ตำรวจไซเบอร์เปิดยุทธการ “ปิดJOB -SHOPทิพย์” หลอกขายสินค้าและบริการผ่านโลกออนไลน์ มูลค่าความเสียหายหลายสิบล้านบาท
8 มี.ค.2566 - ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. พร้อมเจ้าหน้าที่แถลงผลการระดมกวาดล้างตรวจค้นมิจฉาชีพตามยุทธการ “ปิดJOB -SHOPทิพย์” หลอกขายสินค้าและบริการผ่านโลกออนไลน์ 40 จุดทั่วประเทศ จับผู้ต้องหา 26 คน
พล.ต.ท.วรวัฒน์ ผบช.สอท. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาพนักงานสอบสวน บช.สอท. ได้รับแจ้งความร้องทุกข์จากผู้เสียหายจำนวนมากผ่านระบบการรับแจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com ว่าถูกมิจฉาชีพหลอกลวงซื้อขายสินค้าและการบริการ รวมถึงการร่วมลงทุนในรูปแบบต่างๆ ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ บช.สอท. จึงได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลผู้เสียหายที่ถูกกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงซื้อขายสินค้าและการบริการ โดยสามารถแบ่งเป็น 14 กลุ่มคดี แยกเป็น 4 ประเภท คือ การหลอกลวงซื้อขายสินค้าอุปโภค-บริโภค ,การหลอกลวงซื้อขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ,การหลอกลวงร่วมลงทุนธุรกิจสกุลเงินดิจิตอลและการลงทุนรูปแบบต่างๆ , การหลอกลวงซื้อขายบัตรกำนัลการบริการการท่องเที่ยวและรับจ้างทวงหนี้ ฯลฯโดยมีประชาชนกว่า 500 ราย ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพในลักษณะข้างต้น ซึ่งมีความเสียหายตั้งแต่หลักร้อยบาทไปจนถึงหลักล้านบาท มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 35 ล้านบาท
การกระทำลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชน และโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ชุดสืบสวนสอบสวนจึงได้เร่งรวบรวมพยานหลักฐานและตรวจสอบเส้นทางการเงินขออนุมัติศาลออกหมายจับกลุ่มผู้กระทำความผิด ได้จำนวนรวม 34 หมายจับ ซึ่งรวมถึงตัวการในขบวนการและบัญชีม้าที่ร่วมกระทำผิด
ต่อมาในระหว่างวันที่ 3 – 7 มีนาคม 2566 กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ระดมปิดล้อมตรวจค้นจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับกลุ่มมิจฉาชีพที่หลอกลวงซื้อขายสินค้าและบริการ รวมถึงการหลอกลวงให้ร่วมลงทุนในรูปแบบต่างๆ ตามยุทธการ “ปิดJOB -SHOPทิพย์” จำนวนกว่า 40 จุดเป้าหมายทั่วประเทศ โดยสามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับได้รวม 26 ราย ตลอดจนตรวจยึดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด พร้อมทั้งอายัดเงินในบัญชีธนาคารของผู้กระทำความผิดและบัญชีม้าที่เกี่ยวข้อง ส่วนผู้ต้องหาตามหมายจับที่เหลืออยู่ระหว่างเร่งรัดติดตามจับกุมตัวมาเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจะได้ยื่นเรื่องต่อกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเสนอให้ศาลมีคำสั่งปิดกั้นเพจหรือเว็บไซต์ของกลุ่มมิจฉาชีพที่มีการหลอกลวงประชาชนอีกส่วนหนึ่ง
พล.ต.ท.วรวัฒน์ ผบช.สทอ.กล่าวอีกว่า ฝากเตือนภัยและประชาสัมพันธ์แนวทางการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ 1. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบุคคลหรือบริษัท ว่ามีการเว็ปไซต์หรือจดทะเบียนนิติบุคคลมานานแล้วหรือไม่ 2. อย่าหลงเชื่อเพียงเพราะการลดราคา การโฆษณา การจัดโปรโมชั่นเกินจริง ควรศึกษารายละเอียดและตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ดีเสียก่อน 3. หลีกเลี่ยงข้อเสนอที่ฟังดูดีเกินไป ลงทุนน้อย ได้ผลตอบแทนสูง ในเวลาอันรวดเร็ว มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน 4. ตรวจสอบที่มาที่ไปของการลงทุน หรือสินค้าให้ดีก่อนการลงทุน 5. หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มธุรกิจที่ไม่แน่ใจ เพราะอาจถูกหว่านล้อมให้ร่วมลงทุนในธุรกิจแชร์ลูกโซ่ 6. เก็บหลักฐานต่างๆไม่ว่าจะเป็น หลักฐานทางการเงิน สัญญา เอกสารต่างๆ เผื่อเกิดปัญหาในภายหลัง
