23 มิ.ย.2565 - หลังจากที่พนักงานสอบสวน กองกับการ 1 ปคบ. ยื่นคำร้องฝากขังทางไกลผ่านจอภาพครั้งเเรก นายเมธา ชลิงสุข อายุ 39 ปี เจ้าของร้านดารุมะซูชิ ผู้ต้องหาในความผิดฐานร่วมฉ้อโกง ประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่า ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาและเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็น ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,343 และตามพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
โดยศาลพิจารณาคำร้องเเล้วอนุญาตให้ฝากขังได้
ต่อมานายเมธายื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอปล่อยชั่วคราว พิเคราะห์แล้วเห็นว่าการกระทำของผู้ต้องหา มีลักษณะกระทำโดยมีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถปฏิบัติตามที่โฆษณาไว้ได้ จึงทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก ทั้งทำให้เสียความเชื่อถือจากผู้ประกอบการ และผู้บริโภครายอื่น จึงเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม เชื่อว่า หากปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาอาจหลบหนีประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวยกคำร้อง
ทั้งนี้ คำร้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 20-21 มิ.ย.มีผู้เสียหายจำนวน 18 คนมายื่นร้องทุกข์กล่าวโทษ ให้ดำเนินคดีกับ บริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด โดยนายเมธาในฐานะนิติบุคคล เเละฐานะกรรมการผู้มีอำนาจในฐานะส่วนตัวจนกว่าคดีจะ สิ่งที่สุด ความเสียหายประมาณ 23,336,246 บาท
บริษัท ดารุมะซูชิ จำกัด มีนายเมธา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว ได้ทำการประกาศขายคูปอง บุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่นทางเพจเฟสบุ๊คชื่อ ดารุมะ (daruma) เพจ Daruma sushi ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ให้กับประชาชนทั่วไปที่ต้องการกิน อาหารบุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่น ซึ่งผู้เสียหายมีความสนใจจึงได้ตกลงซื้อคูปอง ของบริษัทดังกล่าว ได้ซึ่งปัจจุบันนี้มีราคา 199บาทต่อ1 ท่าน และเพจดังกล่าวได้มีการเปิดให้เป็นการซื้อแฟรนไชส์ด้วยโดยมีสาขาทั้งหมด 27 สาขา และอีกหนึ่งสาขาที่ยังไม่ได้เปิด ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีการตกแต่งพร้อมแล้วที่จะเปิดซึ่งทุกสาขาที่กล่าวมานี้ผู้ต้องหาเป็นคนบริหารเองทุกสาขา และมีการให้ผู้อื่นมาร่วมทุนในแต่ละสาขา เริ่มแรก ให้ลงทุน ในราคา 2ล้านบาทต่อสาขา ต่อมาให้ลงทุนในราคา 2.5ล้านบาทต่อสาขา และบางสาขาซึ่งเป็นเพื่อนกันก็จะ ให้ลงทุน 2.3 ล้านบาทต่อสาขา ซึ่งให้ให้ผลตอบแทน 10%ของยอดขายในแต่ละสาขาซึ่งต่อมา วันที่ 17 มิ.ย.65 ได้มีการปิดกิจการทุกสาขา จนถึงปัจจุบันก็ไม่ได้มีการเปิดแต่อย่างใด และไม่สามารถติดต่อ บริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด และนายเมธา ชลึงสุข ผู้ต้องหาได้
ผู้เสียหายได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวน 12,600,000 บาท จากการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐานตามกรณีข้างต้นเชื่อว่า บริษัท ดารุมะ ซูชิ และนายเมธา ชลิงสุข กรรมการผู้มี อำนาจได้โฆษณาผ่านทางเพจ Daruma sushi ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ โดยพบมีการโพสต์จำหน่ายบัตร คูปองอาหาร ดารุมะ ซูชิ ในราคา 199 บาท ผ่าน ทางเพจดังกล่าวเพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงโปรโมชั่นต่างๆ และมีการประการให้ผู้ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์สาขาต่างๆด้วย และมีผู้หลงเชื่อซื้อคูปองอาหารดังกล่าวเป็นจำนวนมาก และเมื่อจะเดินทางไปใช้บริการกลับไม่สามารถใช้บริการได้จนเป็นเหตุให้ ประชาชนทั่วไปที่หลงเชื่อและเกิดความเสียหายจำนวนมาก และรวมทั้งผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วยบางสาขาเมื่อผู้เสียหายได้โอนเงินทำ สัญญาไปแล้วก็ไม่ได้มีการเปิดให้บริการแต่อย่างใด พฤติการณ์การกระทำของบริษัท ดารุมะ ซูชิ โดยนายเมธา ชลิงสุข กรรมการผู้มีอำนาจ นั้นได้มีเจตนาในการกระทำ ความผิดโดยเริ่มแรกได้จัดทำแฟรนไชส์และเปิดขายบริการคูปองกินบุฟเฟต์ต์อาหารญี่ปุ่นในราคาที่สามารถเป็นไปได้
