7 มี.ค.2565 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า ข้อมูลในปัจจุบันสายพันธุ์โอมิครอนครองโลกเป็นส่วนใหญ่แล้ว โดยโอมิครอน สายพันธุ์ BA.1 ยังเป็นสายพันธุ์หลัก และมี BA.1.1 สายพันธุ์ลูกซึ่งมีการกลายพันธุ์ เจอค่อนข้างมาก ส่วน BA.2 พบแสนกว่า ส่วน BA.3 มีน้อยมาก สำหรับในประเทศไทยที่มีการเฝ้าระวังช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ตรวจ 1,900 ราย พบว่าสายพันธุ์ อัลฟ่า (อังกฤษ) เบต้า แอฟริกาใต้ แกรมม่า ไม่พบแล้ว มีเดลต้า (อินเดีย) 7 ราย ที่เหลือโอมิครอนทั้งหมดโดยแชร์ส่วนแบ่งในตลาดแล้ว 99.6% มีอยู่ในทุกจังหวัด ส่วนในคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ก็พบเป็นโอมิครอน ทั้งนี้ พบ โอมิครอนBA.1 และ BA.2 สัดส่วน พบในภาพรวม BA.2 พบ 52% ที่เหลือเป็น BA.1 โดยพบ BA. 2 แพร่เร็วกว่า ค่อยๆ เบียด สัปดาห์ต่อไปจะเพิ่มขึ้นเรื่อย สักพักจะแทน BA. 1 รวมทั้งต้องเฝ้าระวังว่าจะมี BA อื่นอีกหรือไม่
นพ.ศุภกิจกล่าวว่า มีคำถามว่าถ้าแพร่เร็วแสดงว่า มีเคสเพิ่มขึ้น แพร่เชื้อเร็วจาก BA. 2 ซึ่งองค์การอนามัยโลกยังไม่มีข้อมูลเพียงพอเรื่องการแพร่เร็ว ส่วนความรุนแรงยังไม่มีความแตกต่างจาก BA.1 ที่สำคัญ โดยพบมีการแพร่เร็วกว่า 1.4 เท่า ถ้าติดในครัวเรือน จะแพร่กระจายได้สูงกว่า BA.1 เทียบ 39% ต่อ 29% โดย BA.2 แพร่เร็วกว่า 10% ในส่วนวัคซีนพบ BA.2 ดื้อต่อวัคซีนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่มีนัยยะสำคัญทางสถิติ โอมิครอน BA. 1 และ BA.2 ต่างกันไม่มากจากงานวิจัย แต่ที่พบสำคัญคือ ในเรื่องยาป้องกัน จากที่เคยรักษา BA. 1, เดลต้า ได้มารักษา BA. 2 ไม่ได้ จากที่ใช้ยาราคาแพงจัดการเชื้อได้ พอมาเจอสายพันธ์ BA. 2 จัดการไม่ได้ แม้จะเสียเงินแพงแค่ไหนก็การรักษาแทบไม่ต่างกัน โดยสรุปพบโอมิครอน BA.2 ในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตไม่ได้เป็นการก้าวกระโดด แต่เป็นตามสัดส่วนที่พบผู้ติดเชื้อ
เมื่อถามว่าสายพันธุ์ BA.1 และ BA.2 จะมีความรุนแรงต่อกลุ่มเสี่ยงหรือไม่อย่างไร นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ข้อมูลในปัจจุบันยังไม่พบรุนแรง พบเมื่อติดเชื้อเร็ว จะมีคนรับติดเชื้อได้มากขึ้น เป็น 39 เปอร์เซ็นต์ต่อ 29 ปอร์เซ็นต์ ในคนสูงอายุ 2 เข็มช่วยได้ไม่มาก ในเรื่องความรุนแรง แต่ให้ชัวร์ ต้องเข็ม 3 พบว่าวันนี้ผู้ที่เสียชีวิตยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่เพียงพอ มีติดเตียงที่บ้าน และยิ่งในช่วงสงกรานต์ที่จะมีการกลับบ้าน อาจจะเอาโอมิครอนไปฝากได้ ที่ใดที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือ 2 เข็ม ต้องรีบ
ส่วนคำถามที่ว่าวัคซีน ที่ใช้ในไทย จะมีผลต่อสายพันธุ์ย่อยที่พบ BA. 1 และ BA.2 ไม่แตกต่าง วัคซีนทุกยี่ห้อ เมื่อฉีดระยะหนึ่ง ภูมิจะลดลงแน่ เข็มกระตุ้นจึงจำเป็นในขณะนี้
ด้านนพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวว่า การตรวจหาสายพันธุ์ในปัจจุบัน ย้ำในไทยยังไม่พบ สายพันธุ์โอมิครอน BA.3 จึงยังไม่ต้องกังวล ยังไม่พบสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอนยังเป็นสายพันธุ์สุดท้ายที่พบในขณะนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป