ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพเปลี่ยนมุขใหม่จากเงินประกันค่าไฟมาเป็นเปลี่ยนมิเตอร์ลดค่าไฟ หลอกแอดไลน์ เพื่อติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม เตือนอย่ากดลิงก์ที่มากับ SMS
04 พ.ค.2566 - พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) แถลงว่าตามที่ได้แจ้งเตือนประชาชนไปแล้วว่าพบผู้เสียหายหลายรายได้รับข้อความสั้น (SMS) จากมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แจ้งว่าผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืนนั้น ปัจจุบันได้รับรายงานว่าจากการตรวจสอบในระบบการรับแจ้งความออนไลน์ พบมิจฉาชีพได้เปลี่ยนเนื้อหาที่ใช้ในการหลอกลวงเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ กฟภ.เช่นเดิม แต่เปลี่ยนลักษณะของข้อความกำลังจะดำเนินการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าที่หมุนเร็วผิดปกติ หรือแจ้งว่ามิเตอร์ไฟที่ใช้อยู่ไม่เสถียร ทำให้ค่าไฟฟ้าแพง จะทำการเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ โดยให้ลงทะเบียนติดต่อผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ไอดีไลน์ PEA 422 หรือ PEA ตามด้วยหมายเลขต่างๆ ที่มิจฉาชีพสร้างปลอมขึ้นมา
“มีการหลอกลวงให้ดำเนินการติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อจัดลำดับในการขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าใหม่ โดยใช้แอปพลิเคชันชื่อ PEA Smart Pro และมีการสอนวิธีการติดตั้งทางโทรศัพท์แบบเป็นขั้นตอน เสี่ยงต่อการติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก และการหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน 6 หลัก จำนวนหลายๆ ครั้ง เพื่อหวังให้ผู้เสียหายกรอกรหัสชุดเดียวกับรหัสเข้าถึง หรือทำธุรกรรมการเงินของแอปพลิเคชันธนาคารต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย รวมไปถึงขอสิทธิ์ในการควบคุมอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ เช่น ดูและควบคุมหน้าจอ ดูและดำเนินการ เป็นต้น กระทั่งเมื่อมิจฉาชีพได้สิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์หรือโทรศัพท์มือถือแล้ว จะทำการล็อกหน้าจอโทรศัพท์ ทำให้เสมือนโทรศัพท์ค้าง ซึ่งมักจะแสดงข้อความว่า อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ ห้ามใช้งานโทรศัพท์มือถือ ทำให้มิจฉาชีพสามารถนำรหัสที่ผู้เสียหายเคยกรอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ทำการโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหาย”
โฆษก บช.สอท. กล่าวอีกว่า การหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าวยังคงเป็นการหลอกลวงในรูปแบบเดิมๆ เพียงแต่มิจฉาชีพจะเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน และเปลี่ยนเนื้อหาไปตามวันเวลา และสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งว่าได้รับสิทธิ หรือได้รับเงินคืน ให้อัปเดตข้อมูล โดยในขั้นตอนสุดท้ายจะหลอกลวงให้เหยื่อกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมของหน่วยงานที่แอบอ้าง ที่ผ่านมาก็ปรากฏในหลายๆ หน่วยงาน มิจฉาชีพจะอาศัยความไม่รู้ และความโลภ ของประชาชนเป็นเครื่องมือ ใช้ความสมัครใจของเหยื่อให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม มีการใช้สัญลักษณ์ของหน่วยงาน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถืออย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ประกาศยกเลิกการส่งข้อความสั้น (SMS) หรือส่งอีเมลไปยังประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการเงิน หรือธนาคารต่างๆ
“ฝากย้ำเตือนไปยังประชาชน ไม่ว่ามิจฉาชีพจะมาในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ให้ระมัดระวังและมีสติอยู่เสมอ โดยหากพบเห็นข้อความสั้น (SMS) หรือลิงก์ ในลักษณะดังกล่าวให้แจ้งเตือนไปยังบุคคลใกล้ชิด และหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานนั้นๆ ให้ช่วยตรวจสอบทันที เพื่อลดการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อนุทิน' สวน 'โรม' ยันการไฟฟ้าฯไม่หนุนว้าแดงผลิตยาเสพติด ชี้ขายไฟต้องให้หน่วยความมั่นคงเห็นชอบ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย กล่าวถึง นายรังสิมันต์ โรม สส.พรรคประชาชน เปิดเผยข้อมูลว่าว้าแดงผลิตยาเสพติด โดยใช้ไฟฟ้าจากไทย ว่า วันนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะชี้แจงในเบื้องต้น ซึ่งในข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นไปตามที่นายรังสิมันต์พูดไว้
PEA คว้า 5 รางวัลนวัตกรรม จาก 3 ผลงาน บนเวทีนานาชาติ “Taiwan Innotech Expo 2024” (TIE 2024) ณ กรุงไทเป ไต้หวัน
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) คว้า 5 รางวัลนวัตกรรม จากเวทีนานาชาติ “Taiwan Innotech Expo 2024” (TIE 2024) ณ กรุงไทเป ไต้หวัน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 19 ตุลาคม 2567 มีผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมการประกวดมากกว่า 1,000 ผลงาน จาก 20 ประเทศ โดย PEA ได้รับรางวัล ดังนี้
ตร.พร้อมรับทำคดี ปม 'ตัดไฟ' ยายป่วยติดเตียงเสียชีวิต
พ.ต.อ.จิรุฏฐ์ พิมพา ผกก. สภ.วังยาง มอบหมายให้ พ.ต.ท.ยงยุทธ ผิวพรรณ์ รอง ผกก.สอบสวน และเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ให้กำลังใจญาติ และร่วมไว้อาลัยศพ
รพ.-ญาติ ถามหามนุษยธรรม เอกชนได้ค่า 'ตัดไฟ' ปมผู้ป่วยติดเตียงเสียชีวิตในบ้าน
กลายเป็นกระแสดราม่าหนัก สำหรับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขา อ.วังยาง จ.นครพนม (กฟภ.อ.วังยาง) หลังพนักงานบริษัทเอกชน ที่ประมูลรับช่วงได้จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
'อนุทิน' สั่งผู้ว่าฯกฟภ. ทำรายงานกรณีจนท.ตัดไฟ ทำหญิงป่วยหนัก เสียชีวิตคาบ้าน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครพนม ได้ตัดไฟฟ้าบ้านผู้ป่วยติดเตียงที่กำลังใช้