สภาทนายโดดช่วยเหยื่อเด็กขับเก๋งชนดับ เล็งโทษจ่อถึงพ่อแม่

แฟ้มภาพ

สภาทนายความไม่อยู่เฉย ยื่นมือเข้าช่วยครอบครัวบัณฑิตใหม่ ถูกเยาวชนขับรถบีเอ็มชนดับคาที่  ชี้บิดามารดาอาจต้องร่วมรับผิด

2 ต.ค.2565 – ที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมป์ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ รองโฆษกสภาทนายความ ให้ความเห็นข้อกฎหมาย ถึงเหตุการณ์เยาวชน ขับรถบีเอ็มดับบลิว ชนรถจักรยานยนต์จนบัณฑิตวิศวกรรม เกียรตินิยม ถึงแก่ความตาย ว่า คดีนี้เป็นคดีที่กระทบต่อสังคมเพราะผู้ตายเพิ่งสำเร็จการศึกษาและเรียนดีจนได้เกียรตินิยมเมื่อมีผู้ตายมีศักยภาพขนาดนี้ เสียชีวิตลงใครจะไปอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาและจะมีช่องทางใดในการเยียวยาความเสียหายแก่ครอบครัวผู้เสียหาย เรื่องนี้ เมื่อนายสุนทร พยัคฆ์ เลขาธิการสภาทนายความทราบข่าวจึงรายงานให้ นายวิเชียร ชุปไธสง นายกสภาทนายความฯ ทราบ 

นายวีรศักดิ์ กล่าวว่า ซึ่งนายวิเชียรเองเคยมีประสบการณช่วยเหลือคดี 2 บัณฑิตปริญญาโท ที่ขับรถบนถนนพหลโยธินมุ่งหน้าอยุธยา แล้วถูกรถเบนซ์ขับชนเสียชีวิตเมื่อปี59 มาแล้ว ซึ่งคดีนั้นนายวิเชียร ช่วยเหลือทางคดีในการเรียกค่าสินไหมทดแทน คดีนี้ก็คล้ายกัน นายกสภาทนายความจึงสั่งการให้นายวีระศักดิ์ บุญเพลิง กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 3 ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้เสียหายแล้วในวันนี้

นายวีรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าคนก่อเหตุมีอายุ16 ปี ได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมาตรา27,29  ดังนั้นจะไปเสนอชื่อจริงที่อยู่ไม่ได้ซึ่งสื่อมวลชนส่วนใหญ่ก็ปฎิบัติตามแล้ว  แต่บิดามารดาของเด็กผู้ก่อเหตุต้องร่วมรับผิด หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร และในพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯเองก็มีบทลงโทษทางอาญาจำคุกบิดามารดาด้วย ถ้าฟังได้ว่ามีส่วนสนับสนุนเด็ก แม้ไม่ใช่โดยตรงก็ตาม

“ในส่วนฝ่ายผู้เสียหาย เห็นว่ากฎหมายแพ่งให้สิทธิ์ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ก่อเหตุฐานละเมิดพร้อมดอกเบี้ย ตามความร้ายแรงของเหตุละเมิด โดยคำนวณจากฐานานุรูปของผู้ตายได้แก่ค่าปลงศพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยคำนวณว่าหากผู้ตายมีชีวิตอยู่บิดามารดาจะได้รับอุปการะเป็นเงินเดือนละเท่าใด ปัจจุบันคำนวณให้ถึง 90 ปี ซึ่งฝ่ายที่เป็นผู้ก่อเหตุต้องจ่าย โดยเรียกร้องและกำหนดค่าสินไหมเป็นรายเดือน รายปีก็ได้” นายวีรศักดิ์ ระบุ

นายวีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้คดีนี้หากพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีญาติก็สามารถขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตามกฎหมายป.วิอาญามาตรา5อนุสองประกอบมาตรา30 และบิดามารดาจะใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายตามมาตรา44/1เข้าไปในคดีอาญา โดยไม่ต้องแยกไปฟ้องคดีแพ่งก็ได้ เช่นค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ เเละค่าขาดไร้อุปการะต่างๆ

นายวีรศักดิ์ ระบุว่า ในส่วนเยาวชนผู้ก่อเหตุ อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีเยาวชนมาตรา4 การดำเนินคดีต้องคำนึงถึงสภาพกายสติสัมปชัญญะ การตัดสินใจของเยาวชนมาประกอบ โดยจะมีที่ปรึกษากฎหมาย ที่ต่างกับทนายความคอยช่วยเหลือและในส่วนของศาลก็จะคำนึงหลักการให้เยาวชนกลับตัวมาเป็นคนดีแก่สังคม อีกด้วย

“ปัจจุบันคนไทยมีวินัยในการขับขี่รถบนท้องถนนมากขึ้นแต่อุบัติร้ายแรง ก็เกิดเสมอเช่นคดีหมอกระต่ายถูกตำรวจขี่จักรยานยนต์ชนในทางเท้า คดีสาววัยรุ่นชนรถตู้บนโทลล์เวย์ทำให้อาจารย์ธรรมศาสตร์เสียชีวิตพร้อมคนอื่นรวม 9 ศพ สังคมจะต้องเข้าใจรับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายว่าจะใช้ช่องทางใดที่สะดวกมีประสิทธิภาพ สภาทนายความในฐานะเป็นองค์กรกฎหมายมีหน้าที่ดูแลพี่น้องประชาชน นอกจากให้ความรู้แล้ว ก็ให้ความช่วยเหลือจัดทนายความให้ โดยคดีนี้จะนำเข้าที่ประชุมกรรมการบริหารในสัปดาห์หน้า”นายวีรศักดิ์ ระบุ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แฟนคลับเศร้า 'แม่บ้านมีหนวด' เสียชีวิต ในวัย 34 ปี

อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง แม่บ้านมีหนวด หรือ บิว-อิษณัฐ ชลมูณี ได้เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 34 ปี โดยผู้ใช้เฟซบุ๊ก อนุชิต คำน้อย หรือนักเขียนเจ้าของนามปากกา คิ้วต่ำ ได้เป็นคนที่ออกมาโพสต์แจ้งข่าวเศร้าในครั้งนี้

'ครูปรีชา' ยิ้มร่าฟ้าลิขิต หิ้วกาแฟ-ข้าวผัดเยี่ยม 'ทนายตั้ม'

'ครูปรีชา' ยิ้มร่ารับน้อง หิ้วกาแฟพร้อมข้าวผัด ฝาก 'ทนายตั้ม-ภรรยา' ปัดซ้ำเติม แต่ทุกอย่างเป็นไปตามกรรมจากการกระทำของตัวเอง

สภาทนายฯ แจง 'ทนายตั้ม' โดนหมายจับฝากขังในเรือนจำ คนละส่วนคดีมรรยาททนาย

กรณี ศาลอาญา รัชดา ได้อนุมัติหมายจับ นายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้ม ในข้อหา ฉ้อโกง, ฟอกเงิน, ร่วมกันฟอกเงินและสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่ 2 คน