยความยุติธรรมในชั้นศาลทุจริต เป็นคดีหลายกรรมเกี่ยวเนื่องกันศาลทุจริตสามารถรวมเรื่องกันได้

ผู้สื่อข่าวถามตำรวจทั้ง 6 นายจะถูกควบคุมตัวที่เดียวกันกับกำนันนกหรือไม่ พ.ต.อ.วิวัฒน์ ตอบว่า เรื่องนี้กรมราชทัณฑ์เป็นผู้จัดการ ถามต่ออีกว่ากังวลหรือไม่ถ้าทั้งตำรวจ 6 นายมาอยู่ที่ดียวกันกับกำนันนกอาจจะหลับคำให้การ เขาตอบว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าจะให้ตำรวจทั้ง 6 คนไปอยู่ตรงไหน ต้องหารือกับกรมราชทัณฑ์

เมื่อถามถึงการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ ตำรวจ 13 นาย พ.ต.อ.วิวัฒน์ กล่าวว่า ระหว่างนี้เรามีการสอบสวนเพิ่มเติม ตั้งแต่วันแรกที่เกิดเหตุตำรวจภูธรภาค 7 ชุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและตำรวจกองปราบทำงานร่วมกันตลอดตอนนี้สำนวนโอนมาที่ตำรวจสอบสวนกลางไม่ได้เป็นการทำใหม่เป็นการเพิ่มเติมในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องให้สมบูรณ์ที่สุด อะไรที่เราสงสัยต้องมีการขยายผลเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ส่วนกล้องวงจรปิดเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่ใช้ในการดำเนินคดี และวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา พฐ.ได้เข้าไปตรวจสอบข้อมูลเทคนิคบางส่วนแต่ยังไม่มีอะไรเพิ่มเติมกล้องวงจรปิดมีทั้งหมด 15 ตัว ไม่ทำงาน 2 ตัวตั้งแต่เดือนสิงหา ส่วนกล้องอีกตัวนึงที่ทำงานถึงเวลา 10 โมงในวันเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ได้มีการตรวจสอบพบว่ากำนันนกอยู่ที่บริเวณนั้นแต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ตัดประเด็นว่าใครไปดึงปลั๊กหรือปิดกล้องเพราะเรื่องนี้เป็นฝ่ายเทคนิคผู้ชำนาญการที่ต้องเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้อีกทีนึง

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่ากล้องวงจรปิดเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญถ้ากู้ 2 ตัวที่สาดมาบริเวณงานเลี้ยงไม่ได้จะเอาผิดกำนันนกได้หรือไม่ เขาตอบว่า วงจรปิดที่เกิดเหตุเป็นหลักฐานสำคัญทางคดีแต่อย่าลืมว่ามีกล้องวงจรปิดโดยรอบที่เกิดเหตุอีกหลายตัว เรายังมีประจักษ์พยานที่สามารถระบุว่าวันเกิดเหตุ เกิดอะไรขึ้นบ้างประจักษ์พยานก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่ากล้องในที่เกิดเหตุ

พ.ต.อ.วิวัฒน์ ชี้แจงถึงการดำเนินคดีกับตำรวจ 13 นาย ว่า หลายคนสงสัย ประชาชนสงสัยว่าตำรวจไปงานเลี้ยงได้ไหม ตำรวจไปงานเลี้ยงก็ยังคงอยู่ในสถานภาพของตำรวจเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นตำรวจก็ยังมีหน้าที่เป็นตำรวจอยู่ ตอนนั้นต้องจับกุมคนร้าย ช่วยคนเจ็บ รักษาที่เกิดเหตุ เหตุการณ์ในวันนั้นมีหลายเหตุการณ์มากเป็นเรื่องเดียวกัน พยานหลักฐานชุดเดียวกันหมด เพราะฉะนั้นแล้วเราต้องไล่เรียงทีละคนว่าในวันเกิดเหตุ หลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้นใครทำหน้าที่อะไร ทำหน้าที่ตัวเองสมบูรณ์ไหม ต้องไล่เรียงทีละคนเพราะเป็นเหตุการณ์เดียวกัน

