'นักไวรัสวิทยา' ยกเคสนิวซีแลนด์คุม 'อัลฟ่า-เดลต้า' ได้ แต่พ่าย 'โอมิครอน' ทั้งที่ฉีดวัคซีนแล้ว78%

'ดร.อนันต์' ยกเคส นิวซีแลนด์ ควบคุมการแพร่ะระบาดได้ดีเยี่ยมทั้งแอลฟ่า-เดลต้า แต่ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อสูงถึงเกือบ 2 หมื่นคน จากโอมิครอน สะท้อนภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่ฉีดให้กับประชากรแล้ว 78%

2 มี.ค.2565- ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักไวรัสวิทยา โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า

นิวซีแลนด์เป็นประเทศระดับต้นๆของโลกที่มีความสามารถในการควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสโรคโควิด-19 ในประเทศได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นรอบแรก รอบแอลฟ่า หรือ แม้แต่เดลต้าก็ทำอะไรประเทศนี้ไม่ได้ จะเห็นได้ว่าจำนวนเคสการติดเชื้ออยู่ในระดับต่ำมากมาตลอด ปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนให้กับประชากรนิวซีแลนด์ครบแล้วที่ 78% ซึ่งทำให้รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการ และ เปิดประเทศรับความเสี่ยงได้มากขึ้น

ตัวเลขวันนี้ล่าสุดนิวซีแลนด์มีผู้ติดเชื้อสูงถึงเกือบ 2 หมื่นคน และ เมื่อดูกราฟแสดงผู้ติดเชื้อจะเห็นได้ชัดมากว่า กราฟสูงเป็นเส้นตรงเกือบ 90 องศากับแกนนอน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อที่ไวมากๆ เป็นการบอกเป็นนัยๆว่า นอกจากโอมิครอนจะแพร่กระจายได้ไวแล้ว ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่คิดว่าน่าจะช่วยให้การระบาดไม่ไปไวอย่างที่คิดคงไม่เป็นไปตามนั้น และ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ได้ภูมิมาจากวัคซีนกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการแพร่กระจายของไวรัสในประชากรมีน้อย ภูมิคุ้มกันแบบ HYBRID ที่คิดว่าจะต่อสู้กับโอมิครอนได้ดี จะมีไม่มากเท่ากับหลายๆประเทศ ที่ผ่านการระบาดมาหลายระลอก...

ข้อมูลผู้ป่วยในนิวซีแลนด์น่าจะช่วยบอกได้ว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนช่วยเราได้มากขนาดไหน เพราะ ข้อมูลจากฮ่องกงที่โดนโอมิครอนโจมตีในตอนนี้ สอดคล้องกับผู้ติดเชื้อที่มีไม่มากจากนโยบายเข้มงวดในการป้องกันระลอกระบาดที่ผ่านๆมาก็เห็นภาพการป่วยหนักและเสียชีวิตที่ไม่น้อยเช่นกัน

คำถามที่ตามมาคือ ถ้าประเทศจีนที่ไม่ผ่านการระบาดระลอกใหญ่ๆมาเหมือนกัน แล้วปล่อยให้มีกราฟสูงเป็นเส้นตรงดิ่งขนาดนี้ในประชากรจำนวนมหาศาล จะเกิดอะไรขึ้น นโยบาย Zero COVID จะเป็นอย่างไร...ให้กำลังใจให้ประเทศจีนยื้อสำเร็จครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า