'สว.สมชาย' แฉมีการปล่อยให้นำเข้า 'บุหรี่ไฟฟ้า' ครั้งละหลายตู้คอนเทนเนอร์ จ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ทุจริต การจับผู้ค้ารายย่อยจึงเป็นแค่การแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ แนะต้องจัดการที่ตันทาง บังคับใช้กฏหมายอย่างเด็ดขาดในการห้ามนำ
3 ก.พ.2566 - นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า
#บุหรี่ไฟฟ้า
#เครื่องมือตบทรัพย์นักท่องเที่ยว
#ทำลายการท่องเที่ยวไทย
#ควันอะไรเข้าตาตำรวจและศุลากร
ตำรวจ และศุลกากร เป็นอุปสรรคต่อการป้องกัน และปราบปราม
บุหรี่ไฟฟ้า จริงๆ หรือเพราะว่า
1)ตำรวจท้องที่ละเลย ปล่อยให้จ่ายส่วยขายส่งบุหรี่ไฟฟ้าที่พบเห็นเกลื่อนเมืองแถว ย่านคลองถม จตุจักร และวางขายปลีกตามสถานที่ท่องเที่ยว
พบเห็นได้ทั่วไป อาทิ ย่านห้วยขวาง พัฒน์พงศ์ ปากซอยนานา ถนนสุขุมวิท ซอยทองหล่อ ถนนข้าวสาร เยาวราช พัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต ฯลฯ ด้วยโทษจำคุกและปรับที่รุนแรงเพราะพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าได้กลายเป็นช่องทางสบโอกาสให้ตำรวจนอกแถวใช้เป็นช่องทางเรียกรับเงินและรีดตบทรัพย์นักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น กรณีดาราสาวไต้หวัน จนเสียหายมากกับชื่อเสียงของประเทศไทย
2)ด่านศุลกากร ปล่อยให้มีการนำเข้าประเทศกันแบบมโหฬาร จริงๆหรือ เพราะการข่าวหน่วยปราบปรามด้านคุ้มครองผู้บริโภค ระบุว่า ปล่อยให้นำเข้า มาครั้งละหลายตู้คอนเทนเนอร์ พ่อค้ายอมจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ทุจริตเพื่อนำผ่านด่านศุลกากร ทั้งผ่านท่าเรือกรุงเทพและด่านชายแดน โดยไม่ต้องตรวจสอบจับกุม
ดังนั้น การจับผู้ค้ารายย่อยหรือผู้พกพา หรือการร้องเรียน สคบ จึงเป็นแค่การแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ และแทบไม่มีทางสำเร็จ
การจัดการที่ถูกต้องคือต้องจัดการที่ตันทางของปัญหา บังคับใช้กฏหมายอย่างเด็ดขาดในการห้ามนำเข้าประเทศทุกช่องทาง รวมถึงการต้องปิดเว้ปไซด์และจับผู้ขายบุหรี่ไฟฟ้าออนไลน์ ตำรวจไซเบอร์ และตร ปคบ นั้นมีอำนาจตามกฎหมายและมีเครื่องมือ ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังกับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในการร่วมกันสกัดกั้นและจับกุมให้เต็มประสิทธิภาพ จึงจะจัดการได้สำเร็จครับ
สมชาย แสวงการ
สมาชิกวุฒิสภา
ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา
2 กพ 2566
@อ้างอิงข่าว
จากกรณีข่าวตำรวจรีดไถเงิน “อันหยู๋ชิง” ดาราสาวไต้หวัน ช่วงที่เธอเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยช่วงต้นเดือน ม.ค. 66 ด้วยข้ออ้างว่า เธอพกบุหรี่ไฟฟ้าแต่กลับกลายเป็นการเรียกรับเงินจำนวน 27,000 บาท แต่ไม่ได้ออกใบสั่งปรับข้อหาครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าแต่อย่างใด ทำให้สังคมตั้งคำถามว่าการถือครองบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายหรือไม่
ล่าสุดวันที่ 1 ก.พ. 66 ทีมข่าวอมรินทร์ ทีวี เดินทางไปพูดคุยกับ คุณบี (นามสมมติ) ซึ่งเธอเคยเป็นอดีตเอเย่นต์แม่ค้านำเข้าบุหรี่ไฟฟ้ารายใหญ่ของภาคอีสาน เปิดเผยว่า การนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาขายไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องมีทั้งเงินและยิ่งหากเป็นคนมีสีจะยิ่งง่ายมากขึ้นไปอีก
คุณบี เล่าต่อว่า บุหรี่ไฟฟ้าที่เธอนำเข้ามาประเทศไทยตนเองจะสั่งมาจากประเทศจีนทั้งหมด โดยผ่านนายหน้าแต่ต้องเดินทางไปรับของเองที่ด่านของกรมศุลกากร โดยเธอจะสั่งบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้งราคาในตลาดขายอยู่ประมาณ 250 บาทขึ้นไป แต่ต้นทุนของบุหรี่ไฟฟ้าอยู่เพียงแค่ 50 บาทเท่านั้น