เมื่อถามว่ามีตำรวจให้การขัดแย้งกับข้อเท็จจริงกี่คน เขาตอบว่ามีอยู่ไม่มากเนื้อหาสำคัญในสำนวนไม่ขอตอบ แต่ถ้าใครดูพฤติการณ์แล้วละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก กำชับต้องถูกดำเนินคดีทุกคนอย่างตรงไปตรงมาและทาง ผู้บัญชาการได้เน้นย้ำเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนฝ่ายสอบสวนทุกคนให้เรื่องนี้ปรากฏให้เร็วที่สุดคาดว่าประมาณสัปดาห์หน้าจะให้ความชัดเจนได้ว่าใครเข้าข่ายบ้าง

ผกก3 บก.ป. กล่าวถึงการกำหนดขอบเขตข้อกฎหมายที่จะระบุได้ว่าใครละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ว่า จะปรึกษากับอัยการและเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายกฎหมาย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้เริ่มดำเนินการแล้ววันนี้ให้ทางอัยการมาเป็นที่ปรึกษา แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนเมื่อไหร่มีความชัดเจนก็จะได้ปรึกษากับหน่วยงานอื่นให้มาช่วยดูในรายละเอียด สัปดาห์หน้าถ้ามีความชัดเจนว่าใครเกี่ยวข้องอาจจะมีการดำเนินคดี เพราะ ผบช.ก.ได้เร่งให้ทำงานทุกวันแต่ขอให้เจ้าที่ได้ทำงานดูพยานหลักฐานให้ละเอียดรอบคอบ คาดว่าสัปดาห์หน้าจะได้คำตอบได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อี้ แทนคุณ' นำผู้เสียหายร้องกองปราบเร่งจับตัว 'หมอบุญ' หวั่นคดีเงียบหาย

นายแทนคุณ จิตต์อิสระ และคณะชมรมสันติประชาธรรมพาผู้เสียหายคดี นพ.บุญ วนาสิน หรือ หมอบุญ เข้าร้องขอความช่วยเหลือกับ พล.ต.ท. จิรภพ ภูริเดช

ผบ.ตร. เซ็นโอนคดี 'สจ.โต้ง' ให้กองปราบแล้ว ผลนิติวิทยาศาสตร์เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาจิ (ผบ.ตร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เซ็นโอนคดี นายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ หรือ สจ.โต้ง ถูกยิงเสียชีวิตในบ้านพักของ นายสุนทร วิลาวัลย์  หรือ โกทร  อายุ 86 ปี นายก อบจ.ปราจีนบุรี

เมีย 'สจ.โต้ง' ร้อง ผบ.ตร. โอนคดีให้กองปราบ หลังยื่น บก.ป.แล้วยังเงียบ

นายนิติศักดิ์ มีขวด ทนายความส่วนตัว น.ส.ณภาภัช อัญชสาณิชมน หรือ สจ.จอย ภรรยา นายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ หรือ สจ.โต้ง ปราจีนบุรี ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมและขอให้โอนย้ายคดีมาที่กองบังคับการปราบปรามกับ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)

ตร. รับพิจารณาโอนคดีสังหาร 'สจ.โต้ง' ให้กองปราบ สั่งสอบตำรวจลูกสมุนผู้มีอิทธิพล

พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โฆษกตร.) เปิดเผยกรณี น.ส.ณภาภัช อัญชสาณิชมน หรือ สจ.จอย ภรรยาของนายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ หรือ สจ.โต้ง ที่

เมีย สจ.โต้ง ร้องโอนคดีให้กองปราบ ยังไม่เผาศพรอความยุติธรรม

น.ส.ณภาภัช อัญชสาณิชมน (สจ.จอย) ภรรยา สจ.โต้ง ทนายเอี้ยง” นิติศักดิ์ มีขวด และ นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์อเข้ายื่นหนังสือต่อพล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช

'บิ๊กอ้อ' ลุยปราจีนฯ คุมสางคดีฆ่า 'สจ.โต้ง' มั่นใจหลักฐานพอ ไม่พึ่งวงจรปิด

'บิ๊กอ้อ' บินสางปมยิง 'สจ.โต้ง ปราจีน' เชื่อชนวนเหตุสังหารจากการเมืองท้องถิ่น มั่นใจหลักฐานเพียงพอ แม้วงจรปิดที่เกิดเหตุเสีย