ส่วนผู้ที่คิดตั้งตนเป็นมิจฉาชีพหลอกลวงขายสินค้าและบริการ รวมถึงการหลอกลวงชักชวนลงทุนในรูปแบบต่างๆ บนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นความผิดเข้าข่ายฐาน “ฉ้อโกงประชาชน” ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดฐาน “โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมกันนี้ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนยังเป็นความผิดมูลฐานหนึ่งในกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งอาจถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินได้เช่นกัน และหากมีบุคคลที่ร่วมขบวนการที่เข้าช่วยเหลือหรือสนับสนุน จำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สินหรือถือครองทรัพย์สินแทนผู้กระทำผิด ตามมูลฐานข้างต้นก็อาจจะมีความผิดและถูกดำเนินคดีร่วมด้วยเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผบ.ตร. มอบ 'พล.ต.อ.ธนา' คุมคดีหมอบุญ เร่งประสานอินเตอร์โพลออกหมายแดงล่าตัว
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
เพื่อนร่วมรุ่น แจ้งจับ 'หมอบุญ' หลอกลงทุนโรงพยาบาล สูญเงิน 25 ล้าน
น.ส.ชลิดา พะละมาตย์ หรือต้นอ้อ เป็นหนึ่ง พานายโพธิรัตน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 53 ปี ทันตแพทย์ และพญ.สลวย (สงวนนามสกุล) อายุ 86 ปี คุณแม่ภรรยาและเป็นเพื่อนร่วมรุ่นของนายแพทย์บุญ วนาสิน หรือหมอบุญอายุ 86 ปี เข้าพบพนักงานสอบสวนบก.ปอศ.
รองผบช.ก. เผยเตรียมออกหมายจับเพิ่ม 1-2 ราย เอี่ยว 'ทนายตั้ม' ฉ้อโกงเจ๊อ้อย
พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (รอง ผบช.ก.) เปิดเผยความคืบหน้าคดีของน.ส.จตุพร อุบลเลิศ หรือ เจ๊อ้อย ที่ถูกนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้ม ฉ้อโกง โดยระบุว่า ขณะนี้ยังไม่มีรายงานจากพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อทนายตั้มในกรณีเงิน 39 ล้านบาท
เมีย-ลูก 'หมอบุญ' มอบตัวคดีร่วมกันฉ้อโกง อ้างถูกปลอมลายเซ็น ยันเอาผิดสามี-ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
นางจารุวรรณ วนาสิน อายุ 79 ปี ภรรยาของนายแพทย์บุญ ซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกันในสัญญาต่างๆ พร้อมด้วย น.ส.นลิน วนาสิน อายุ 51 ปี บุตรสาวของนายแพทย์บุญ ซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกันในสัญญาต่างๆ
'ธนกร' จี้กวาดล้างแก๊งลวงผู้สูงวัย-ปชช. หลอกกดลิงก์รับเงินหมื่น หลังรัฐเตรียมแจกเฟส 2
'ธนกร' เรียกร้อง รัฐบาล-ตร. เร่งกวาดล้างปราบแก๊งลวงผู้สูงวัย-ปชช. ระบาดหนัก หลอกกดลิงก์รับเงินหมื่น หลัง รัฐเตรียมแจกเฟส 2 ฝาก ดีอีล้อมคอก เตือนภัยให้คนรู้เท่าทัน หยุดกระบวนการไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพอีก
'เชน ธนา' ปล่อยโฮกลางวงสื่อ ชี้แจงหลังถูกกล่าวหาโกงเงิน 79 ล้าน!
กำลังเป็นประเด็นร้อนเลยทีเดียวเมื่อ เชน-ธนาตรัยฉัตร ภูโชคอนันต์ อดีตนักร้องนักแสดงที่ผันตัวไปทำธุรกิจ บริษัท อมาโด้ กรุ๊ป จำกัด ถูกกล่าวหาว่าโกงเงินค่าสินค้ามากถึง 79 ล้านบาท ล่าสุดเจ้าตัวพร้อมภรรยา เจมส์ กาลย์กัลยา และทนายความ ได้หอบหลักฐานเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ในช่วงบ่ายของวันนี้ (จันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567) ที่กองบังคับการปราบปราม