16 ส.ค.2565 - ที่กองบังคับการปราบปราม พล.ต.ท จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง(ผบช.ก.) พร้อมด้วย พล.ต.ต พุฒิเดช บุญกระพือ บังคับการปราบปรามการดระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ผบก.ปอศ.) นายชัยยุทธ มังศรี รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ) นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกฎหมายและคดี (คปภ.) ร่วมกันแถลงข่าว จับกุมเครือข่ายโกงประกันโควิด โดยสามารถจับกุม ผู้ต้องหาจำนวนรวม 14 ราย โดย ผู้ต้องหาจำนวน 11 ราย ถูกจับกุมในฐานความผิด ปลอมแปลงและใช้เอกสารปลอม เรียกร้องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์โดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการเรียกร้อง ตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ประมวลกฎหมายอาญา ส่วนผู้ต้องหาจำนวน 3 ราย ถูกจับกุมในฐานความผิดโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นโดยการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้อื่นนั้นทำหรือรักษาสถานะสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท แต่ไม่ดำเนินการให้มีการทำสัญญาเกิดขึ้น หรือไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาสถานะสัญญาประกันชีวิตเดิมและโดยการหลอกหลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากการถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ตาม พ.ร.บ ประกันชีวิต พ.ศ 2535
พล.ต.ท.จิรภพ เปิดเผยว่า ทั้งนี้สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ถึงปัจจุบัน ได้นำความเสียหายมาสู่ประเทศไทย ทั้งสุขภาพของประชาชนและระบบเศรษฐกิจ โดยในช่วงการระบาดดังกล่าวได้มีกลุ่มคนที่ทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยต่างๆ ในประเทศไทย ฉวยโอกาสในช่องว่างของขั้นตอนการรับเงินประกัน นำผลตรวจโรคโควิด–19 ปลอม มายื่นเพื่อขอรับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบประกันภัยที่ต้องสูญเสียเงินไปกับกลุ่มคนเหล่านี้จำนวนมาก ทั้งยังทำให้ผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด-19 จริง ได้รับค่าสินไหมล่าช้า หรือไม่ได้รับค่าสินไหม เนื่องจากบริษัทประกันขาดสภาพคล่อง
นอกจากนั้นยังมีกลุ่มตัวแทนบริษัทประกันชีวิตบางราย หลอกลวงเก็บเบี้ยประกันไว้ ไม่นำเงินส่งบริษัท โดยที่ผู้เอาประกันภัยไม่ทราบเรื่อง ซึ่งทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับการคุ้มครองตามกรมธรรม์ และเป็นการซ้ำเติมประชาชนในช่วงการแพร่ระบาด ตำรวจสอบสวนกลาง และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จึงได้ร่วมประชุมหารือเพื่อดำเนินการป้องปรามกรณีดังกล่าว โดย คปภ. ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับกลุ่มคนที่ปลอมเอกสารผลการตรวจโรคโควิด-19 เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์จากการทำประกันดังกล่าวโดยทุจริต และกลุ่มคนที่หลอกลวงให้คนทั่วไปเข้าทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ดำเนินการให้มีการทำสัญญาประกันภัยเกิดขึ้น หรือไม่ดำเนินการรักษาสถานของสัญญาประกันชีวิตดังกล่าว รวมจำนวนทั้งสิ้น 21 ราย โดยเมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการขออนุมัติหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 21 ราย ต่อศาลอาญา
ต่อมาในระหว่างวันที่ 4-15 ส.ค.65 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปอศ. ได้ร่วมกันติดตามจับกุมกลุ่มผู้ต้องหาที่ปลอมเอกสารผลการตรวจโรคโควิด-19 และนำไปเรียกร้องผลประโยชน์จากการทำประกันดังกล่าวโดยทุจริต จำนวน 11 ราย และจับกุมกลุ่มคนที่หลอกลวงให้คนทั่วไปเข้าทำสัญญาประกันชีวิต แต่ภายหลังกลับไม่ได้ดำเนินการให้มีการทำสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นหรือไม่ดำเนินการรักษาสถานของสัญญาประกันชีวิตดังกล่าว จำนวน 3 ราย รวมจำนวนทั้งหมด 14 ราย นำส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปอศ. ดำเนินคดีตามกฎหมาย
ด้าน นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกฎหมายและคดี (คปภ.) กล่าวว่า ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุม ได้นำผลตรวจโรคโควิด-19 ปลอม มายื่นบริษัทประกัน เพื่อขอรับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย โดยทางบริษัทประกันภัยได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว รายละ 50,000 บาท แต่ภายหลังระบบ AI มีการประมวลผล พบข้อสงสัยจึงมีการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง ไม่พบว่ามีการเข้าไปตรวจใน Lab ที่มีการกล่าวอ้าง จึงประสานตำรวจเข้าตรวจสอบ และจับกุมดังกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวน 'ตากแดด' เดินหมื่นก้าว สุขภาพดีสู้ได้สารพัดโรค
'หมอธีระวัฒน์' ชวนตากแดด เปรียบเหมือนยาอายุวัฒนะ เดินวันละหมื่นก้าว เข้าใกล้มังสวิรัติ เสริมสร้างสุขภาพดี ป้องกันสารพัดโรค
'หมอยง' ไขข้อข้องใขทำไมต้นปีนี้ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก!
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
‘หมอมนูญ’ เผยสถานการณ์โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ‘โควิด’ ลดลง ‘ไข้หวัดใหญ่’ เพิ่มขึ้น
ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาร์เอสวี (RSV) ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV) และไรโนไวรัส (Rhinovirus)
ราชกิจจาฯ แพร่คำสั่งคำนิยาม 50 โรคร้ายแรง สำหรับบริษัทประกันชีวิต
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งนายทะเบียนที่ ๕๕/๒๕๖๑ เรื่อง คำนิยามโรคร้ายแรง ๕๐ โรค แบบมาตรฐานและหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบสำหรับบ