ตร. แนะวิธีป้องกันสแกน QR Code มิจฉาชีพ

23 ก.ย. 2565 – พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้มีนโยบายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบพบว่าในปัจจุบันประเทศไทย ได้มีการใช้งาน QR Code กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในโลกยุคดิจิทัล เพราะเพียงแค่สแกนก็สามารถเข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการได้ โดยไม่ต้องพิมพ์ ที่อยู่เว็บไซต์ (URL) ยาวๆ อีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตามความสะดวกสบายก็ต้องแลกมากับความเสี่ยง โดยกลุ่มมิจฉาชีพมักจะฉวยเอาโอกาสจากการใช้ QR Code ในการทำเว็บไซต์ปลอม หรือหลอกให้ดาวน์โหลดมัลแวร์หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าหากพี่น้องประชาชนไม่ระมัดระวังหรือไม่สังเกต URL ที่ขึ้นมาตอนสแกน QR Code ก็อาจทำให้หลงเชื่อว่าเป็นเว็บไซต์จริง หรือแอปพลิเคชันจริง ทำให้หลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล รหัสผ่าน หรือติดตั้งไวรัสคอมพิวเตอร์ลงในอุปกรณ์ของตนเอง ทำให้เกิดความเสียหายกับพี่น้องประชาชนจำนวนมากนั้น

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอประชาสัมพันธ์พี่น้องประชาชน ถึงวิธีการป้องกันตนเองจาก QR Code มิจฉาชีพ ดังต่อไปนี้

1.ระมัดระวังในการสแกน QR Code ไม่ว่าจะเป็น QR Code ที่ปรากฏตามป้ายโฆษณา เว็บไซต์ หรือเอกสาร ต่าง ๆ เพราะคนร้ายอาจแอบนำ QR Code ที่นำไปสู่เว็บไซต์ปลอมหรือหลอกให้ติดตั้งไวรัสคอมพิวเตอร์

2.เมื่อทำการสแกน QR Code ให้สังเกต URL ที่ได้จากการสแกน QR Code ว่าเป็นเว็บไซต์ของเจ้าของ QR Code จริงหรือไม่ โดยเฉพาะเว็บไซต์เกี่ยวกับธนาคาร สถาบันการเงิน ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนกรอกรหัสผ่าน (password) เข้าใช้งานเพราะอาจถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น ถอนเงิน หรือ โอนเงินไปบัญชีมิจฉาชีพ และควรระมัดระวังการลงชื่อเข้าใช้เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนการติดตั้งแอปพลิเคชัน เพื่อป้องกันไม่ให้หลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือติดตั้งไวรัสคอมพิวเตอร์ในอุปกรณ์ของตน

3.กรณี QR Code ที่ปรากฏในเอกสารราชการ หรือเอกสารของเอกชนต่างๆ หากไม่แน่ใจว่าเป็นเอกสารจริงหรือไม่ ให้โทรศัพท์ตรวจสอบกับหน่วยงานเจ้าของเอกสารโดยตรง ก่อนที่จะสแกน QR Code

ทั้งนี้หากพี่น้องประชาชนได้รับความเสียหายจากการอาชญากรรมทางไซเบอร์ สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ หรือแจ้งความออนไลน์ได้ด้วยตนเองที่เว็บไซต์ https://www.thaipoliceonline.com/ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ละเอียดยิบ! ครม.รับทราบผลงานปราบอาชญากรรมออนไลน์ในช่วง 30 วัน

นางสาว ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบ ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2567 โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

รัฐบาลเร่งพัฒนาแพลตฟอร์ม สกัดมิจฉาชีพโทร-ส่งข้อความหลอกลวง คาดพร้อมใช้ต้นปี 68

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน

เผยแจ้งความออนไลน์ 1 มี.ค 65 - 31 ต.ค. 67 เฉลี่ยเสียหายวันละ 7.7 ล้านบาท

'รองโฆษกรัฐบาล' เผยสถิติแจ้งความออนไลน์ ตั้งแต่ 1 มี.ค 65 – 31 ต.ค.67 มูลค่าความเสียหายรวม 7.48 หมื่นล้านบาท เฉลี่ย 77 ล้านบาทต่อวัน

'ทนายตั้ม' โผล่ฉายหนังคนละม้วน อ้างปมเงิน 39 ล้านค่าศิลปินจีน เป็นมิจฉาชีพหลอก 'เจ๊อ้อย'

ที่กองบังคับการปราบปราม นายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ "ทนายตั้ม" เข้าพบพนักงานสอบสวน ที่ถูกน.ส.จตุพร อุบลเลิศ หรือ เ