‘อดีตบิ๊กสีกากี’ ดับฝันพวกหิวแสงคดีแตงโม ชี้อัยการสั่งสอบเพิ่ม ไม่ใช่คืนสำนวน

พล.ต.ท.อำนวย อธิบายชัด อัยการสั่งตำรวจสอบเพิ่มคดีแตงโม เป็นอำนาจตามกม. ไม่ใช่คืนสำวนวน แค่ทำประเด็นเพิ่มเติมให้คดีรัดกุม ยกตัวอย่างทำแกงเขียวหวาน ต้องเติมเกลือน้ำตาลเพิ่มเท่านั้น สุดท้ายส่งศาลมีคำพิพากษา

9 พ.ค.2565-พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “พลตำรวจโท อำนวย นิ่มมะโน” เรื่อง “การสอบสวนเพิ่มเติม กับ การเติมเกลือ น้ำตาล……” ระบุว่า  หลังจากพนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้พนักงานอัยการเพื่อพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 141 ไปแล้วจะหมดอำนาจสอบสวนทันที(ชั่วขณะ) พนักงานอัยการจะทำการตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์แห่งคดีทั้งข้อกล่าวหาและพยานหลักฐาน ก่อนที่จะมีความเห็นทางคดีต่อไป หากเห็นว่ายังมีประเด็นข้อสงสัย ขาดความชัดเจน  ก็จะอาศัยอำนาจตามมาตรา 143 สั่งให้พนักงานสอบสวน ดำเนินการเพิ่มเติมหรือสอบสวนเพิ่มเติม

ในประเด็นเช่นว่านั้นส่งไปให้พนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการต่อไป อันเป็นการดำเนินการตามปกติตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย  ไม่ได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนมีความบกพร่องในการทำสำนวน และไม่มีการคืนสำนวนกลับมายังพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด จะส่งมาเพียงประเด็นที่สั่งเท่านั้น    เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นขอเปรียบเทียบการทำสำนวนของพนักงานสอบสวน การตรวจสอบสำนวนการสอบสวนของพนักงานอัยการ และการพิจารณาคดีของศาล กับการทำกับข้าว “ทำแกงเขียวหวานสักหม้อหนึ่ง”

การสอบสวนพนักงานสอบสวนคือผู้ทำแกงเขียวหวาน ซึ่งจะต้องใช้ทั้งการสืบสวน สอบสวนเพื่อแสวงหาเครื่องปรุงมาปรุงแกงเขียวหวาน ไม่ว่าจะเนื้อ หมู ไก่  ต้องปีนต้นมะพร้าว เก็บผลมะพร้าวมาเพื่อคั้นกะทิ เครื่องแกงซึ่งประกอบด้วย หอม กระเทียม พริกขี้หนูสวน ข่า ตะไคร้ รากผักชี  ผิวมะกรูด  พริกไทย เกลือ กะปิ อีกทั้งต้องมีพริกชี้ฟ้า มะเขือพวง มะเขือเปราะ ใบโหระพา ใบมะกรูด เพื่อที่จะมาทำแกงเขียวหวาน(พยานหลักฐาน) มันจะยุ่งยากมากเรื่องสักขนาดไหนลองนึกภาพดูเอาเองเถอะครับ???   ในการปรุงก็จะต้องอาศัยเทคนิคแทคติกอีกต่างหาก เช่น การใช้ความร้อนจากเตาในระดับใด ใส่เครื่องปรุงก่อนหลังตามลำดับอย่างไรจึงจะทำให้แกงเขียวหวานหม้อนี้น่าชวนรับประทาน ทำเสร็จเรียบร้อยส่งสำนวนการสอบสวน คือแกงเขียวหวานหม้อนั้นไปยังพนักงานอัยการ พนักงานอัยการจะมีหน้าที่ “ชิม” แกงเขียวหวานหม้อนั้น ชิมที่ว่าก็คือตรวจสำนวนการสอบสวน ถ้าชิมแล้วตรวจสอบแล้วมีรสชาติอร่อยกลมกล่อมครบถ้วนสมบูรณ์ ก็จะมีความเห็นทางคดีสั่งฟ้องส่งสำนวนไปยังศาลฟ้องคดีต่อไป แต่ถ้าเห็นว่ายังไม่อร่อย ก็จะ “ชิมไปบ่นไป” แล้วอาศัยอำนาจตามมาตรา 143 สั่งให้พนักงานสอบสวนเพิ่มเติม (ปรุงรสเพิ่ม) ด้วยการสอบสวนเพิ่มเติมเช่น ยังไม่หวาน ยังไม่เค็ม ให้เติมน้ำตาล เติมเกลือ ก็เท่านั้น ไม่ได้มีอะไรวิจิตรพิสดาร เป็นเรื่องของหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายตามปกติธรรมดา……

ต่อเมื่อมีการสอบสวนเพิ่มเติมปรุงรสเรียบร้อย กลมกล่อมดีแล้ว พนักงานอัยการชิมแล้วพอใจก็จะส่งสำนวน คือแกงเขียวหวานหม้อนั้นฟ้องไปยังศาล  ท่านผู้พิพากษา(ครบองค์คณะ) มาล้อมวงร่วมกันรับประทานแกงเขียวหวานหม้อนั้น ก็คือการพิจารณาพิพากษาคดี พิจารณาว่าเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้นั้นสด กะทิมีความเข้มข้นที่เหมาะสม รสชาติกลมกล่อมอร่อยอย่างสิ้นสงสัย คือ พยานหลักฐานเป็นของจริง รสชาติถูกต้องตามตำรับของแกงเขียวหวาน  ไม่เกิดจากการบังคับ ขู่เข็ญ หลอกลวงให้คำมั่นสัญญา น่าเชื่อถือหรือไม่ เมื่อเห็นว่าแกงเขียวหวานนี้ไม่มีความผิดปกติ ไม่มีข้อพิรุธน่าสงสัยก็จะพิพากษาลงโทษจำเลย แต่ถ้าศาลเห็นว่าแกงเขียวหวานนี้ไม่ถูกต้องตามตำรับไม่ว่ารสชาติหรือส่วนผสมของเครื่องปรุงที่พึงมี จะพิพากษายกฟ้องคดีก็เท่านั้น

จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นได้ว่ากระบวนการยุติธรรมชั้นตำรวจชั้นพนักงานสอบสวน ชั้นสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานจะเป็นชั้นที่มีความยุ่งยาก สลับซับซ้อน มากที่สุด ต้องปีนต้นมะพร้าว ต้องแสวงหาเครื่องปรุงซึ่งมีอยู่มากมาย เพื่อนำมาเป็นพยานหลักฐานประกอบปรุงรสให้เป็นแกงเขียวหวาน   ส่งต่อไปให้พนักงานอัยการเพื่อ “ชิม” และอาจจะชิมไปบ่นไป สุดท้ายส่งต่อไปเพื่อให้ศาลได้รับประทานแกงเขียวหวานหม้อนั้นเพื่อพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐาน แล้วมีคำพิพากษา….    กระผมใคร่ถามว่าขั้นตอนไหนตรงไหนยุ่งยากที่สุด??? (ไม่ต้องตอบครับ)

คดีการเสียชีวิตของดาราสาวแตงโม นิดา ซึ่งพนักงานสอบสวนส่งสำนวนไปให้พนักงานอัยการแล้ว พนักงานอัยการสั่งให้สอบเพิ่มเติมในบางประเด็น เพื่อให้แกงเขียวหวานหม้อนี้กลมกล่อมยิ่งขึ้น ก็ขออย่าได้นำไปเป็นประเด็นอีกเลย เป็นเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ ……. การตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ ความน่าเชื่อ ไม่น่าเชื่อแห่งพยานหลักฐานเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการ   ส่วนจำอวดหน้าม่าน…ไม่ว่าจะอวดรู้…อวดเห็น…อวดมี…หรือ”พวกอยาก” อยากเด่น…อยากดัง…อยาก(หิว)แสง…อยาก(หา)เสียง…สุดท้ายอยากติดคุก… น่าจะได้เวลากลับเข้าหลังม่านได้แล้ว(หมดมุกแล้วครับ)

ที่มีคำถามต่อไปว่า พนักงานอัยการสั่งให้สอบสวนสอบเพิ่มเติมในประเด็นใดนั้น เหตุที่พนักงานสอบสวนไม่สามารถออกมาชี้แจงได้เพราะการสอบสวน”เป็นความลับ”  หากเปิดเผยออกไปจะทำให้คู่ความเสียความยุติธรรมก็เท่านั้น    สุดท้ายขอฝากไปยังพนักงานสอบสวนให้เดินหน้าต่อไปอย่างมีสติ มีสมาธิ และมีปัญญา ส่วนเสียงนกเสียงกาให้ฟังเป็นเสียงเพลงก็เท่านั้นครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วิจารณ์แซ่ด! อัยการปราบทุจริตฯ สั่ง สอท. ส่งสำนวนคดีเว็บพนันพันบิ๊กตร. ให้ ป.ป.ช.

'อัยการปราบทุจริตฯ' ร่อนหนังสือด่วนที่สุดให้ 'สอท.' รับสำนวนคดีเว็บพนันพันบิ๊กตำรวจ ไปส่ง ป.ป.ช. ทั้งที่ อสส. ยังไม่ได้มีคำสั่งชี้ขาดข้อหารือ วิจารณ์เเซ่ดบรรทัดฐานใหม่

'ไกรบุญ' สั่งปลด 'ตร.ชุดน้ำมันเถื่อน' เซ่นแซตฉาว ขอเชื่อมือ 'บิ๊กเต่า'

'พล.ต.อ.ไกรบุญ' การันตีไม่เคยเรียกรับผลประโยชน์น้ำมันเถื่อน ยอมรับสั่งปลดตำรวจเซ่นแชตฉาวจริง เชื่อมือ 'บิ๊กเต่า' สอบสวนสุจริตเป็นธรรม

'ก.ร.ตร.' ระส่ำ! แจ้งความดำเนินคดีกันเอง 'พล.ต.ท.อำนวย' ไม่ทำงานเต็มเวลา-หมิ่นประมาท

'ก.ร.ตร.' ระส่ำ! 'สมศรี หาญอนันทสุข' แจ้งความดำเนินคดี 'พล.ต.ท.อำนวย' หมิ่นประมาท พิมพ์ข้อความเท็จในไลน์กลุ่ม ก.ร.ตร. ทำให้เสียชื่อเสียงสร้างความเกลียดชัง -ไม่มาปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พรบ. ตำรวจแห่งชาติ

สาหัส! เปิดคำฟ้อง ม.112 'นช.ทักษิณ' กระทำระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ร.9 ให้ทรงเสื่อมเสีย

ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญาได้นำตัวนายทักษิณ ชินวัตร ผู้ต้องหาที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องใน

'ราชทัณฑ์' เผยขั้นตอนหากทักษิณไม่ได้ประกันตัวคดี 112

นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงกรณีวันที่ 18 มิ.ย.นี้ อัยการจะนำตัวนายทักษิณ ชินวัตร ส่งฟ้องต่อศาล และขั้นตอนต่อไปจะเป็นอย่างไรนั้น ว่า ในวันพรุ่งนี้ (18 มิ.ย.) หากศาลไม่อนุญาตประกันตั