แต่ต่อมาได้มี การจัดขายโปรโมชั่นเป็นคูปองราคา 199 บาท ซึ่งจากการสอบสวนผู้เสียหายเกี่ยวกับราคาดังกล่าวนั้นซึ่งมีเมนูปลาแซลมอนด้วย จึงเป็นไปไม่ได้ในการให้บริการ แต่ได้ทำขึ้นเพื่อจูงในให้ประชาชนทั่วไปหลงเชื่อและซื้อคูปองไปจำนวนมาก
การกระทำดังกล่าวของนายเมธา ผู้ต้องหา เข้าข่ายความผิดฐานซึ่งการกร “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาและเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดย รู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ฯ
ด้วยเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้ทำการจับกุม นายเมธา ชลิงสุข ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาประตูทางออก 9 อาคารผู้โยสารขาเข้าระหว่างประเทศ ชั้น 4 สนามบินสุวรรณภูมิ ต.หนองปรือ อ.บางพลี โดยแสดงหมายจับ และผู้ต้องหารับว่าเป็นบุคคลตามหมายจับจริงและยังไม่เคยถูกจับกุมตามหมายจับนี้มาก่อนพร้อมทั้งแจ้งสิทธิตามกฎหมาย ควบคุมตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 1 ปคบ. ดำเนินคดีตามกฎหมาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เชน ธนา' ปล่อยโฮกลางวงสื่อ ชี้แจงหลังถูกกล่าวหาโกงเงิน 79 ล้าน!
กำลังเป็นประเด็นร้อนเลยทีเดียวเมื่อ เชน-ธนาตรัยฉัตร ภูโชคอนันต์ อดีตนักร้องนักแสดงที่ผันตัวไปทำธุรกิจ บริษัท อมาโด้ กรุ๊ป จำกัด ถูกกล่าวหาว่าโกงเงินค่าสินค้ามากถึง 79 ล้านบาท ล่าสุดเจ้าตัวพร้อมภรรยา เจมส์ กาลย์กัลยา และทนายความ ได้หอบหลักฐานเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ในช่วงบ่ายของวันนี้ (จันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567) ที่กองบังคับการปราบปราม
ป.ป.ช.สะดุ้ง! ยก 6 เหตุผลปราบคอร์รัปชันไร้ประสิทธิภาพ คนโกงจึงเหิมลำพอง
สาเหตุที่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตไม่ได้ผลไร้ประสิทธิภาพและพวก คนโกงคนชั่วหรือเหิมลำพอง อยู่ได้ก็เพราะ
อัยการ สั่งฟ้อง 'แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์' 4 ข้อหา ฉ้อโกง พรบ.คอมพ์ฯ โฆษณาเท็จ ขายทองไม่ได้มาตรฐาน
นายศักดิ์เกษม นิไทรโยค ผู้ตรวจการอัยการ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า ตามที่พนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.)
คอตกนอนเรือนจำ! ฝากขัง 'อ๊อด ตี่ลี่ฮวงจุ้ย' ไม่ยื่นขอประกันตัว
พนักงานสอบสวน กองกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม ได้นำตัวนายธนวันต์ จิรเจริญเวศน์ หรือ ตี่ลี่ฮวงจุ้ย ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 5404/2567
แจ้งข้อหาเพิ่ม 'ทนายตั้ม' ปมเงิน 39 ล้าน หลังรวบคนสนิทร่วมฉ้อโกง-ฟอกเงิน
พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผู้บังคับการปราบปราม เปิดเผยถึงปมเงิน 39 ล้านบาทของ น.ส.จตุพร อุบลเลิศ หรือ มาดามอ้อย แจ้งความดำเนินคดี ว่า ด้านตำรวจไม่ได้นิ่งนอนใจสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน โดยวันที่ 11 พ.ย. 67
กองปราบจับเพิ่ม 2 ผัวเมีย ร่วม 'ทนายตั้ม' ฉ้อโกงเงิน 'เจ๊อ้อย' 39 ล้าน
ที่กองบังคับการปราบปราม พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป. สั่งการตำรวจกองปราบ นำกำลังเข้าจับกุม นายนุวัฒน์ ยงยุทธ