โดยแต่ละล็อตที่ตนสั่งนำเข้ามา มีจำนวนตั้งแต่หลัก 5,000 ไปจนถึง 10,000 แท่งต่อล็อต ซึ่งทุกครั้งเธอจะเดินทางไปเอาบุหรี่ไฟฟ้าเองที่ด่านศุลกากร โดยตนเองจะให้ผู้ส่งจากจีนคือต้นทางเอาบุหรี่ไฟฟ้าใส่กล่องบรรจุขนส่งมาให้ และให้ตีลังไม้ทับอีกชั้น เพื่อให้ยากต่อการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่และยากในการแกะลังไม้ตรวจสอบ โดยก่อนนำเข้าจะแจ้งทางศุลกากรว่า สินค้าในลังไม้คือสินค้า มอก. หรือสินค้าควบคุมพิเศษ และเมื่อถึงด่านเจอเจ้าหน้าที่ศุลกากร ตนถึงได้นำเงินสดจ่ายให้โดยตรงกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ตรวจสอบประจำด่านตรวจในเวรประจำวันนั้น ๆ
ตนเคยจ่ายเฉพาะ “ค่าน้ำชา” หรือ “ค่าส่วย” ให้เจ้าหน้าที่มีตั้งแต่ราคา 30,000 บาท ไปจนถึง 100,000 บาทต่อ 1 รอบ ไม่สามาถโอนเงินหรือส่งข้อความเป็นหลักฐานใด ๆ ทั้งสิ้นจ่ายเงินสดเท่านั้น จากนั้นเมื่อตนจ่ายค่าน้ำชาให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะไม่ตรวจอะไรเลยและปล่อยให้เธอนำสินค้าในลังไม้ซึ่งเป็นบุหรี่ไฟฟ้าเข้าประเทศไทยได้ทันทีซึ่งง่ายและสะดวกมาก คุณบี เล่าต่อว่า เหตุผลที่ตนเองเลิกนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่ว่ากำไรไม่ดี
จริง ๆ กำไรดีมากแต่ความเสี่ยงสูง เนื่องจากตนเองเป็นแค่ผู้ประกอบการธรรมดา ไม่รู้ว่าวันไหนจะถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรหักหลังเมื่อไหร่ เพราะบางผู้ประกอบการจ่ายส่วยให้แต่พอมีข่าวทำให้เสื่อมเสีย หรืออยู่ในช่วงเจ้าหน้าที่อยากได้ผลงานก็จะหักหลังและจับผู้ประกอบการทันทีเพื่อเอาผลงาน ทำให้ในปัจจุบันผู้ที่นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าได้นั้น ก็จะมีแต่พวกมีสีส่วนใหญ่หรือเป็นผู้มีอิทธิพล ซึ่งจะง่ายมากในการนำเข้าสินค้าผิดกฎหมายพวกนี้
ที่ออกมาให้ข้อมูลกับทีมข่าว เนื่องจากรู้สึกเสียใจและสงสารคนไทยที่ถูกตำรวจหรือพวกเจ้าหน้าที่มีสีนำกฎหมายที่พวกตัวเองถืออยู่มารีดไถเงินประชาชน และยิ่งไปกว่านั้นไปรีดไถชาวต่างชาติ ทำให้ภาพลักษณ์ประเทศเสียหาย ซึ่งหากจะจัดการกับบุหรี่ไฟฟ้าจริง ๆ ง่ายมาก คือต้องเข้มงวดกับการนำเข้าของผิดกฎหมายพวกนี้และออกกฎหมายให้ชัดเจนไปเลยว่า ผู้ที่ครอบครอง นำเข้าผิดกฎหมาหมด ไม่ใช่เลือกปฎิบัติ คุณบีบอกทิ้งท้าย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตอกฝาโลง! กรรมการกฤษฎีกา 3 คณะมติเอกฉันท์กิตติรัตน์ขาดคุณสมบัติ
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.)
‘อดีต สว.สมชาย’ ซัดเปิดบ่อนคาสิโน นโยบายสิ้นคิด แบ่งใบอนุญาตโควตาการเมือง
สมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊ก เปิดบ่อนคาสิโน แบ่งใบอนุญาตโควตาการเมือง ขายมัดจำ
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 4
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) จัดกิจกรรม "การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ครั้งที่ 4"
หลักฐานชัด มั่นใจ 'ป.ป.ช.' ชี้มูลตั้งไต่สวนฟัน ‘รมต.-ราชทัณฑ์-รพ.ตร.’ เอื้อป่วยทิพย์ชั้น14
อดีตสว.เชื่อมั่น มติป.ป.ช.ชี้คดีมีมูลตั้งไต่สวนดำเนินคดีเอาผิด รมต.ขรก.ราชทัณฑ์ รพ.ตร.เอื้อ คดีป่วยทิพย์ชั้น14
เตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า ผสมนํ้ายาดองศพ
เตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า พบน้ำยาดองศพ สารก่อมะเร็งในบุหรี่ไฟฟ้าเพียบ เสี่ยงเกิดมะเร็ง แนะผู้ปกครองสอดส่องพฤติกรรมบุตรหลาน ย้ำเตือนเด็กและเยาวชนอย่าหลงเชื่อค่านิยมผิดๆ
กมธ.เตรียมสรุปมาตรการคุมบุหรี่ไฟฟ้า ยันป้องกันเด็กและเยาวชน แต่ไม่ผลักให้ผู้สูบกลายเป็นอาชญากร
โฆษก กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษากฎหมายและมาตรการควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ย้ำศึกษากฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างโปร่งใส พิจ