แพทย์สถาบันบำราศฯ เผยเตรียมยาโมลนูพิราเวียร์ ไว้ 5หมื่นเคส มีผลวิจัยลดอัตราตายได้ 89% คาดเข้าไทยปลายเดือนมี.ค.นี้ 2 ล้านเม็ด

3 มี.ค.65 บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันบำราศนราดูร แถลงข่าวแนวทางการรักษาใหม่ สำหรับโรคโควิด 19 และ การใช้ยา Molnupiravir(โมลนูพิราเวียร์) โดยล็อตแรกจะเข้าไทยภายในปลายเดือนมีนาคม 2565 จำนวน 50,000 เคส หรือประมาณ 2 ล้านเม็ด เน้นการใช้รักษาในกลุ่มผู้ป่วยโควิด13 ในกลุ่มสีเหลืองและสีแดง

นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิและรองผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร กล่าวว่า เนื่องจากโควิด19 เป็นเขื้อไวรัสที่มีการกลายพันธุ์อยู่ตลอด ดังนั้นแนวทางการรักษาก็จะต้องมีการปรับให้เข้ากับตัวโรคด้วย ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้มีการปรับแนวทางการรักษาและดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ใหม่เมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมีการแบ่งกลุ่มผู้ป่วย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 สีเขียวเข้ม คือ ผู้ป่วยไม่มีอาการหรือสบายดี เข้าสู่การรักษาแบบ Home Isolation(HI) เพราะสามารถหายเองได้ หรือขอรับยาทางเลือก เช่น ฟ้าทะลายโจร กลุ่มที่ 2 สีเขียวอ่อน ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรครุนแรง เข้าสู่การรักษาแบบ HI จะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์

กลุ่มที่ 3 สีเหลือง ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ มีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยจะมีการให้ เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์,ยาเรมเดซิเวียร์(Remdesivir)คือ ยาฉีด, ยาโมลนูพิราเวียร์(Molnupiravir) และเนอร์มาเทรลเวียร์ (Nirmatrelvir)/ ไรโทนาเวียร์ (Ritonavir) และในกลุ่มที่ 4 สีแดง ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการปอดอักเสบ หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยจะมีการให้ยาเรมเดซิเวียร์ และหากมีอาการปอดอักเสบเล็กน้อยจะให้ยาโมลนูพิราเวียร์

“สำหรับยารักษาโรคโควิด19 ในปัจจุบัน แบ่งเป็น กลุ่มแอนติบอดี้สำเร็จรูป เป็นลักษณะของยาฉีด ซึ่งยากลุ่มนี้จะจับกับสไปรท์โปรตีนของไวรัสที่จะทำการบล็อคไวรัสก่อนที่จะเข้าเซลล์ เมื่อไวรัสเข้ามาในร่างกายก็จะได้รับยาในกลุ่มยาต้านไวรัส ป้องการขยายตัวของไรัส และหากไวรัสเข้าในเซลล์ก็จะต้องได้รับยาในกลุ่มยาลดอาการอักเสบ ซึ่งยาตัวใหม่ที่จะนำเข้ามาใช้การรักษาโควิดในไทย คือโมลนูพิราเวียร์ จัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งมีลักษณะการออกฤทธิ์กับโครงสร้างของไวรัส ทำให้โครงสร้างผิดไปจากเดิม ไวรัสจึงไม่สามารถจำลองแบบพันธุ์กรรมและเพิ่มจำนวนได้ และยาเนอร์มาเทรลเวียร์ ที่คาดว่าจะมีการนำเข้าในไม่ช้าด้วยเช่นกัน” นพ.วีรวัฒน์ กล่าว

นพ.วีรวัฒน์ กล่าว ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาโมลนูพิราเวียร์ ว่า โมลนูพิราเวียร์ มีการใช้ในหลายประเทศ ถือเป็นยาอีกหนึ่งทางเลือกในการใช้รักษาในกลุ่มผู้ป่วยอาการสีเหลืองหรือกลุ่มอาการสีแดงในไทย ที่มีอาการปอดอักเสบ หรือเชื้อมีการลงไปที่ปอด อย่างกลุ่มที่เหมาะในการใช้ยาคือ ผู้สูงอายุในกลุ่มสีเหลืองและสีแดง ซึ่ง เอ็มเอสดี ผู้ผลิตและคิดค้นยา ได้มีผลการศึกษาวิจัยในรพ.สหรัฐอเมริการะยะที่ 3 ในคนจำนวนกว่า 1,400 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 18 ปี มีอาการหลังจากติดเชื้อโควิดไม่เกิน 5 วัน และมีโรคร่วม เช่น ผู้สูงอายุ ปอดอักเสบ โรคไต โรคเกี่ยวสมอง ปอดอักเสบ โรคตับแข็ง เป็นต้น จำนวน 700 คน โดย จะมีการให้ในคนไข้ขนาดยา 800 มิลลิกรัม หรือ 4 เม็ดเช้าเย็นในทุก 12 ชั่วโมง ซึ่ง(ยาโมลนูพิราเวียร์ 1 เม็ดมีขนาด 200 มิลลิกรัม) เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้ยาหลอก จำนวน 700 คน จากการติดตาม 28 วัน พบว่า กลุ่มที่ได้ยาโมลนูพิราเวียร์ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล 30% และลดอัตราการเสียชีวิตได้ 89% รวมถึงลดปริมาณไวรัสที่ปลดปล่อยออกมาได้ด้วย อีกทั้งมีผลข้างเคียงน้อยมาก แต่อาจจะมีในเรื่องของทางเดินอาหาร เช่น การคลื่นไส้เพียง 1% ที่สำคัญคือต้องหลังจากติดเชื้อต้องได้รับยาภายใน 5 วัน

อย่างไรก็ตาม แนวทางการรับยาโมลนูพิราเวียร์สำหรับผู้ป่วยโควิด19 ในไทย คือ 8 เม็ดต่อวัน ครั้งละ 4 เม็ดเช้าเย็น ต่อเนื่อง 5 วัน รวม 40 เม็ด ดังนั้นการนำเข้าในล็อตแรกนี้ อาจจะมีการเลือกผู้ป่วยโควิดที่เหมาะสมและจำเป็นในการรับยานี้จำนวน 50,000 เคส เพราะยามีจำนวนจำกัด

ดังนั้นผู้ป่วยโควิดต้องได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ให้เร็วที่สุดภายใน 5 วันหลังจากติดเชื้อ โดย“สิ่งสำคัญคือระยะเวลาในการให้ยา ถึงแม้ว่ายาจะดีแค่ไหน ถ้าหากมีการเริ่มใช้ยาต้านไวรัสไม่เหมาะสมกับเวลาของโรคจะทำประสิทธิภาพของยาลดลง อย่างในข้อมูลการวิจัย จะพบว่าหลังจากติดเชื้อปริมาณไวรัสโควิดจะเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์แรก ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะต้องเริ่มให้กลุ่มยาต้านไวรัส หรือกลุ่มยาแอนติบอดี้สำเร็จรูป” นพ.วีรวัฒน์ ย้ำ

ศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า ยาที่ใช้รักษาโควิด19 ไม่ได้ผลิตขึ้นมารักษาโควิดโดยเฉพาะ อย่าง ยาฟาวิพิราเวียร์ ถูกผลิตขึ้นเพื่อรักษาไข้หวัดใหญ่ ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโควิด19 จึงได้มีการเพิ่มขนาดของยาเพื่อนำมาใช้รักษาอาการโควิด ซึ่งมีการใช้เพียงไม่กี่ประเทศ รวมถึงยาเรมเดซิเวียร์ ใช้รักษาโรคตับอักเสบซี และอีโบลา แต่ในการทดลองพบว่ามีฤทธิ์ต่อเชื้อโควิด จึงได้มีการนำมาใช้รักษาร่วมด้วย แต่ทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวสามารถช่วยให้อาการดีขึ้น แต่ไม่สามารถลดอัตราการตายได้ แต่ยาต้านโควิด19 ที่ถูกพัฒนาโดยตรงขณะนี้ อย่าง ยาโมลนูพิราเวียร์ และเนอร์มาเทรลเวียร์ สามารถลดอัตราการรุนแรงของโรคและอัตราการตายได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’  ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้

เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป

สายการบิน 'ลุฟท์ฮันซา' ต้องจ่ายค่าปรับกรณีเลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารชาวยิว

สายการบินลุฟท์ฮันซาต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา เหตุเพราะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดขอ

ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่