'ทนายนกเขา' นำกลุ่มประชาชนคนไทย ร้อง กมธ.สิทธิมนุษยชน ลุยสอบคดีแตงโม จ่อยื่นประเด็นเพิ่ม

กลุ่มประชาชนคนไทย ร้องกมธ.สิทธิมนุษยชนฯ วุฒิสภาฯ เดินหน้าตรวจสอบความจริงปมคดี"แตงโม" หวั่นเกิดอิทธิพลเหนือกระบวนการยุติธรรม พร้อมขอให้เร่งติดตามการแก้ไขกฎหมายตำรวจ-กฎหมายนิติวิทยาศาสตร์ ให้สามารถร้องขอผ่าชันสูตรพิสูจน์ศพซ้ำ ทั้งในคดีอาญาและไม่ใช่คดีอาญาได้

28 มี.ค.2565 - ที่รัฐสภา กลุ่มประชาชนคนไทย (ปท.) นำโดย นายนิติธร ล้ำเหลือ และนายพิชิต ชัยมงคล พร้อมคณะ เข้ายื่นหนังสือต่อ นายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เพื่อขอให้ช่วยพิจารณาสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่อกรณีการเสียชีวิตของนางสาวภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ หรือ แตงโม นิดา รวมทั้งเรียกให้บุคคลใดๆมาให้ข้อเท็จจริงเต็มตามอำนาจของคณะกรรมาธิการ รวมไปถึงการตรวจสอบกรณีการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสืบสวนสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีข้อสังเกตการเสียชีวิตที่ผิดธรรมชาติ 17 ประเด็น และเหตุผลที่มายื่นเรื่องต่อกรรมาธิการนั้นเพราะจากการติดตามข่าว ปรากฎกรณีมีการให้สัมภาษณ์ว่าการทำงานของกรรมาธิการฯเป็นการแทรกแซง ซึ่งตนมองว่าอาจเป็นการไม่รู้กฎหมาย ไม่เข้าใจระบบตรวจสอบถ่วงดุลและไม่เคยชินกับการที่จะถูกตรวจสอบ ตนจึงมายื่นเรื่องขอให้กรรมาธิการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ ซึ่งนอกจาก 17 ประเด็นดังกล่าว ก็เตรียมจะยื่นเสนอประเด็นตรวจสอบเพิ่มเติมตามมาอีก

ทั้งนี้จากประสบการณ์การทำคดีวิสามัญฆาตกรรม การซ้อมทรมานด้านสิทธิมนุษยชน ค่อนข้างมั่นใจว่าบนร่างของคุณแตงโม ดูจากสภาพด้านหน้าน่าจะมีบาดแผลด้านหลังด้วย แต่ไม่มั่นใจว่าเป็นบริเวณใด ซึ่งเป็นเรื่องที่พนักงานสืบสวนสอบสวนสามารถเปิดเผยให้ประชาชนทราบได้ ไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อคดีใดๆแต่จะทำให้ประชาชนติดตามคดีได้และสามารถช่วยหาร่องรอยของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การดำเนินการทุกอย่างไม่จำเป็นจะต้องเป็นความลับทุกอย่าง อีกทั้งการที่กรรมาธิการลงพื้นที่ตรวจสอบเรือที่เกิดเหตุก็จำเป็นจะต้องตรวจสอบได้อย่างใกล้ชิด และตำรวจต้องทำให้อย่างโปร่งใส เพราะสังคมเองยังคาใจอยู่หลายเรื่อง และอยากให้กรรมาธิการได้เชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเป็นคณะทำงาน เพราะการอาศัยแพทย์เพียงอย่างเดียวอาจตอบคำถามได้ไม่หมดโดยเฉพาะเรื่องเรือที่ต้องอาศัยผู้ชำนาญการ

นอกจากนี้ กลุ่มประชาชนคนไทยยังขอให้กมธ.ได้เร่งติดตามการแก้ไขพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ และการแก้ไขพระราชบัญญัติการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2559 เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง อาทิ การสามารถร้องขอให้ผ่านชันสูตรซ้ำเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ตายทั้งคดีอาญาหรือไม่ใช่คดีอาญาได้ การยกเลิกขั้นตอนการผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพราะการชันสูตรศพทุกครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นคดีอาญาทุกราย ขณะเดียวกันการรายงานผลการผ่าชันสูตรซ้ำ ไม่ควรให้โทษกับพนักงานสอบสวนที่ถือเป็นความผิดหากไม่ปรากฏในสำนวนคดี เพระบางครั้งอาจไม่ใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนร้องขอให้ผ่าชันสูตรซ้ำก็ได้

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เด็จพี่' ร้องDSI สอบทุจริต บ.NT-เอกชน ฮั้วประมูลจัดซื้อจัดจ้าง งบเกือบพันล้าน

ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีต สส.บัญชีรายชื่อและอดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย เดินทางยื่นเอกสารต่อ ร.ต.อ.วิษณุ

'อ.ไชยันต์' ย้อนถามมีสว.ไว้ทำไม ยกตัวอย่างหลายประเทศยกเลิกแล้ว เหตุไม่มีความจำเป็น

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

ชาวบ้านน้ำพุร้อน ร้องดีเอสไอ สอบผู้ใหญ่บ้านร่ำรวยผิดปกติ บกพร่องหน้าที่ หน่วยงานเงียบฉี่

ชาวบ้านพุน้ำร้อน ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี กว่า 100 คนได้มารวมตัวกันที่บริเวณหน้าด่านพุน้ำร้อนเพื่อมายื่นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ร้องเรียนให้ตรวจสอบพฤติกรรมผู้ใหญ่บ้าน

'ดีเอสไอ' ชง ป.ป.ช. ฟันทุจริต 4 เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร-ปศุสัตว์ เอี่ยวนำเข้าหมูเถื่อน

จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ภายใต้การกำกับของ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และในฐานะรักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มอบหมายให้ พ.ต.ต.ณฐพล ดิษยธรรม