'ไตรศุลี' เตือนภัยมิจฉาชีพ ล่าสุดหลอกขายแผงโซล่าเซลล์ทิพย์

29 เม.ย.2566 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ โดยผลักดันพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 มีผลบังคับมาตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค. 66 ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการติดตามผลการปราบปรามหลังจากมีกฎหมายที่เข้มงวดขึ้นอย่างใกล้ชิด

โดยศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รายงานข้อมูลสถิติการแจ้งความคดีออนไลน์ พบว่าตั้งแต่ 1 มี.ค. 65 -24 เม.ย. 66 มีคดีออนไลน์ 244,734 คดี ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลเป็นรายเดือนได้เห็นแนวโน้มจำนวนคดีออนไลน์ที่ลดลงจากประมาณ 27,000 คดีต่อเดือนในเดือน ธ.ค. 65 เป็น 24,000 คดี 21,000 คดี และ 20,000คดี ในเดือน ม.ค. -มี.ค. 66 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม แม้จากข้อมูลรายเดือนจะเห็นแนวโน้มคดีออนไลน์ที่ลดลง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่นิ่งนอนใจ เนื่องจากยังพบกรณีการหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งการขายสินค้า/บริการทางออนไลน์ คอลเซ็นเตอร์ หลอกให้ทำธุรกรรมต่างๆ ดังนั้นพร้อมกับการเร่งปราบปรามผู้กระทำผิดโดยเจ้าหน้าที่นี้ จึงขอย้ำเตือนประชาชนให้ยังคงระมัดระวังตนเอง ดูแลสอดส่องคนในครอบครัวไม่หลงเชื่อบุคคลแปลกหน้าที่ติดต่อมาทุกช่องทาง โดยเฉพาะหากมีกรณีที่เกี่ยวข้องกับการให้ทำธุรกรรม ให้โอนเงิน ชำระเงินค่าสินค้า/บริการ ให้ตั้งข้อสงสัยก่อนว่าอาจเป็นมิจฉาชีพ และให้ตรวจสอบโดยละเอียดก่อนทำธุรกรรม

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า มิจฉาชีพได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ใช้ในการหลอกลวงไปตามสถานการณ์ ล่าสุดกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แจ้งเตือนว่าได้มีกรณีมิจฉาชีพอาศัยช่วงที่ประชาชนให้ความสนใจติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า หลอกลวงขายแผงโซล่าเซลล์ โดยใช้บัญชีเฟซบุ๊กปลอมแฝงตัวเข้ามาในกลุ่มต่างๆ ที่มีการซื้อขายโซล่าเซลล์และอุปกรณ์ติดตั้งแล้วโพสต์ขายสินค้าในราคาถูกกว่าท้องตลาด ด้วยภาพที่คัดลอกมาจากช่องทางที่มีการซื้อขายจริง และมีการเร่งรัดให้รีบตัดสินใจว่าสินค้าใกล้จะหมด ซึ่งปรากฏว่ามีผู้หลงเชื่อแล้วโอนเงินให้ แต่ไม่ได้รับสินค้าจำนวนมาก

โดย บช.สอท. ได้มีข้อแนะนำจุดสังเกตเพื่อการซื้อสินค้า/บริการออนไลน์ที่ปลอดภัยว่า ให้หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าที่ไม่มีหน้าร้าน ควรติดต่อซื้อจากบริษัทหรือตัวแทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ ระวังการซื้อสินค้าราคาถูกกว่าปกติของท้องตลาด ตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียของผู้ประกาศขายสินค้า มีความเคลื่อนไหวหรือไม่ ประวัติเป็นอย่างไร

ตรวจสอบความมีอยู่จริงของสินค้า โดยขอดูภาพหลายๆ มุมนอกจากภาพที่ประกาศขาย สอบถามรายละเอียดสินค้าที่เกี่ยวข้อง ผลิตจากที่ใด เงื่อนไขการรับประกัน วิธีการใช้งาน ตรวจสอบการรีวิวสินค้า และต้องระวังการรีวิวปลอม เป็นผู้รีวิวจริงหรือหรือบัญชีอวตาร และก่อนโอนชำระเงินค่าสินค้า ให้ตรวจสอบประวัติของร้าน และชื่อหมายเลขบัญชีธนาคารที่รับโอนเงิน ว่ามีประวัติไม่ดีหรือไม่ ผ่านเว็บไซต์ Google, https://www.blacklistseller.com หรือ https://www.chaladohn.com เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ละเอียดยิบ! ครม.รับทราบผลงานปราบอาชญากรรมออนไลน์ในช่วง 30 วัน

นางสาว ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบ ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2567 โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

'อนุทิน' ลุย 'เกาะกูด' ยันของไทย ไม่มีวันยอมเสียดินแดนให้ใคร

'อนุทิน' ลงพื้นที่เกาะกูด ลั่นรัฐบาลนี้ไม่มีวันยอมเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว พร้อมขอบคุณก๋งวัย 92 ปี ยืนยันเป็นของไทย 100%

ครม. ตั้ง 'ไตรศุลี ไตรสรณกุล' นั่งเลขาฯรมว.มหาดไทยภาคสอง สานงานบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้ประชาชน

ครม.เห็นชอบตามที่ นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) เสนอแต่งตั้ง ข้าราชการการเมืองสังกัดกระทรวงมหาดไทย

โอนเงินล็อตแรก! เยียวยาน้ำท่วมเชียงราย 3.6 พันครัวเรือน

ประเดิมโอนเงินเยียวยาผู้ประสบภัยเชียงราย 3,623 ครัวเรือน 'อนุทิน' กำชับ มท. ยึดข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกให้เงินถึงมือเร็วที่สุด

มหาดไทย ผนึก อว. ตั้งวอร์รูมสื่อสารข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วม

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (15 ก.ย.) กระทรวงมหาดไทยและ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จะจัดตั้งวอร์รูม (War Room)