ศ.นพ.ยง : โควิด 19 วัคซีน ความไม่เท่าเทียมการบริการให้วัคซีน

5 มี.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กดังนี้

โควิด 19 วัคซีน ความไม่เท่าเทียมการบริการให้วัคซีน

ทั่วโลกได้รับวัคซีนไปแล้วประมาณเกือบ 1,1000 ล้านโดส ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศทางตะวันตกประเทศผู้ผลิตวัคซีน ในทางตรงกันข้าม ประเทศในแอฟริกาได้รับวัคซีนไปเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ในขณะที่อเมริกาและยุโรป มีวัคซีนที่เก็บไว้และจะต้องถูกทำลายเพราะหมดอายุเป็นจำนวนมาก วัคซีนที่ใช้ฉีดขวดหนึ่งมีหลายโดส และในการฉีดขณะนี้ การบริหารวัคซีน ต้องทิ้งเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถเก็บไว้ได้

ทำนองเดียวกันกับประเทศไทย การบริหารวัคซีนต่อไปนี้ เมื่อมีผู้ฉีดต่อวันน้อยลง การสั่งวัคซีนเข้ามาเก็บเป็นจำนวนมาก ก็จะมีโอกาสที่จะต้องหมดอายุ โดยเฉพาะวัคซีน ที่มีอายุสั้น การเก็บรักษายาก และขวด 1 ต้องฉีด 10 คนหรือ 15 คน จะทำให้การบริหารวัคซีนยากมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม mRNA วัคซีนที่มีอายุสั้น หลังละลายแล้ว อยู่ได้เพียง 1 เดือน จะเก็บแช่แข็งตลอดไปก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก

ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ไม่มีวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ออกมาแน่นอน

การมีวัคซีน หรือเก็บไว้จำนวนมาก ก็เสี่ยงต่อการหมดอายุ เราลงทุนกับวัคซีนไปแล้วหลายหมื่นล้านบาท

ความเสมอภาคหรือเท่าเทียมระหว่างประเทศ ที่ร่ำรวย กับยากจน มีความแตกต่างกันมาก เป็นเหตุให้อัตราการได้รับวัคซีนในแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า