สธ. คาดเดือน มี.ค. 'โควิดขาลง' เริ่มปรับรักษาผู้ติดเชื้ออาการน้อย เป็นผู้ป่วยนอก

สธ.คาดเดือนหน้าสถานการณ์​โควิดจะเริ่มลดลง​ ส่วนผู้ป่วยใส่ท่อหายใจจะลด​ 400-500 คน​ ยันยารักษามีเพียงพอ​ เผย​ 1 มี.ค.ปรับการรักษาผู้ป่วยไม่แสดงอาการ-อาการน้อย​ เป็นรูปแบบผู้ป่วยนอก​ OPD

28 ก.พ.2565​ - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการ​ณ์การ​แพร่ระบาด​ของ​โรค​โค​วิด​-19 ว่า​อัตราการติดเชื้อของประเทศไทย สอดคล้องกับอัตราการติดเชื้อในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจำนวนจะเพิ่มสูงขึ้นแต่อัตราการเสียชีวิตยังคงต่ำอยู่​ โดยสถานการณ์ในไทย ยังคงพบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกภูมิภาค ทำให้พบผู้ป่วยปอดอักเสบ ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยเสียชีวิตและแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป กลุ่มที่มีโรคเรื้อรัง โรคอ้วน และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งยังคงต้องเน้นการสื่อสารให้ประชาชนรับวัคซีนทุกเข็มโดยเฉพาะวัคซีนเข็มกระตุ้น​ โดยขณะนี้เน้นการตรวจจับการระบาดในคลัสเตอร์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง และสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดในวงกว้าง เช่น ร้านอาหารกึ่งผับบาร์ สถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคนหมู่มาก

นพ.เกียรติ​ภูมิ​ กล่าวว่า​ ด้านสถานการณ์เตียงโควิด-19 ของทั้งประเทศไทย​ ปัจจุบันอัตราครองเตียงอยู่ที่ ร้อยละ 59 โดยกรมควบคุมโรคได้มีการจัดทำฉากทัศน์ หรือ รูปแบบจำลอง การคาดการณ์สถานการณ์โควิด-19 ในเดือนมี.ค. ซึ่งกราฟการติดเชื้อจะเข้าสู่ระดับทรงตัวและจะค่อยๆ ลดลง ส่วนกลุ่มที่ติดเชื้อแล้วต้องใส่ท่อช่วยหายใจ คาดการณ์จะลดลงถึง 400-500 ราย​ ขณะที่ผู้เสียชีวิตของไทยวันนี้ 42 ราย ยังคงเป็นผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป 29 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคเรื้อรัง 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 26 รวมทั้ง ปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคไต และผู้ป่วยติดเตียง​ นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยรุนแรง ภาวะปอดอักเสบสะสม 980 ราย เพิ่ม 25 ราย ส่วนใส่ท่อช่วยหายใจสะสม 280 ราย เพิ่มขึ้น 12 ราย

นพ.เกียรติ​ภูมิ​ ยังกล่าว​อีกว่า​ สำหรับข้อมูลสถานการณ์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย เข็มแรก​ฉีดไปแล้วร้อยละ 77 เข็มที่สอง​ฉีดไปแล้วร้อยละ 71.5 เข็ม 3 ขึ้นไป ฉีดไปแล้วร้อยละ 29.2 ขณะที่ การสำรองยาวฟาวิพิราเวียร์ ปลัดกระทรวงสาธารณสสุข ยืนยัน ยามีเพียงพอ โดยองค์การเภสัชกรรมมีอยู่ 65,200 เม็ด กระจายไปยังเขตสุขภาพที่ 1-12 จำนวน 13,343,882 เม็ด เขตสุขภาพที่ 13 คือกรุงเทพฯกระจายไปแล้ว 3,495,636 เม็ด รวมทั้งหมด 16,904,718 เม็ด​ทั้งนี้ องค์การเภสัชกรรมมีแผนจัดหาและผลิตยาฟาวิพาราเวียร์ รวม 87.6 ล้านเม็ด ซึ่งได้มีการเตรียมไว้จนถึงเม.ย.นี้​

สำหรับภาพรวมนโยบายการดำเนินงานและความพร้อมของระบบสาธารณสุขตอนนี้โควิด เป็นช่วงขาขึ้น จะเน้นการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยเสียชีวิต โดยตอนนี้จะเน้นระบบ ATK First OPD- HI First ปรับการรักษาผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการและผู้ป่วยอาการน้อย เป็นรูปแบบผู้ป่วยนอก OPD โดยเน้นรักษาตัวเองที่บ้านและแยกกักที่บ้าน รับยา ลงทะเบียนผ่านระบบ 1330 สปสช. หรือหน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ซึ่งจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มี.ค.นี้

ด้านนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวกรณีการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 รูปแบบผู้ป่วยนอก ว่า ข้อมูลถึงวันที่ 25​ ก.พ. พบว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในระบบรักษาตัวที่บ้านกว่าร้อยละ 56.36 และทำการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ในเตียงระดับหนึ่ง คือ เตียงผู้ป่วยสีเขียวร้อยละ 36.10 ทำให้เห็นว่าการระบาดรอบนี้ผู้ป่วยโควิด-19 เกินครึ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวไม่มีอาการเหลือการน้อยมาก ซึ่งสามารถรับยา ทำการรักษาตัวที่บ้านได้ ซึ่งสามารถเข้ารับการรักษาได้ที่คลินิก​ทางเดินหายใจของแต่ละโรงพยาบาลได้​ ซึ่งการรักษาโควิด-19 รูปแบบผู้ป่วยนอก OPD จะเป็นการรักษาเสริม กับระบบการรักษาตัวที่บ้าน HI และในศูนย์พักคอย CI หรือในฮอลพิเทล หรือในโรงพยาบาลสนาม

ทั้งนี้ หากประชาชนที่ติดเชื้อ เข้ารับการรักษาแบบ OPD ยังคงต้องแยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ โทรติดตามอาการ ครั้งเดียว คือ ภายใน 48 ชั่วโมง จะไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมิน แต่จะมีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง​ ส่วนการเข้ารักษาตัวที่บ้านหรือ ยังคงแยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ จะมีการโทรติดตามอาการทุกวัน มีอุปกรณ์ตรวจประเมิน และมีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง และจะมีบริการอื่นๆเช่นนำส่งอาหาร

ขณะที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงษ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การระบาดของไทย ที่ผ่านมาเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งข้อมูลในต่างประเทศ จะพบการระบาดสูงสุด 1-2 เดือน และจะค่อยๆ ลดลง ซึ่งสอดคล้องกับประเทศไทยที่พบการติดเชื้อโควิคที่เพิ่มขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา อาการเด่นที่พบในผู้ป่วยโควิดในช่วงนี้ คือ พบผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอมากขึ้น​ สำหรับแนวทางสำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดเสียงสูงของผู้ติดเชื้อโควิด-19 แนะนำให้กับตัวที่บ้าน 7 วัน และให้สังเกตอาการตนเองเพิ่มอีก 3 วัน โดยตรวจ ATK ครั้งที่ 1 วันที่ 5-6 หลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อครั้งสุดท้าย และตรวจครั้งที่ 2 ในวันที่ 10 หลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อครั้งสุดท้าย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน